การใช้การจัดการดูแลผู้ป่วยรายกรณีในผู้ป่วยจิตเภทซับช้อน หอผู้ป่วยจิตเวชโรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

วันเพ็ญ ทัดศรี

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพี่อศึกษาผลการจัดการดูแลผู้ป่วยรายกรณีต่ออาการทางจิตและการกลับมารักษาซํ้าของผู้ป่วยจิตเภทซับซ้อนในหอผู้ป่วยจิตเวชโรงพยาบาลสุรินทร์
สถานที่ศึกษา: หอผู้ป่วยจิตเวช อาคาร 9 ล่าง โรงพยาบาลสุรินทร์
รูปแบบการวิจัย: การศึกษาอิสระ
ผู้ป่วยและวิธีการศึกษา: ผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 10 คน เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคจิตเภทที่มีปัญหาซับซ้อนและเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยจิตเวชโรงพยาบาลสุรินทร์ ดำเนินการศึกษาระหว่าง วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 ถึง วันที่ 30 เมษายน 2552 การจัดบริการการดูแลผู้ป่วยรายกรณีครั้งนี้ เป็นการนำรูปแบบการจัดการ รายกรณีที่เน้นระบบพยาบาลเจ้าของผู้ป่วย (Primary Nurse Case Management Model) โดยใช้กรอบแนวคิดกระบวนการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ชึ่งองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ การประสานความร่วมมือของทีมสหสาขาวิชาชีพ แผนการดูแลผู้ป่วย และผู้จัดการรายกรณี มีการดำเนินการ 6 ขั้นตอน ได้แก่ การค้นหาการคัดกรองผู้ป่วย การประเมินผู้ป่วย การระบุปัญหา การวางแผน ให้การดูแล การดำเนินการตามแผน และการติดตามประเมินผล เครื่องมือที่ใช้ ในการศึกษาประกอบด้วย แบบประเมินอาการทางจิต แบบประเมินความสามารถ โดยรวมของผู้ป่วย แบบประเมินความรู้ผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับโรคจิตเภท แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติ และแบบประเมินความคิดเห็นของ ทีมสหสาขาวิชาชีพ
ผลการศึกษา: ผลการศึกษาพบว่า หลังได้รับการดูแลรายกรณี ผู้ป่วยทุกคนมีค่าคะแนนความสามารถโดยรวมเพิ่มขึ้น มีค่าคะแนนอาการทางจิตลดลง มีความรู้เรึ่องโรคจิตเภท และการดูแลตนเองอยู่ในระดับสูง ญาติมีความรู้เรื่องโรคจิตเภทและการดูแล ผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติต่อรูปแบบบริการที่ได้รับส่วนใหญ่ ความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อรูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยรายกรณีอยู่ในระด้บมาก (x=3.94, SD=0.73) ความพึงพอใจของญาติต่อรูปแบบการจัดการดูแล ผู้ป่วยรายกรณีอยู่ในระดับมาก (x=3.84, SD=0.16) จำนวนวันนอนโรงพยาบาล เฉลี่ยลดลง และผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการไม่กลับมารักษาชํ้าภายใน 28 วัน หลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ทีมสหสาขาวิชาชีพล่วนใหญ่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ต่อรูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยรายกรณี และไม่คิดว่าเป็นการเพิ่มภาระต่อการทำงาน
สรุป: การดูแลผู้ป่วยรายกรณีสามารถลดอัตราการกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วยจิตเภทและล่งผลให้ผู้ป่วยดำเนินชีวิตอยู่โนชุมชน สังคม ได้อย่างมีความสุข ผู้ป่วยและญาติพึงพอใจ
คำสำคัญ: ผู้ป่วยจิตเภทซับซ้อน, การจัดการดูแลผู้ป่วยรายกรณี

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

บุญวดี เพชรรัตน์. ปัจจัยที่ทำนายผลกระทบต่อผู้ดูแลจากการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทเรึ้อรัง. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2547:12(3):141-149.

อำไพ'ยนิษฐ สมานวงศ์ไทย. ปัจจัยที่มีผลต่อการมารับการรักษาอย่างสม่ำเสมอของผู้ป่วยจิตเภท. กรณีศึกษา : โรงพยาบาลศรีธัญญา. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2544:9(3):128-139.

สมภพ เรืองตระกูล. ตำราจิตเวชศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เรือนแก้ว; 2542.

มาโนช หล่อตระกูล, ปราโมทย์ สุคนิชย์. โรคจิตเภท. โครงการตำราและเอกลารวิชาการ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2542.

กรมสุขภาพจิต. 2550 ศูนย์สุขภาพจิตที่ 1-9 และศูนย์สารสนเทศ กองแผนงาน กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ค้นเมื่อ 4 มกราคม 2551, จาก https://www.Dmh.go.th/report/population/province.asp?field24=2549.

โรงพยาบาลสุรินทร์. ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ. ข้อมูลโรงพยาบาลสุรินทร์. สุรินทร์ : ศูนย์ข้อมูล สารสนเทศ โรงพยาบาลสุรินทร์; 2551.

สมพร รุ่งเรืองกลกิจ. การนำหลักการดูแลผู้ป่วยรายกรณีมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยทางจิตในชุมชน. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2546;17(1):13-23.

Stephen Ziguras, Geoffrey Stuart. A Meta analysis of the Effectiveness of Mental Health Case Management Over 20 Years. Psychiatric services 2000;15(11):1410-1421.

ปราชญ์ บุญยวงศวิโรจน์ และคณะ. รายงานการวิจัยเรื่อง การนำระบบการจัดการผู้ป่วย รายกรณี มาประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. ขอนแก่น : พระธรรมขันธ์; 2547.