ไข้เฉียบพลันไม่ทราบสาเหตุในโรงพยาบาลศรีสะเกษ

Main Article Content

พยงค์ งามเพ็ชร

บทคัดย่อ

เหตุผลของการวิจัย: ไข้เฉียบพลันไม่ทราบสาเหตุ เป็นโรคที่พบบ่อยในเวชปฏิบัติทั่วไป โดยคำจำกัดความ หมายถึง ผู้ป่วยที่มีอาการไข้มากกว่า 38.3 องศาเซลเซียส และช่วงเวลาของไข้ น้อยกว่าสองสัปดาห์ ซึ่งหลังจากการซักประวัติและตรวจร่างกายแล้ว ยังคงไม่สามารถหาสาเหตุของไข้ได้ โดยทั่วไปแล้วสาเหตุของไข้มักเกิดจากโรคติดเชื้อ แต่ชนิดของโรคติดเชื้ออาจแตกต่างกันในแต่ละสถานที่และช่วงเวลา
วัตถุประสงค์: เพื่อค้นหาสาเหตุของกลุ่มอาการไข้เฉียบพลันไม่ทราบสาเหตุ หาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค และโรคร่วมที่อาจเป็นปัจจัยเกื้อหนุน ตลอดจนผลการรักษา
วิธีการศึกษา: ทำการศึกษาไปข้างหน้าในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยอายุรกรรมโรงพยาบาล ศรีสะเกษ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 ถึงวันที่ 31 ธนวาคม พ.ศ. 2550 บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับอายุ เพศ จำนวนวันที่มีไข้ก่อนมาโรงพยาบาล อาการ อาการแสดง ปัจจัยที่พบร่วม โรคเดิมที่เป็นอยู่ วิธีการรักษา และผลการรักษา
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 124 ราย อัตราส่วน เพศชายต่อเพศหญิงเท่ากับ 1: 0.68 กลุ่ม อายุที่พบมากคือ อายุ 25-34 ปี ร้อยละ 33.87 จำนวนวันที่มีไข้ก่อนมาโรงพยาบาล เฉลี่ย 4.86 วัน สาเหตุของโรคที่ให้การวินิจฉัยได้พบว่าเกิดจากโรคติดเชื้อร้อยละ51.61 โรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพันร้อยละ 2.42 โรคมะเร็งร้อยละ 2.42 โรคกลุ่ม inflammatory disease ร้อยละ 0.8 ไม่ทราบสาเหตุร้อยละ 42.74 ผู้ป่วยที่มีสาเหตุจากโรคติดเชื้อ เป็นโรคติดเชื้อริกเก็ตเชีย (สครับ ทัยฟัส) ร้อยละ 19.35 เล็ปโตสไปโรซิส ร้อยละ 18.55 ไข้เลือดออกร้อยละ 8.06 เมลิออยโดชีล ร้อยละ 3.23 วัณโรคร้อยละ 1.61 และมาลาเรียร้อยละ0.8ในกลุ่มผู้ป่วยโรคสครับทัยฟัล อายุเฉลี่ย 32.58ปีปัจจัย เสี่ยงที่สำคัญคืออาชีพชาวนาร้อยละ 91.67 เลี้ยงสัตว์ร้อยละ 58.33 พบ eschar ร้อยละ 75ในกลุ่ม ผู้ป่วยไข้เลือดออก อายุเฉลี่ย 18.61ปี ในกลุ่มผู้ป่วยเมลิออยโดชิสอายุเฉลี่ย 48.51 ปี พบว่ามีฝีในม้ามร้อยละ 100 พบว่ามีโรคร่วมคือเบาหวานร้อยละ 75 โรค ไตวายเรื้อรังร้อยละ 50 โนกลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็ง อายุเฉลี่ย 65.24 ปี มีประวัติ น้ำหนักลดมากกว่า 2 กิโลกรัมภายในเวลา 1 เดือนร้อยละ 100 ในส่วนของผลการ รักษา ผู้ป่วยโรคสครับไทฟัสและไข้เลือดออกทุกรายได้รับการรักษาจนหายดี ผู้ป่วย โรคเลปโตลไปโรชิสเสียชีวิต 2 รายจาก 23 รายคิดเป็นร้อยละ 8.70 ผู้ป่วยโรค เมลิออยโดชิสทั้งหมด 4 รายอาการดีขึ้น อยู่ในระหว่างการติดตามการรักษา ใน กลุ่มผู้ป่วยที่ยังคงไม่ทราบสาเหตุ ร้อยละ 96.23 หายจากไข้ ระยะเวลาที่ยังคงมีไข้ อยู่ในโรงพยาบาล เฉลี่ย 4.56 วัน เสียชีวิตร้อยละ 3.77
สรุปผล: สาเหตุของไข้เฉียบพลันโม่ทราบสาเหตุในโรงพยาบาลศรีสะเกษพบว่าโรคสครับไทฟัส เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของ Acute Undifferentiated Febrile illness (ร้อยละ 19.35) พบได้ในหลายช่วงอายุ และพบมากที่สุดโนช่วงวัยทำงาน ผู้ป่วยมักเป็นชาวนา ชาวสวนที่มีประวัติสัมผัสกับสัตว์ รองลงไปคือโรคเลปไตสไปโรชิสซี่งพบอุบัติ การณ์ใกล้เคียงกับ โรคไข้เลือดออกซึ่งพบในกลุ่มคนอายุน้อยนอกจากนั้นยังพบ โรคเมลิออยโดซิส ซึ่งเป็นโรคประจำถิ่นของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ: ไข้เฉียบพลันไม่ทราบสาเหตุ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1) อมร ลีลารัศมี ไข้เฉียบพลันที่ไม่ทราบสาเหตุ : การศึกษาความชุกในประเทศไทย ใน นลินี อัศวโภคี, สมบัติ ลีลาสุภาศรี, สุรกี เทียมกริม บรรณาธิการ โรคติดเชื้อที่ปรากฏภายหลัง ปี 2000 กรุงเทพฯ : โฮลีสติก พับลีสชิ่ง; 2540. หน้า 59-78.

2) Division of Epidemiology, Thai ministry of Public Health. Scrub typhus : annual epidemio logical surveillance report. Nonthaburi : Ministry of Public health 2000;1:307-14.

3) สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงานการการเฝ้าระวังโรค 2545. นนทบุรี : สำนักฯ; 2545.

4) Amow PM, Flaherty JP. Fever of unknown Origin : not what it used to be. Am J Med Sci 1986;296:56-64.

5) นิภาพรรณ สฤษดิ์อภิรักษ์, และคณะการรายงานไข้ไม่ทราบสาเหตุจากระบบเฝ้าระวัง ทางระบาดวิทยา 4 จังหวัดภาคกลางปี. มปท : 2543.

6) สุรชัย โชคครรชิตไชย, ไข้เฉลีบพลันไม่ทราบ สาเหตุในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา วารสารกรมการแพทย์ 2548 มิถุนายน ;30(6):314-25.

7) De Kleijn EM, Fever of unknown origin. A propective multicenter study of 167 patients with FUO . The Netherlands FUO study Group 1997;76:392-400.

8) Likuni Y, Okada J, current fever of unknown origin 1982-1992. Intern Med 1994;33:67-73.