การให้ยา ondansetron เพื่อป้องกันอาการคันจากการให้ยา morphine เข้าซ่องน้ำไขสันหลังในผู้ป่วยผ่าตัดคลอด

Main Article Content

วรรณา อึงพินิจพงศ์

บทคัดย่อ

บทนำ: การให้ยามอร์ฟีนเข้าช่องน้ำไขสันหลังให้ผลระงับปวดหลังผ่าตัดได้ดี แต่ ผลข้างเคียง ที่พบบ่อยที่สุด คือ อาการคัน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดคลอดที่ได้รับยา มอร์ฟีนทางช่องน้ำไขสันหลัง
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของยา ondansetron เพื่อป้องกันอาการคันจากการได้รับยาชาผสมกับมอร์ฟีน ในผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดคลอด
วิธีการศึกษา: ทำการศึกษาแบบ Randomized controlled trial ในผู้ป่วยหญิงตั้งครรภ์ครบกำหนด อายุระหว่าง 15-45 ปี ASA physical status I II ที่มารับการผ่าตัดคลอดที่ โรงพยาบาลสุรินทร์ จำนวน 90 คน ผู้ป่วยทุกรายจะได้รับการระงับความรู้สึกโดย การฉีดยาชา 0.5% hyperbaric bupivacaine 2 มล. ผสมกับ morphine 0.2 มก. เข้าช่องน้ำไขสันหลัง หลังจากทารกคลอดและตัดสายละดือแล้ว แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 3 กลุ่ม
     กลุ่มที่ 1 ได้รับ normal saline 4 มล. ทางหลอดเลือดดำ
     กลุ่มที่ 2 ได้รับยา ondansetron 4 มก.ทางหลอดเลือดดำ
     กลุ่มที่ 3 ได้รับยา ondansetron 8มก.ทางหลอดเลือดดำ
ผู้ป่วยจะได้รับการประเมินระดับการคัน และคลื่นไส้อาเจียน ที่ 2 และ 24 ชั่วโมง หลังผ่าดัด
สถิติ: ANOVA, Kruskal-Wallis’s test และ Mann-Whitney U-test
ผลการศึกษา: ภายหลังผ่าตัด 2 ชั่วโมง กลุ่มที่ได้รับยา ondansetron 4 มก. และ 8 มก. เกิด อาการคันน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (46.7%, 30%, และ 60% ตามลำดับ P<0.05) และที่ 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด อุบัติการณ์ของอาการคันใน กลุ่มที่ได้รับยา ondansetron 4 มก. และ 8 มก. น้อยกว่ากลุ่มควบคุม โดยแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (13.3%, 6.7%, และ 40% ตามสำตับ P<0.05) สำหรับ ภาวะคลื่นไส้อาเจียน พบว่า กลุ่มที่ได้รับยา ondansetron 8 มก. เกิดน้อยกว่ากลุ่ม ควบคุมอย่างมีนัยสำคัญที่ 2 ชั่วโมงหลังผ่าตัด แต่ที่ 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัดทั้ง 3 กลุ่ม ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ
สรุป: ยา ondansetron สามารถป้องกันการเกิดอาการคันในผู้ป่วยผ่าตัดคลอดที่ได้รับการฉีดยา morphine เข้าช่องน้ำไขสันหลังได้
คำสำคัญ: ondansetron, การให้ยา morphine เข้าช่องน้ำไขสันหลัง, อาการคัน

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Glonsten B. Anesthesia for Obstetrics. In: Miller RD. editor. Anesthesia, 5th ed. Philadelphia ;Churchill Livingstones 2000:2024-68.

2. Dahl, Jorgan B, Inge S. Intraoperative and postoperative analgesic efficacy and adverse effects of intrathecal opioids in patients undergoing cesarean section with spinal anesthesia. Anesthesiology.1999;91(6):1919-27.

3. Milner AR, Bogod DG, Harwood RJ. Intrathecal administration of morphine for elective cesarean section. A comparison between 0.1 mg and 0.2 mg. Anesthesia 1996;51:871-3.

4. Yeh H, Chen L, Lin C. Prophylactic intravenousondansetron reduces the incidence of intrathecal morphine induced pruritus in patients undergoing cesarean delivery. Anesth Analg 2000;91:172-5.

5. Crighton IM, Hobbs GJ, Reid MF.Ondansetron for the treatment of pruritus after spinal opioids. Anesthesia 1996;51;199-200.

6. Kyriakides K, Hussain SK, Hobbs GJ. Management of opioid-induced pruritus : a role for 5-HT3 antagoinst. BJA 1999;82(3):439-41.

7. Chaney MA. Side effects of intrathecal and epidural opioids . CJA 2000;42(10):891.

8. Borgeat A. Stimemann HR. Ondansetron is effective to treat spinal or epidural morphine-induced pruritus. Anesthesiology1999;90(2):432-6.

9. Brownridge P, Cohen SE, Ward ME. Neural blockade for obstetric and gynecologic surgery.In : Cousin MJ, Bridenbaugh PO, eds. Neural Blockade : in clinical anesthesia and management of pain, 3rd ed. Philadelphia : Lippincott- Raven 1998:557-604.

10. Churaluxananan S, Somboonviboon WK, yokong O, Nimcharoendee K. Ondansetron for treatment of intrathecal morphine induced pruritus after cesarean delivery. RegAnesth Pain Med 2000;25(5):535-9.

11. Churaluxananan S, Somboonviboon W, Narasethakamol A, Promlok P. Nalbuphine versus ondansetron for prevent of intrathecal morphine induced pruritus after cesarean delivery. Anesth Analg 2004;96(6):1789-93.