ประสิทธิผลการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บหลายระบบด้วย Multiple Injury Nursing Management Guideline แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลบุรีรัมย์

Main Article Content

นวลทิพพย์ ธีระเดชากุล
นุชศรา พรมชัย
นงลักษณ์ พลแสน

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การได้รับบาดเจ็บหลายระบบในภาวะวิกฤตมีความสำคัญมาก ประมาณร้อยละ 60 ของผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บจะเสียชีวิตในช่วงนี้และในจำนวนนี้ประมาณหนึ่งในสามรอดชีวิตถ้าได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง รวดเร็วทันเวลา
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลการดูแลผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บหลายระบบด้วยแนวทางปฏิบัติการพยาบาล
รูปแบบวิจัย: การศึกษาเป็นวิจัยกึ่งทดลองกลุ่มตัวอย่างได้แก่บุคลากรที่ดูแลผู้ป่วยหน่วยงานงานผู้ป่วยอุบัติเหตุจำนวน 30 ราย ผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บหลายระบบที่เข้ารับบริการที่งานผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลบุรีรัมย์ จำนวน 30 ราย กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2560 ถึง 31 สิงหาคม 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แนวทางปฏิบัติการพยาบาลแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบบันทึกการประเมินสภาพผู้ป่วย แบบบันทึกระยะเวลาการดูแลผู้ป่วยในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินและแบบวัดความพึงพอใจของบุคลากรวิเคราะห์ข้อมูลใช้ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ Paired t –test และOne sample t-test
ผลการศึกษา: เปรียบเทียบก่อนและหลังการนำแนวทางปฏิบัติการพยาบาล มาใช้ในการดูแลผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บหลายระบบ พบว่า ค่าเฉลี่ยดัชนีภาวะช็อก และค่าความอิ่มตัวของออกซิเจน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ระดับความรู้สึกตัวของผู้ป่วยและระยะเวลาการดูแลผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บหลายระบบในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 และบุคลากรที่ดูแลผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบในระดับมาก
สรุป: จากการศึกษา จากการประเมินทั้งกระบวนการและผลลัพธ์ของการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบไปใช้ พบว่า บุคลากรมีความพึงพอใจและเห็นความสำคัญดังกล่าว แม้จะมีบางประเด็นที่ต้องปรับปรุงเพื่อให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
คำสำคัญ: แนวปฏิบัติทางพยาบาล, ผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ, การประเมินสภาพแรกรับ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Birkhahn RH, Gaeta TJ, Terry D, Bove JJ, Tloczkowski J. Shock index in diagnosing early acute hypovolemia. Am J Emerg Med. 2005;23(3):323-6.

2. ALEKSANDRA S, Ivan M, RANDAL SB. Teamwork errors in Trauma resuscitation. ACM Trans Comput Hum Interact. 2012;19(2):13.

3. พลศักดิ์ จีระวิพูลวรรณ. การบาดเจ็บต่อร่างกาย. [ออนไลน์] 2554. [สืบค้นเมื่อ 26 พ.ย. 2559]. เข้าถึงได้จาก : URL: https://home.kku.ac.th.

4. เพ็ญศรี ดำรงจิตติ์, รสสุคนธ์ ศรีสนิท, พรเพ็ญ ดวงดี. แนวทางปฏิบัติทางการพยาบาลในการช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บรุนแรงในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร. [ออนไลน์] 2557. [สืบค้นเมื่อ 26 พ.ย.2559]. เข้าถึงได้จาก : URL: https://phpn.ph.mahidol.ac.th/Journal

5. วราภรณ์ ดีน้ำจืด, กรองได อุณหสูต, ทิพา ต่อสกุลแก้ว. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อจัดการภาวะคุกคามชีวิตในผู้ป่วยอุบัติเหตุ. วชิรสารการพยาบาล. 2554;10(1):33-50.

6. วิบูลย์เตชะโกศล. ประสิทธิผลของการพัฒนาระบบทางด่วนพิเศษในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ. [ออนไลน์]. 2558. [สืบค้นเมื่อ 1 ธ.ค. 2559]. เข้าถึงได้จาก : URL: www.smj.ejnal.com

7. อำนาจ กาศสกุลและคณะ. (2554). ปัจจัยทำนายผลลัพธ์การบาดเจ็บของผู้ป่วยผู้ใหญ่ในระยะเร่งด่วนฉุกเฉิน. [ออนไลน์]. 2554. [สืบค้นเมื่อ 1 ธ.ค. 2559.] เข้าถึงได้จาก :URL:https://www.niems.go.th.