ภาวะตกเลือดหลังคลอดในโรงพยาบาลบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทนำ: ภาวะตกเลือดหลังคลอดเป็นภาวะฉุกเฉินทางสูติกรรมและเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของ การเสียชีวิตใน มารดาหลังคลอด และยังเป็นปัญหาของงานอนามัยแม่และเด็ก
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสถานการณ์ สาเหตุ การรักษา และปัจจัยที่มีผลต่อการตกเลือดหลังคลอด ในโรงพยาบาลบุรีรัมย์
รูปแบบงานวิจัย: เป็นการศึกษาแบบ กลุ่มเปรียบเทียบ
วิธีการศึกษา: ทบทวนประวัติของมารดาที่มีภาวะตกเลือดหลังคลอดที่รับไว้ในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ จากเวชระเบียนผู้ป่วยใน และรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยที่มาคลอดจากสมุดสรุปยอด ประจำปีของกลุ่มงานสูตินรีเวชกรรม ระหว่าง 1 ตุลาคม 2547-30 กันยายน 2550 บันทึกข้อมูลการตั้งครรภ์ ภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรมและการคลอด หาสาเหตุ และวิธีการรักษารวมทั้งค้นหาปัจจัยที่มีผลต่อการตกเลือดหลังคลอด
ผลการศึกษา: พบมารดาตกเลือดหลังคลอด จำนวน 271 ราย จากมารดาคลอดทั้งหมด 17,871 ราย เฉลี่ยมีการตกเลือดหลังคลอดร้อยละ 1.52 สาเหตุการตกเลือดในระยะแรก ส่วนใหญ่เกิดจากภาวะมดลูกไม่หดตัวร้อยละ 72.3 สาเหตุในระยะหลังพบการมีรก ค้างเป็นสาเหตุทั้งหมด การรักษาส่วนใหญ่เป็นการรักษาทางยาร้อยละ 80.8 มีการ ตัดมดลูกร้อยละ 7 พบปัจจัยที่มีผลต่อการตกเลือดหลังคลอด ได้แก่ มารดาอายุ น้อยกว่า 20 ปี มารดาอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 35 ปี ภาวะน้ำเดินก่อนเจ็บครรภ์ ภาวะความดันโลหิตสูง การมีเลือดออกก่อนเจ็บครรภ์ การกระตุ้นคลอด การ คลอดที่ยาวนานทุกระยะ การผ่าตัดคลอดและหัตถการช่วยคลอด รวมถึงทารกที่มี น้ำหนักมากกว่าหรือเท่ากับ 4,000 กรัม
สรุป: ภาวะตกเลือดหลังคลอดยังพบได้บ่อยและเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มารดาเสียชีวิต สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากมดลูกไม่หดตัว การวางแผนการตั้งครรภ์ในอายุที่เหมาะสม การเฝ้าระวังและป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรม รวมถึงข้อบ่งชี้ในการทำ หัตถการ และการผ่าตัดคลอด การลดระยะเวลาการคลอดระยะที่ 3 เหล่านี้อาจ ช่วยให้ภาวะตกเลือดหลังคลอดมีจำนวนลดลง
Article Details
References
2. Jacobs AJ, Lockwood CJ, Barss VA. Causes and treatment of postpartum hemorrhage. UpToDate 2008AvailablefromURL:https://www.uptodate.com/home/content/topic. do;jsessionid=C3F9D0EB3065F484133...
3. Maughan KL, Heim SW, Galazka SS. Preventing postpartum hemorrhage: Managing the third stage of labor. American Family Physican 2006;73:1025-28.
4. Magann EF, Evans S, Chauhan SP, Lanneau G.,Fisk AD, Morrson JC. The length of the third stage of lobor and the risk of postpartum hemorrhage. Obstet Gynecol 2005;105:290-3.
5. Chau-in W. Anesthesia for postpartum hemorrhage. Srinagarind Med J 2008;23(3):330-41
6. Lalonde A, Daviss BA, Acosta A, Hersch- derfer K. Postpartum hemorrhage today: ICM/FIGO initiative 2004-2006. Int J Gynaecol Obstet 2006;94:243-53.
7. Ramanathan G, Arulkumaran S. Postpartum hemorrhage. Obstetrics 2006:967-73.
8. Anderson JM. Prevention and management of postpartum hemorrhage. Am Fam Physician 2007;75:875-82.
9. Cunningham FG, Leveno KJ, Bloom SL, Hauth JC, Giltrap L, Wenstrom KD. Postpartum hemorrhage. Williams Obstetrics 22nd ed 2007:821-31.
10. Ford JB, Roberts CL, Bell JC, Algert CS, Morris JM. Postpartum haemorrage occurrence and recurrences population-based study. MJA 2007;187:391-3.