การศึกษาภาวะการสำลักสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจเด็กในโรงพยาบาลสุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
เหตุผลในการวิจัย: การสำลักสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจของเด็กเป็นสาเหตุการเสียชีวิตในเด็ก ประมาณ 2% หรือประมาณ 80 รายต่อปี จากจำนวนการเสียชีวิต 3,000 กว่าราย การสำลักสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ทางเดินหายใจถือเป็นภาวะฉุกเฉินเร่งด่วนเพราะเมื่อทางเดินหายใจอันได้แก่กล่องเสียงและหลอดลมอุดตัน ผู้ป่วยจะขาดออกซิเจน และเสียชีวิตได้ภายใน 4 นาที การสำลักสิ่งแปลกปลอมนี้พบได้ไม่บ่อย แต่มีความสำคัญและก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิต ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงมีความสนใจในปัญหาดังกล่าว การทราบถึงลักษณะอาการทางคลินิก และการรักษาอย่างถูกต้องแม่นยำตั้งแต่ แรกจะทำให้อัตราการเสียชีวิตและอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการสำลัก สิ่งแปลกปลอมลดลง
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษา 1.ระบาดวิทยาของการสำลักสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในทางเดินหายใจ 2.ลักษณะอาการ อาการแสดงทางคลินิก 3. ผลการตรวจทางรังสีของผู้บ่วยเด็ก ที่มีภาวะสำลักสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจ 4.ตำแหน่งและชนิดสิ่งที่ตรวจพบ รวมถึงการรักษาและภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ของการสำลักสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจ
วัสดุ/วิธีการศึกษา: รวบรวมข้อมูลและทบทวนประวัติการรักษาจากเวชระเบียนของผู้ป่วยในที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลสุรินทร์ ที่มีประวัติอาการแสดงและการตรวจร่างกาย สงสัยว่าจะมีการสำลักสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในทางเดินหายใจตั้งแต่ระดับ กล่องเสียงไปถึงหลอดลมโดยศึกษาระหว่าง เดิอน ตุลาคม พ.ศ. 2550 ถึง เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 รวม ระยะเวลา 2 ปี 2 เดือน จำนวนทั้งสิ้น 15 ราย
ผลการศึกษา: ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่าผู้ป่วยสำลักสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในทางเดินหายใจ ส่วนใหญ่ อายุอยู่ในช่วง 1 - 3 ปี (46.67%) เพศชายมากกว่าเพศหญิง (6:4) ร้อยละ 53.33 ของผู้ป่วยที่ถูกนำส่งโรงพยาบาลถูกนำส่งภายใน 1 วัน และ ร้อยละ 33.33 มีประวัติสำลักชัดเจน และมีอาการ ไอ หายใจหอบ มีไข้ ผลการตรวจร่างกายส่วนใหญ่พบว่าเสียงหายใจผิดปกติ ร้อยละ 96.37 โดยพบ Rhonchi และ Crepitation มากที่สุดร้อยละ 33.33 ภาพถ่ายรังสีทรวงอกที่พบบ่อยที่สุด คือ hyperaerate คิดเป็นร้อยละ 33.33 ชนิดของสิ่งแปลกปลอมส่วนใหญ่เป็นเมล็ด ผลไม้เป็นจำนวนถึงร้อยละ 53.33 ของสิ่งแปลกปลอมทั้งหมดตำแหน่งที่พบสิ่งแปลกปลอมมากที่สุดคือ right main bronchus (ร้อยละ 86.66) ด้านการรักษา สำหรับการศึกษาครั้งนี้พบว่าผู้ป่วย 2 รายมีภาวะแทรกซ้อนเป็น Aspirate pneumonia ทำให้ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลนานขึ้น แต่สามารถกลับบ้านในสภาพปกติ อยู่โรงพยาบาลโดยเฉลี่ย 4.66 วัน
สรุป: การสำลักสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจยังคงเป็นปัญหาฉุกเฉินเร่งด่วนที่เสี่ยง ต่อการเกิดอันตราย การเอาสิ่งแปลกปลอมออกจากทางเดินหายใจต้องมีเครื่องมือ อุปกรณ์และทีมงานที่มีประสบการณ์ ที่พร้อมให้การรักษาได้ทันท่วงที
คำสำคัญ: สำลักสิ่งแปลกปลอม ทางเดินหายใจ
Article Details
References
Moazamin F, Talbert JL. Foreign bodies in the pediatric tracheobronchial tree. Clin Pediatr 1983; 22: 148-50.
สาวิตรี ชลออยู่, สมนึก ตรัยไชยาพร. วัตถุแปลกปลอมในท่อทางเดินหายใจเด็ก. สารศิริราช 2535; 44:517-23.
ชูเกียรติ วงคันิจศีล. การศีกษาสิ่งแปลกปลอม ในกล่องเสียงและหลอดลม 5 ปีย้อนหลังของโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น. ขอนแก่นเวชสาร 2542;23:142-8.
Kaur K.,Sonkhya N, Bapna A.S. Foreign bodies in tracheobronchial tree : a prospective study of 50 cases. Indian J. of Otolaryngol Head Neck Surg 2002;54:30-4.
Tomaske M, Gerber CA. et al. Tracheobronchial foreign body aspiration in childrendiagnostic value of symptoms and signs. Swiss Med Wkly 2006;136:533-8.
อุไรวรรณ เลิศวินัสดี. ภาวะการสำลักสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจในสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี. กรุงเทพฯ : สถาบันเด็กแห่งชาติมหาราชินี; 2548.
ศริษา ร่มไทรทอง. Foreign Bodies in the Larynx and Tracheobronchial Tree in Children : A Five-years. Khon Kaen Hospital Medical Journal 2007;31:2:103.
Mahyar A, Tarlan S. Forgeing bodies aspiration in children. Acta Medica Iranica 2008:46 :115-118.
Schmidt H, Manegold BC. Foreign body aspiration in children. Surg Endosc 2000;14:644-648.
Friedberg SA, Bluestone CD. Foreign body accidents involving the air and food passage in children. Otolaryngol Clin North Am 1970;3:395-403.
Ballenger JJ., Snow JB. Otorhinolaryngology : head and neck surgery.l5th ed. Baltimore: William & Wilkins,1996.
Holinger L.D. Foreign bodies of airway and esophagus. Pediatric laryngology and Bronchoesophagology 1997;233-51.
Mark A, Kooy V. et al. Postobstrutive pulmonary edema. American Family Physician 2000:62:401-8.
Silvs AB, Muntz HR, Clary RX. Utility of conventional radiography in the diagnosis and management of pediatric airway foreign bodies. Ann otol Rhino Laryngol 1998;107:834-8