แนวทางป้องกันการลืมถอดสาย DJ stent ในผู้ป่วยศัลยกรรมระบบปัสสาวะ โรงพยาบาลบุรีรัมย์

Main Article Content

ไพโรจน์ จึงอนุวัตร

บทคัดย่อ

บทนำ: การใส่ DJ stent เป็นหัตถการที่มีความสำคัญในการรักษาโรคระบบปัสสาวะมาก อย่างไรก็ดี การลืมถอดสาย DJ stent ซึ่งเป็นสิ่งแปลกปลอมในร่างกายของผู้ป่วย โดยไม่ได้เอาออกในระยะเวลาที่เหมาะสม อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยอย่างมาก และอาจเป็นเหตุให้เกิดการฟ้องร้องดำเนินคดีต่อแพทย์ผู้รักษาอีกด้วย
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ การลืมถอดสาย DJ stent ในผู้ป่วยศัลยกรรมระบบปัสสาวะ โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ก่อนและหลังการจัดแนวทางป้องกัน
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive study) ในผู้ป่วยศัลยกรรมระบบปัสสาวะ โรงพยาบาลบุรีรัมย์ที่ได้รับการใส่สาย DJ stent จัดทำแนวทางป้องกันการลืมถอดสาย DJ stent ในผู้ป่วยศัลยกรรมระบบปัสสาวะ โรงพยาบาลโดยจัดทำสมุดบันทึกช่วย จำ (สมุดทะเบียน DJ stent) ศึกษาข้อมูลทั่วไปผู้ป่วย เพศ อายุ ภูมิสำเนาข้อบ่งชี้ ในการใส่ DJ stent ระยะเวลาใส่ DJ stent อุบัติการณ์การลืมถอดสาย DJ stent และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น เปรียบเทียบก่อน และหลังการใช้แนวทางทางป้องกัน การลืมถอดสาย DJ stent การวิเคราะห์ผลทางสถิติ ใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย สัดส่วน
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยก่อนเริ่มจัดทำแนวทางป้องกันการลืมถอดลาย DJ stent ในปี 2547 และหลัง จัดทำแนวทางป้องกันในปี 2548, 2549, 2550 มีจำนวน 87, 85, 72, และ 81 ราย ตามสำดับ อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยก่อนเริ่มจัดทำแนวทางป้องกันการลืมถอดสาย DJ stent ในปี 2547 คิดเป็น 49.05 ปี อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยหลังทำแนวทางป้องกันการ ลืมถอดสาย DJ stent ในปี 2548-2550 คิดเป็น 49.26 ปี, 49.12 ปี และ 48.19 ปี ข้อบ่งชี้ในการใส่ DJ stent ส่วนใหญ่เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน คิดเป็น ร้อยละ 65.10, 58.80, 56.90, 71.80 ในปี 2547-2550 ตามสำดับ พบอุบัติการณ์ การลืมถอดสาย DJ stent ในปี 2547 ทั้งหมด 2 ราย คิดเป็น ร้อยละ 2.30 หลัง จากจัดทำแนวทางป้องกันการลืมถอดสาย DJ stent ในปี 2548-2550 ไม่พบอุบัติการณ์การลืมถอดสาย DJ stent เลย
สรุป: การจัดทำแนวทางในการป้องกันการลืมถอดสาย DJ stentในผู้ป่วยศัลยกรรมระบบ ปัสสาวะโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ช่วยลดอุบัติการณ์ การลืมถอดสาย DJ stent ได้
คำสำคัญ: สาย Double J stent, อุบัติการณ์, แนวทาง, ป้องกัน

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Finney RP. Experience with new Double J ureteral catheter stent. J Urol 1978:120:678-81.

2. บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ ตำรานิ่วในระบบ ทางเดินปัสสาวะ การเกิดโรค การวินิจฉัย และการรักษา.อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับการผ่าตัด รักษานิ่วโนระบบทางเดินปัสสาวะ. กรุงเทพมหานคร : บริษัท บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด; 2548:357-73.

3. Pollard SG, MacFarlane R ; Symptoms arising from double-J ureteral stent, J Urol 1988;139:37-8.

4. Kemppainen E, Talja M, Riihela M, et al. A bioabsorbable ureteral stent. An experimental study. Urol Res 1993;21:235-8.

5. Dunn MD, Portis AJ, Khan SA, et al. Clinical effectiveness of a new stent design: Randomizied single blinded comparison of tall and double pigtail stents. J Endourol 200;14:195-202.

6. Tschada RK, Henkel TO, Junemann KP, et al. Spiral reinforced ureteral stent: An alternative for internal urinary diversion. J Endourol 1994;8;119-23.

7. Joshi HB, Chitale SV, Nagarajan M, Irving SO, Browning AJ, et al. A prospective randomizied single blind comparison of ureteral stent composed of firm and soft polymer. J Urol 2005;174:2303-6.

8. Schulze KA, Wettlaufer JN, Oldami G. Encrustation and stone formation : Complication of indwelling ureteral stents. Urology 1986;25:616-9

9. Aron M, Anari MS, et al. Forgotten ureteral stent causing renal failure : multimodal endourologic treatment. J Endourol 2006:20(6):423-8


10. Puhse G, Piechota H, et al. Multiorgan failure 17 years after initial stone therapy : forgotten ureteral stent in a horseshoe Kidney. Eur Urol 2007;52(6):1784-7

11. Rembrink K, Goepel M, Meyer- Schwickerath M. The forgotten double J stent- Case report of a multifractured ureter stent. Urol Int 1992;49:119-20.

12. Aegukkataji S. Epidemiology of stone diseases in north-eastern Thailand. In: Urolithiasis: Current status.! 7th ed. Acadeic Meeting of the Royal College of Surgeons of Thailand 2003:1-17.

13. Soontornpan S. Epidemiology of stone diseases in Chaing Mai University Hospital. In: Urolithiasis: Current status. 17th ed. Acadeic Meeting of the Royal College of Surgeons of Thailand 2003:18-23.

14. Tanthanuch M, Apiwatgaroon A, Pripatnanont C. Urinary tract calculi in Southern Thailand. J Med Assoc Thai 2005;88:80-5.

15. Thomas AZ,Casey RG,Grainger R, Me Dermott T, Flynn R, Thornhill JA. The forgotten ureteric JJ stent and its preventions prospective audit of the value of a ureteric stent logbook.Ir J Med Sci.2007;176(2):117-9

16. Lynch MF, Ghani KR, Frost I, Anson KM. Preventing the forgotten ureteral stent: implementation of a web-based stent registry with automatic recall application. Urology 2007;70(3):423-6