ผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ระยะลุกลาม หรือกลับเป็นซ้ำที่รักษาด้วยยาเคมีบำบัด

Main Article Content

รัชนก สิทธิโชติวงศ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ระยะลุกลามหรือกลับเป็นซ้ำที่รักษา ด้วยยาเคมีบำบัด
สถานที่ศึกษา: โรงพยาบาลสุรินทร์
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงวิเคราะห์ (Analytical research) โดยใช้วิธีศึกษาย้อนหลัง (Retrospective study)
กลุ่มตัวอย่าง: ผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ระยะลุกลามหรือกลับเป็นซ้ำที่รักษาด้วยยาเคมีบำบัดทุกรายที่ ได้รับยาครบแผนการรักษาหรือยุติการรักษาในช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550- เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
วิธีการศึกษา: เก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิง พรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 25 ราย ใช้สูตรยาหลัก Irinotecan และ Oxaliplatin จำนวน 8 ราย และ 17 ราย ตามลำดับ มีอายุระหว่าง 18-75 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 64) ช่วงอายุที่พบมากที่สุดคือ น้อยกว่าหรือเท่ากับ 50 ปี (ร้อยละ 32) สิทธิข้าราชการ (ร้อยละ 60) เป็นมะเร็งลำไส้ระยะที่ 3 (ร้อยละ 60) มีการสั่งใช้ยาเป็นแบบระบุ รายละเอียดเอง (ร้อยละ 64) มูลค่ายาเคมีบำบัดที่ใช้รักษาทั้งหมด 7,294,561 บาท แบ่งเป็นมูลค่าของสูตรที่มี Irinotecan 4,186,582 บาท และ Oxaliplatin 3,107,979 บาท
            ผลลัพธ์ทางคลินิกด้านประสิทธิภาพพบว่า มีผู้ป่วย 4 รายในสูตรยาหลักที่มี Oxaliplatin หลังการรักษาค่า CEA ลดลงอยู่ในช่วงปกติ ผู้ป่วย 9 รายมีค่า CEA มากกว่าปกติหรือไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่เหลือ 12 ราย ประเมินผลไม่ได้ ด้านความ ปลอดภัยพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน 13 ราย เป็นแผลที่เยื่อบุช่องปาก 8 ราย และอาการทางระบบทางเดินอาหารคือ ท้องเสีย ปวดท้อง 10 ราย ด้านผลการรักษาโดยรวมพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มีผลการรักษาดีขึ้น 13 ราย รองลง มาคือแย่ลง 8 ราย และมีผู้ป่วยเสียชีวิต 4 ราย
สรุป: การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดในผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวเน้นการรักษาโดยเลือกสูตรยาตรง ตามแนวทางมาตรฐาน แต่ยังไม่มีกระบวนการวัดผลลัพธ์ทางคลินิกที่เกิดขึ้นอย่าง ชัดเจน โดยเฉพาะการวัดผลทางคลินิกระยะยาวรวมถึงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ดังนั้นจึงควรจัดทำแนวทางมาตรฐานการติดตามผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยกลุ่มนี้ เพื่อเปรียบเทียบกับความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ เป็นแนวทางในการตัดสินใจของ แพทย์โนการรักษาหรือปรับปรุงแนวทางการให้ยาต่อไป

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. WHO. Data and Statistic 2008. Retrieved March 15, 2008, from https://www.who.int /research/en/.

2. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. จำนวนและ อัตราตายต่อประชากร 100,000 คน จำแนกตามสาเหตุที่สำคัญ พ.ศ. 2545-2549.

3. ศูนย์รักษาและส่งต่อผู้ป่วยมะเร็งโรงพยาบาล สุรินทร์. รายงานผลการปฏิบัติงานประจำ ปีงบประมาณ 2550.

4. คลังเวชกัณฑ์ยา กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์.รายงานผลการปฏิบัติงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550.

5. Delaunoit T, Goldberg RM, Sargent DJ et al. Motarity associated with daily bolus 5-fluorouracil/leucovorin administered in combination with either irinotecan or oxaliplatin: results from Intergroup Trial N9741. Cancer 2004;101:2170-2176.

6. Moertel CG, Fleming TR, Macdonald JS, et al. An evaluation of the carcinoem- bryonic antigen (CEA) test for monitor¬ing patients with resected colon cancer. JAMA 1993;270:943-947.

7. Saltz LB, Cox JV, BlankeCet al. Irinotecan plus fluorouracil and leucovorin for metastatic colorectal cancer. Irinotecan Study Group. N Engl J Med 2000;343:905-914.

8. Goldberg RM, Sargent D, Morton RF et al. A randomized controlled trial of fluorouracil plus leucovorin, irinotecan, and oxaliplatin combinations in patients with previously untreated metastatic colorectal cancer. J Clin Oncol 2004;22:23-30.

9. Kohne CH, Van Cutsem E, Wils J et al. Phase III study of weekly high-dose infusional fluorouracil plus folinic acid with or without irinotecan in patients with metastatic colorectal cancer: European Organisation for Research and Treatment of Cancer Gsatrointestinal Group Study 40986. J ClinOncol 2005;23:4856-4865.

10. Disk MB and Frank AS. Advances in Chemotherapy for Colorectal Cancer. Clinical Gastroenterology and Hepatology 2006:4:817.