ผลของโปรแกรมการปรับวิถีการดำเนินชีวิต โดยทีมสหสาขาวิชาชีพแบบไปกลับและมิตรภาพบำบัด ในกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ

Main Article Content

สำอาง เทียนแก้ว
ฉลองชัย ทุนดี

บทคัดย่อ

เหตุผลการวิจัย: ผู้สูงอายุที่มีโรคเบาหวาน หรือความดันโลหิตสูงมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอด เลือดหัวใจ ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษานี้ขึ้น เพี่อหาวิธีป้องกันไม่ให้เกิดภาวะ ดังกล่าวขึ้นในผู้ป่วยกลุ่มนี้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับวิถีการดำเนินชีวิตโดยทีมสหสาขาวิชาชีพแบบไป กลับและมิตรภาพบำบัดในกลุ่มเสี่ยง ต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
รูปแบบการวิจัย: กึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียว วัดก่อนและหลังการทดลอง (The One Group Pretest Posttest Design) ศึกษาห่างกัน 5 เดือน
กลุ่มตัวอย่าง: กลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ จำนวน 38 ราย
เครื่องมือ: โปรแกรมการดูแลแบบสหสาขาวิชาชีพแบบไปกลับและมิตรภาพบำบัด และผลการ ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
วิธีการศึกษา: ประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจ นำกลุ่มเสี่ยงมาเข้าค่ายแบบไป-กลับ ในโรงพยาบาล โดยมาช่วงเช้าแล้วกลับช่วงบ่ายเดือนละ 1 ครั้ง โดยหมุนเวียนตามฐาน ผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาวิชาชีพ ประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล เภสัชกร เวชศาสตร์ฟื้นฟูพยาบาลจิตเวชและร่วมงานมิตรภาพบำบัดจิตอาสาและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แจกหนังสือโรคหัวใจ 2 เล่ม สมุดบันทึก แผ่นความรู้
สถิติที่ใช้: ข้อมูลลักษณะทั่วไป วิเคราะห์ด้วยค่าความถี่และร้อยละเปรียบเทียบความแตกต่าง ของผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ค่าความดันโลหิต ค่าดัชนีมวลกายก่อนและ หลังทดลองใช้สถิติ Paired t-test
ผลการศึกษา: จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 38 ราย พบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 25 ราย คิด เป็นร้อยละ 65.8 รองลงมาคือเพศชาย จำนวน 13 ราย คิดเป็นร้อยละ 34.2 อายุเฉลี่ย 70 ปี (x=70, SD=4.31) สูงสุดอายุ 79 ปี ต่ำสุดอายุ 62 ปี ค่าความดันโลหิต โคเลสเตอรอล ไตรกลีเชอไรด์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับน้อยกว่า 0.05
สรุป: โปรแกรมในครั้งนี้สามารถลดค่าความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจได้ บางปัจจัย ควรมีการปรับปรุงและดำเนินการต่อไป
คำสำคัญ: กลุ่มเสี่ยง, โรคหลอดเลือดหัวใจ, โปรแกรม

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. กระทรวงสาธารณสุข, กรมควบคุมโรค, สำนัก ระบาดวิทยา. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคปี. นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข; 2547.

2. โรงพยาบาลสุรินทร์, ศูนย์ข้อมูล. เวชสถิติ โรงพยาบาลสุรินทร์. สุรินทร์ : โรงพยาบาลสุรินทร์; 2550.

3. World health Organization. The world health report 2004-changing history. Available from: URL:https://www.who.int/whr/ 2004/en/.

4. วศิน พุทธารี. แนวทางการรักษา Unstable angina/Non ST-elevation Myocardial Infarction. ใน : วิทยา ศรีดามา, บรรณาธิการ. Evidence-Based Clinical Practice Guideline ทางอายุรกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 3. (ฉบับแก้ไข ปรับปรุง). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2548:403-15.

5. นิธิ มหานนท์, ปิยะมิตร ศรีอารา, สรณ์ บุญใบชัยพฤกษ์. กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน. กรุงเทพมหานคร : โอเอสพริ้นติ้งเฮ้าส์; 2543

6. สมจิตต์ วงศ์สุวรรณสิริ และวารี วณิชปัญจพล. คู่มือการสอนสุขภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ. นนทบุรี : สำนักการพยาบาล กรมการ แพทย์; 2549.

7. บุญใจ ศรีสถิตย์นรากุล. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2544.

8. Pender NJ, Murdaugh CL, Parsons MA. Health promotion in nursing practice. 3rd ed. London : Saludpublica; 1996:1320.

9. อาทิยา วงศ์ษาพาน. ผลของโปรแกรมการ ออกกำลังกายโดยการเดินเร็วร่วมกับการใช้ แรงสนับสนุนทางสังคมต่อระดับความดัน โลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. ปริญญา พยาบาลศาสตรมหาบัณทิตสาขาวิชาการ พยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ขอนแก่น : 2549.

10. Cortese. et al. (2006). Low diastolic blood pressure. WWW.Mayoclinic.org/medicaledge. 13 February 2008.

11. สมทรง เลขะกุล. เมตะบอลิสมของไสปิด. ใน : นิโลบล เนื่องตัน, บรรณาธิการ. ชีวเคมี 1. กรุงเทพฯ : บริษัท ธรรมสาร จำกัด; 2542:200-59.