ภาวะลำไส้กลืนกันในผู้ป่วยเด็ก โรงพยาบาลสุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
เหตุผลของการวิจัย: ภาวะลำไส้กลืนกันในผู้ป่วยเด็กเป็นสาเหตุที่ต้องได้รับการผ่าตัดฉุกเฉินบ่อยที่สุดในช่วงต้นของวัยเด็ก และมีความสำคัญ เพราะถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจเกิดภาวะแทรกช้อนรุนแรง เช่น สำไส้เน่า และสำไส้แตกทะลุ เกิดการ ติดเชื้อเข้ากระแสโลหิต และทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอาการและอาการแสดงการวินิจฉัยแรกรับ การรักษาและผลการรักษา รวมทั้งภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยเด็ก ที่มีภาวะสำไส้กลืนกันในโรงพยาบาล สุรินทร์
สถานที่ศึกษา: โรงพยาบาลสุรินทร์
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนา โดยเป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง
วิธีการศึกษา: รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลของผู้ป่วยเด็ก อายุน้อยกว่า 15 ปี ที่มีภาวะสำไส้ กลืนกันและเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสุรินทร์ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2541 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2551
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นสำไส้กลืนกันจากการศึกษา นี้มี,จำนวน 32 ราย เป็นเพศชาย 20 ราย เพศหญิง 12 ราย อัตราส่วนเพศชาย ต่อเพศหญิง 1.7 ต่อ 1ผู้ป่วยอายุน้อยที่สุด 2 เดือน 16 วัน อายุมากที่สุด 6 ปี พบผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 1 ปี จำนวน 27 ราย คิดเป็นร้อยละ 84.37 ของผู้ป่วย ทั้งหมด พบผู้ป่วยได้มากในช่วงเดือนมกราคม ถึง เดือน พฤษภาคม และเดือน พฤศจิกายน อาการสำคัญที่ทำให้ผู้ปกครองพาเด็กมาโรงพยาบาล พบมากที่สุด คือ อาการอาเจียนพบ 26 ราย (ร้อยละ 81.25) รองลงมาคือถ่ายเป็นมูกเลือด 22 ราย (ร้อยละ 68.75) ส่วนอาการปวดท้องพบเพียง 4 ราย (ร้อยละ 12.50 ) ผู้ป่วย ที่มาด้วยอาการสำคัญครบ 3 อย่าง คืออาการอาเจียน ถ่ายเป็นมูกเลือด และ ปวดท้อง พบ 8 ราย (ร้อยละ 25) อาการแสดงที่พบจากการตรวจร่างกายได้แก่ ท้องอืด 24 ราย (ร้อยละ 75.0) มีมูกเลือดจากการตรวจทางทวารหนัก 14 ราย จากผู้ป่วย 18 ราย (ร้อยละ 77.78) คลำได้ก้อนเพียง 9 ราย จากผู้ป่วย 32 ราย (ร้อยละ 28.12) ผู้ป่วยทีมี Symptom triad ร่วมกับการตรวจทางหน้าท้อง คลำ ได้ก้อน พบ 2 ราย (ร้อยละ 6.25) ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยเมื่อแรกรับว่าเป็น Intussusception 21 ราย(ร้อยละ 65.62 ) Gut obstruction 4 ราย (ร้อยละ 12.50) ได้รับการรักษาโดยวิธีไม่ผ่าตัดโดยใช้ Hydrostatic Barium enema สำเร็จ 5 ราย จาก 17 ราย (ร้อยละ 29.41) จากการศึกษานี้ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต
สรุป: ภาวะลำไส้กลืนกันในผู้ป่วยเด็ก อาการสำคัญ 3 อย่างที่ทำให้ผู้ปกครองนำเด็กมา พบแพทย์ ได้แก่ อาการอาเจียน ถ่ายเป็นมูกเลือด ปวดท้อง หรือ ร้องกวน ใน เด็กเล็ก ดังนั้นแพทย์ผู้รักษาผู้ป่วย ที่มาด้วยอาการดังกล่าวเพียงอย่างไดอย่างหนึ่ง ควรนึกถึงภาวะสำไส้กลืนกัน ในการวินิจฉัยแยกโรคเสมอ เพี่อที่จะได้ให้การ วินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว เพื่อลดการผ่าตัดและลดการเกิดภาวะแทรกช้อน
Article Details
References
2. รังสรรค์ นิรามิษ. Emerency problems in Pediatric Surgery. ใน ศ. ศุภลักษณ์ สิงคาลวณิช, ชัยสิทธิ์ แสงทวีสิน, สมจิต ศรีอุดมขจร, บรรณาธิการ. นนทบุรี : สหมิตรพริ้นติ้งแอนต์พับลิสชิ่ง; 2551:345-56.
3. Georges. Bisset III, Donald R Kirks. Intussusception in Infants and Children: Diagnosis and Therapy. Radiology 1988;168(1):41-5.
4. อัจฉรา มหายศนันท์. Intussusception. จุฬาลงกรณ์กุมารเวชสาร 2546;5(1):15-26.
5. สมพร โชตินฤมล.ลำดวน วงศ์สวัสดิ์. โรคลำไส้ กลืนกันในเด็กของโรงพยาบาลมหาราชนคร เชียงใหม่. เชียงใหม่เวชสาร 2529;25:174.
6. ไมตรี อนันต์โกศล. ภาวะลำไส้กลืนกัน. วารสารกรมการแพทย์ 2532;14(7):485-8.
7. ฐิติกร ตรีเจริญ.ภาวะลำไส้กลืนกันโนโรงพยาบาลเลย. ขอนแก่นเวชสาร 2537;18(1):46-50.
8. วันชาติ เส้าประเสริฐ, อุทุมพร กำกู ณ อยุธยา และวิมล ชินกุลกิจนิวัตน์. ภาวะลำไส้ กลืนกัน ในเด็ก. วารสารแพทย์เขต 8 2533;4(1):15-21.
9. มนฑลเมฑอนันต์ธวัช, วินัย ตันติยาสวัสดิกุล, สุชาติ อารีมิตรและสุรชัย จึงมั่นคง. ภาวะ ลำไส้กลืนกันชองผู้ป่วยทารกและเด็กโน โรงพยาบาลศรีนครินทร์. ศรีนครินทร์เวชสาร 2549;21(4):335-42.
10. อัจฉรา ตั้งสถาพรพงษ์, สุมิตร สุตรา. อาการ และอาการแสดงของโรคลำไส้กลืนกันใน ผ้ป่วยเด็กโรงพยาบาลศรีนครินทร์ 2538;10-2
11. รังสรรค์ นิรามิษ, สุขวัฒน์วัฒนาธิษฐาน, ศรี วงศ์หวานนท์. โรคลำไส้กลืนกันในเด็ก. วารสารกรมการแพทย์ 2527;9(5):257-86.
12. Niramis R, Watanatittan S, Anuntkosol M, Rattanasuwan T, Buranajicharoen V. Intussusception : experience in 507 Thai pediatric patients. Thai J Surg 2001;22:123-30.
13. สมทรง พัวไพโรจน์. Intussusception: Radiographic Factors Influencing Reducibility. ขอนแก่นเวชสาร 2535;16(2):105-7.
14. ทองขาว รัตนสุวรรณ, พันทิพา พัฒนาวินทร์, สุวัฒน์วัฒนาธิษฐาน, อนันต์ สุวัฒนวิโรจน์. การรักษาลำไส้กลืนกันโดยการสวนแบเรียม. วารสารกรมการแพทย์ 2529:11(8);459-65.
15. อัญชลี เครือตาชู, ลาวัณย์ ว่องตาประดิษฐ์, ณรงค์ นิธิปัญญา, วรางคณา รัตนปราการ. ผลการรักษาโรคลำไส้กลืนในเด็กโดยใช้ลม สวนทางทวารหนักของสถาบันสุขภาพเด็ก แห่งชาติมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก) ตั้งแต่ ปี 2535-2544. วารสารกรมการแพทย์ 2544:27(9):427-33.
16. AtcharaMahayosnond, EkpolSethsakul, PanruethaiTrinavarat, SudeeChomdej, SomboonRoekwibunsi. Treatment of pediatric intussusception by pneumatic reduction under ultrasound guidance : first case of King ChulalongkornMemmorial Hospital. Chula Med J. 2004;48(5):299-307.
17. ไมตรี อนันต์โกศล. การชักในภาวะลำไส้กลืนกัน. สรรพสิทธิเวชสาร 2530;8(1):7-14.