การตรวจมะเร็งปากมดลูกพบเซลล์ผิดปกติในโรงพยาบาลศรีสะเกษ

Main Article Content

ศิริรุ่ง เดชาศิลปชัยกุล

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดของสตรีไทย การตรวจคัดกรองโดย Pap smear สามารถลดการเป็นมะเร็งระยะลุกลามและลดการเสียชีวิตได้ ดังนั้นควรมี การศึกษาความเข้ากันได้ของผลการตรวจทางเซลล์วิทยากับผลการตรวจทางพยาธิวิทยา
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษากลุ่มสตรีที่มารับการตรวจวินิจฉัยและรักษาในโรงพยาบาลศรีสะเกษ เนื่องจากการตรวจมะเร็งปากมดลูกพบเชลล์ผิดปกติ และศึกษาเปรียบเทียบถึง ความเข้ากันได้ระหว่างผลการตรวจทางเซลล์วิทยาและผลการตรวจทางพยาธิวิทยา
สถานที่ศึกษา: โรงพยาบาลศรีละเกษ
รูปแบบการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง
วิธีการศึกษา: รวบรวมข้อมูลจากบันทึกทางการแพทย์ของผู้ป่วยที่มารับการตรวจรักษาหรือได้รับการ ส่งตัวมารักษาต่อที่โรงพยาบาลศรีสะเกษ จากผลการตรวจมะเร็งปากมดลูกพบ เซลล์ผิดปกติ และได้รับการตัดชิ้นเนื้อที่ปากมดลูกโดยใช้ punch biopsy forceps หรือใช้ห่วงลวดไฟฟ้า (LEEP) ตัดปากมดลูกออกเป็น รูปกรวย ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2551
ผลการศึกษา: ผู้ป่วย 121 ราย ที่มีผลการตรวจมะเร็งปากมดลูกพบเซลล์ผิดปกติ ได้รับการตัดชิ้น เนื้อของปากมดลูกส่งตรวจทางพยาธิวิทยาโดยใช้ punch biopsy forceps หรือใช้ ห่วงลวดไฟฟ้า (LEEP) พบว่าผู้ป่วย 19 ราย (ร้อยละ 15.70) มีผลการตรวจทาง เซลล์วิทยาเป็นรอยโรคก่อนเป็นมะเร็งปากมดลูกแต่มีผลตรวจทางพยาธิวิทยาของ ชิ้นเนื้อปากมดลูกเป็นมะเร็งระยะลุกลาม 1 ราย (ร้อยละ 5.26) พบว่าผู้ป่วย 88 ราย (ร้อยละ 72.73) มีผลการตรวจทางเซลล์วิทยาเป็นมะเร็งระยะก่อนลุกลามขั้นสูง แต่มีผลตรวจทางพยาธิวิทยาของชิ้นเนื้อปากมดลูกเป็นมะเร็งระยะลุกลาม 2 ราย (ร้อยละ 2.27) พบว่าผู้ป่วย 2 ราย (ร้อยละ 1.65) มีผลการตรวจทางเซลล์วิทยา เป็นมะเร็งระยะลุกลามแต่มีผลตรวจทางพยาธิวิทยาของชิ้นเนื้อปากมดลูกเป็น มะเร็งระยะลุกลาม 1 ราย (ร้อยละ 50) และพบว่าความเข้ากันได้ระหว่างผลการ ตรวจทางเซลล์วิทยากับผลการตรวจทางพยาธิวิทยาของชิ้นเนื้อ ปากมดลูกจะต่ำ หากผลตรวจทางเซลล์วิทยาเป็นรอยโรคก่อนเป็นมะเร็งปากมดลูก (LSIL) แต่ ความเช้ากันได้ ระหว่างผลการตรวจทางเซลล์วิทยากับผลการตรวจทางพยาธิ วิทยาของชิ้นเนื้อปากมดลูก จะสูงถ้าผลตรวจทางเซลล์วิทยาเป็นมะเร็งระยะก่อน ลุกลามขั้นสูง (HSIL)
สรุป: ผู้ป่วยที่ผลการตรวจมะเร็งปากมดลูกรายงานว่ามีความเสี่ยงต่ำที่โรงพยาบาล ศรีสะเกษ ควรจะได้เฝ้าระวังและตรวจติดตามอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะผลตรวจ ตั้งแต่รอยโรคก่อนเป็นมะเร็งปากมดลูก (LSIL) เป็นต้นไป

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. ประเสริฐ ตรีวิจิตรคีลป์ และวิชัย เติมรุ่งเรือง- เลิศ. เนื้องอกและมะเร็งปากมดลูก. ใน : สมชัย นิรุตติศาสตร์, นเรศร สุขเจริญ, สุรางค์ ศรีรัตนชาติ, วิชัย เติมรุ่งเรืองเลิศและวิสันต์ เสรีภาพงศ์, บรรณาธิการ. นรีเวชวิทยา, พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ; 2537:173-205.

2. สมชัย นิรุตติศาสตร์. การตรวจคัดกรองเซลล์ วิทยามะเร็งปากมดลูกผิดปกติ. ใน:สมชัย นิรุตติศาสตร์,เจริญ ทวีผลเจริญ,ธาริณี แม่นชนะ ธีระ วัชรปรีชานนท์, นิพนธ์ เขมะ- เพชร,วิสันต์ เสรีภาพงศ์ และคณะ, บรรณาธิการ.แนวทางเวชปฏิบัติทางสูติศาสตร์- นรีเวชวิทยา, กรุงเทพมหานคร: คอนเซ็พท์ เมดิคัส ; 2549:121-36.

3. Jones BA, Davey DD. Quality management in gynecologic cytology using interlaborytory comparison. Arch Pathol Lab Med 2000;124:672-81.

4. Addis IB, Hatch KD, Berek JS.Intraepi- thelial disease of the cervix, vagina, and vulva.In: Berek JS.,ed. Berek & Novak’s Gynecology. 14th ed.Philadelphia: Lippincott : Williams & Wilkins ; 2007:561-99.

5. Fung HY, Cheung LP, Rogers MS, To KF. The treatment of epithelial neoplasia : when could we ’see and loop’.
Eur J Obstet Gynecon Reprod Biol 1977 April ; 72:199-204.

6. Jones III HW. Cervical cancer precursors and their management. In: Rock JA, Jones III HW. Te Linde’s Operative Gynecology. 10thed. Philadelphia: Lippincott : Williams & Wilkins ; 2008;1208-26.

7. Noller KL. Intraepithelial neoplasia of the lower genital tract (cervix,vagina). In: Com-prehensive Gynecology. 5thed. Philadelphia: Mosby: an affiliate of Elsevier Inc; 2007:743-80.

8. Brinton LA,Hoover RN. Epidemiology of gynecologic cancers.In:Hoskins WJ, Perez CA, Young RC. Principles and practice of Gynecologic Oncology. 3th ed. Philadelphia: Lippincot: Williams & Wilkins ; 2000:3-27.

9. พีรพงศ์ อินทศรและชัยยศ ธีรผกาวงศ์ มะเร็งปากมดลูก. ใน : สมบูรณ์ คุณาธิคม, มงคล เบญจาภิบาล, มณี รัตนไชยานนท์ และ สุวนิตย์ ธีระศักดิ์วิชยา, บรรณาธิการ. นรีเวช วิทยา. กรุงเทพมหานคร : พี. เอ.ลิฟวิ่ง : 2548, 238-47.

10. ณัฐพงศ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา. มะเร็งนรีเวช. ใน: เสวก วีระเกียรติและ สฤกพรรณ วิไล ลักษณ์, บรรณาธิการ.นรีเวชวิทยา. พิมพ์ ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรช์, 2548, 217-29.