Outcome of Severs Head Injury Care Map in Surin Hospital

Main Article Content

พงษ์นเรศ โพธิโยธิน

บทคัดย่อ

เหตุผลของการวิจัย: การบาดเจ็บที่ศีรษะเป็นปัญหาที่พบบ่อยประมาณ 2% ของประชากรต่อปี และ มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตหากไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ทันท่วงที อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรวมทั้งความพิการเป็นภาระแก่ญาติผู้ดูแล การพัฒนา ระบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรงโดยใช้ Care Map จะทำให้การดูแล ผู้ป่วยมีประสิทธิภาพมากขึ้น
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการใช้ Care Map ในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรงก่อนและหลังการ ปฏิบัติตาม Care Map
สถานที่ศึกษา: กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงปฏิบัติการ
กลุ่มตัวอย่าง: ขนาดและการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง ใช้การเลือกแบบเจาะจงในระยะก่อนการใช้ Care Map จำนวน 30 ราย และหลังการใช้ Care Map จำนวน 30 ราย
วิธีการศึกษา: เก็บข้อมูลวันที่ 1 มกราคม 2550-31 ธันวาคม 2551 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบประเมิน 3 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลใช้ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา: ผลการศึกษาพบว่า ก่อนการใช้ Care Map มีการปฏิบัติตามแนวทางการดูแล ผู้ป่วยเพียงร้อยละ 76.2 พบอัตราการติดเชื้อทางเดินระบบทางเดินหายใจ 15.6:1000 วันคาท่อช่วยหายใจ อัตราการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ 0.9 :1000 วันคาสายสวน แผลกดทับ 1.3 : 1000 วันนอนโรงพยาบาล จำนวนวันนอน โรงพยาบาลเฉลี่ย 13.9 + 7.6 วัน ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการนอนโรงพยาบาลก่อน การใช้ Care Map เท่ากับ 55,658.3+36,673.1 บาท ส่วนหลังการใช้ Care Map มีการปฏิบัติตามCare Map ร้อยละ 86.2 พบอัตราการติดเชื้อทางเดินระบบทาง เดินหายใจ 10.9:1,000 วันคาท่อช่วยหายใจ แผลกดทับ 1.1 : 1000 วันนอน โรงพยาบาลไม่พบการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ จำนวนวันนอนโรงพยาบาล เฉลี่ยลดลงเหลือ 11.7 + 4.9วันและค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการนอนโรงพยาบาลหลัง การใช้ Care Map เท่ากับ 40,170.8+24.620.4 บาท
สรุป: การปฏิบัติตาม Care Map จะช่วยให้คุณภาพของการรักษาผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ รุนแรงดีขึ้น ลดภาวะแทรกซ้อน ลดจำนวนวันนอนและค่าใช้จ่ายในการนอน โรงพยาบาล
คำสำคัญ: Care Map, บาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรง

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Andrew IR, Stocchetti, Ross Bullock. The Lancet Neurology. Moderate and severe traumatic brain injury in adults. 2008;7(8):728-41.

2. Iacono LA, Neurosci nurs. Exploring the guidelines for the management of severe head Injury 2000;32(1):54-60

3. Elegant S, Horn R, Yong H, Kuo K, Xu J, Rajan S, Zabriskie P. Mean streets. Time 2004:164(6):34-41.

4. คุภกิจ สงวนดีกุล. ศิลปะในการรักษาบาดเจ็บ ที่ศีรษะสมาคมประสาทศัลยศาสตร์แห่ง ประเทศไทย. URL: https://www.neuro.or.th/journal.

5. Jennett, B„ & et al., (1981). Disability after severe head injury : Observations on the use of the Glasgow Outcome Scale. Journal of Neurology. Neurosurgery. And Psychiatry 1981:44:286.

6. ประภัสร บัณทุรัตน์. การติดเชื้อในโรงพยาบาล ในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะโรงพยาบาลมหาราช นครเชียงใหม่. เชียงใหม่ : บัณหิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2542.

7. สักส์ขัย ตั้งจิตวิทยา. บาดเจ็บรุนแรงที่ศีรษะในโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์เขต 15 2549;17(20):73