อัตราการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง ข้อบ่งชี้ และภาวะแทรกซ้อนในโรงพยาบาลศีขรภูมิ

Main Article Content

เก่ง สืบนุการณ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอัตราการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง ข้อบ่งชี้และภาวะแทรกซ้อน ที่เกิดจากการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องในโรงพยาบาลศีขรภูมี
รูปแบบการวิจัย: การศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง (Retrospective study)
ประชากร: ผู้ป่วยตั้งครรภ์ ที่มาคลอดโดยการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องในโรงพยาบาล ศีขรภูมิ ปีงบประมาณ 2550 - 2552
วิธีการศึกษา: ศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง (Retrospective study) ในผู้ป่วยที่คลอดบุตร ที่โรงพยาบาลศีขรภูมิ เกี่ยวกับอัตราการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง ข้อบ่งชี้ และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง
ผลการศึกษา: จากผู้ป่วยที่มาคลอดบุตรในโรงพยาบาลศีขรภูมิ ในช่วงเวลาที่ศึกษาจำนวน 2,364 คน แยกเป็นปีงบประมาณ 2550 จำนวน 772 คน ปีงบประมาณ 2551 จำนวน 769 คน และปีงบประมาณ 2552 จำนวน 766 คน ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องทั้งหมด 342 คน อัตราการผ่าตัดคลอดบุตร ทางหน้าท้องของโรงพยาบาลศีขรภูมิในปีงบประมาณ 2550-2552 ร้อยละ 20.72, 13.00 และ 10.71 ตามลำดับ ซึ่งเป็นไปตามที่องค์การอนามัยโลกแนะนำว่า ไม่ควรเกินร้อยละ 15 ของการคลอด ข้อบ่งซี้ในการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง เรียงจากมากไปน้อย คือ Cephalopelvic disproportion (CPD), history of previous cesarean section, Breech presentation, Premature rupture of the membrane (PROM) และ Fetal distress/ภาวะแทรกซ้อนพบน้อยมาก ภาวะที่พบได้แก่ Cesarean hysterectomy 2 ราย ในปี 2552 Puerperal infection 1 ราย และ Wound infection 1 ราย ในปี 2551
สรุป: การผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องมีแนวโน้มลดลง และข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด คลอดบุตรทางหน้าที่พบบ่อยคือ Cephalopelvic disproportion (CPD), history of previous cesarean section, Breech presentation, Premature rupture of the membrane (PROM) และ Fetal distress แม้ว่าปัจจุบันจะมีการแนะนำ ให้ทำ VBAC ในกรณีที่มี history of previous cesarean section หรือ Vaginal delivery ในกรณี breech presentation เพื่อลดอัตราการผ่าตัดคลอดบุตร ทางหน้าท้อง แต่พบว่าในโรงพยาบาลชุมชนยังไม่มีศักยภาพเพียงพอที่จะทำได้
คำสำคัญ: อัตราการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง ข้อบ่งชี้การผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

ACOG practice bulletin number 47, October 2003 : Prophylactic Antibiotics in Labor and delivery. Obstetrics & Gynecology 2003;102:4:875-82.

ชเนนทร์ วนาภิรักษ์ , ธีระ ทองสง. การลด อัตราการผ่าท้องทำคลอด. ใน: เยี้อน ตันนิรันดร, บรรณาธิการ. เวชศาสตร์มารดาและทารก. กรุงเทพมหานคร : สร้างสื่อและอุษาการพิมพ์; 2544 ; 204-10.

เยื้อน ตันนิรันดร. Controversial Issue in Cesarean Section. ใน: ทัศน์วรรณ รังรักษ์ ดริวร, สมชัย นิรุติศาสตร์, บรรณาธิการ. OB & GYN Update & Practical VII. กรุงเทพมหานคร : คอนเซ็พที เมดิคัล;2551;113-30.

วิทยา ถิฐาพันธ์, นิศารัตน์ พิทักษ์วัชระ. Trend in Modes of delivery in Siriraj Hospital : A twenty-eight-year review. สารสิริราช 2550;59:271-3.

อุษณีย์ สวัสดิ์พานิชย์. อัตราการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องในโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น ระหว่างปี 2542 - 2546. ขอนแก่นเวชสาร 2547:28:2:63-9.

ยศ ตีระวัฒนานนท์, วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร, สัญญา ศรีรัตนะ. แบบแผนการคลอดบุตรของหญิงไทยในรอบ 12 ปี (พ.ศ. 2533 - 2544). วารสารวิชาการสาธารณสุข 2546;12:1-18.

สุรี'รัตน์ มงคลปทุมรัตน์ . อัตราการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องในโรงพยาบาลเสนาจังหวัด พระนครศรีอยุธยา 2542 -2548. ยโสธรเวช 2549:8:1:36-0.

American College of Obstetricians and Gynecologists:Vaginal birth after previous cesarean delivery. Practice Bulletin No.5;1999.

Martel MJ, Mac Kinnon CJ. Guidelines for vaginal birth after previous cesarean birth. J Obstet Gynecol Can 2004 ; 26:7:660 - 83.

Durnwald C, Mercer B. Vaginal birth after cesarean delivery : predicting success, risk of failure. J Matern Fetal Neonatal Med 2004:15:6:388-93.

กิจประมุข ตันตยาภรณ์, สมภพ ลิ้มพงศานุรักษ์. การคลอดท่าก้น . ใน:ธีระพงค์ เจริญวิทย์, บุญชัย เอื้อไพโรจน์, คักนัน มะโนทัย, สมชาย ธนวัฒนาเจริญ, กระเษียร คำปัญญาเลิศ , บรรณาธิการ สูติศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : โอ.เอส.พริ้นติ้งเอ้าส์; 2548:241-53.

Cunningham FG, Gant NF, Leveno KJ, Gilstrap LC, Hauth JC, Wenstorm KD. Williiams. Obstetrics 21st ed. New York:Mc Graw - Hill ; 2001:361-83.

ACOG practice bulletin Prophylactic Antibiotics in Labor and Delivery Number 47, October 2003. International Journal of Gynecology & Obstetrics 2004 ; 84:300-7.