ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุของการเสียชีวิตของทารก ที่มีภาวะสูดสำลักขี้เทาเข้าปอด ในโรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

มนเฑียร นรเศรษฐ์สิงห์

บทคัดย่อ

เหตุผลการวิจัย: กลุ่มอาการสูดสำลักขี้เทาเข้าปอดเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตในเด็กทารกป่วย โดยมีปัจจัยหลายอย่างที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิต
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุของการเสียชีวิตของทารกที่มีภาวะสูดสำลักขี้เทาเข้าปอดในโรงพยาบาลสุรินทร์
รูปแบบการวิจัย: เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังเชิงวิเคราะห์
วิธีการศึกษา: โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยในโรงพยาบาลสุรินทร์ที่ทารกได้รับการ วินิจฉัยว่ามีภาวะสูดสำลักขี้เทาเข้าปอด ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2551 รวม 3 ปี
การวิเคราะห์ข้อมูล: สถิติที่ใช้ได้แก่ จำนวน ร้อยละ การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ โดย ใช้สถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson product moment correlation) การ ทดสอบไคสแควร์ (chi-square test) การทดสอบแบบฟิชเชอร์ เอ็กแซ็คท์ (Fisher’s exact test) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis)
ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์การวินิจฉัยว่ามีภาวะสูดสำลักขี้เทาเข้าปอดจำนวน 158 ราย คิด เป็นร้อยละ 0.95 ของการเกิดมีชีพ หรือ ร้อยละ 6.1 ต่อการคลอดที่มีขี้เทาปนในน้ำคร่ำพบว่ามีทารกเสียชีวิต 11 ราย คิดเป็นอัตราตาย 0.65 ต่อการเกิดมีชีพ 1,000 คน หรือร้อยละ 6.96 ของทารกที่มีภาวะสูดสำลักขี้เทาเข้าปอด ที่เป็นปัจจัยเสี่ยง ต่อการเสียชีวิตของทารกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ทารกมีคะแนน Apgar ที่ 1 และ 5 นาที <7 ทารกที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ทารกที่มีภาวะความดันเลือดใน ปอดสูง และทารกที่มีภาวะอากาศในทรวงอก แต่ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ แบบขั้นตอน พบว่า ทารกที่มีภาวะความดันเลือดในปอดสูง ทารกที่ต้องใช้เครื่อง ช่วยหายใจ และทารกที่มีคะแนน Apgar ที่ 5 นาที <7 เท่านั้น
สรุป: ภาวะความดันเลือดในปอดสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงและเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ทารกที่มี ภาวะสูดสำลักขี้เทาเข้าปอดเสียชีวิต (ร้อยละ 54.51) รองลงมาได้แก่ภาวะ severe birth asphyxia และภาวะหายใจล้มเหลว จากการสูดสำลักขี้เทาเข้าปอด
คำสำคัญ: ภาวะสูดสำลักขี้เทาเข้าปอด, การตายทารกแรกเกิด, ภาวะแรงดันเลือดในปอดสูง, ปัจจัยเสี่ยง, คะแนน Apgar

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Greenough A, Milner AD. Meconium aspiration syndrome. In : Rennie JM, editors. Textbook of neonatology. 4th ed. Edinburgh : Churchill Livingstone; 2005:502-8.

2. เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์. การดูแลระบบการ หายใจในทารกแรกเกิด. กรุงเทพฯ : เรือนแก้ว การพิมพ์; 2536:191-224.

3. มีรา โครานา. กลุ่มอาการสูดสำลักขี้เทา. ใน: สรายุทธ สุภาพรรณชาติ ; บรรณาธิการ, Update Neonatal care. กรุงเทพฯ : ธนาเพรส แอน กราฟพิค จำกัด; 2545:62-73.

4. Wiswell TE, Bent RC. Meconium staining and the meconium aspiration syndrome. Pediatr Clin North Am 1993:40:955-81.

5. Whitsett JA, Warner BB, Rice WR. Acute respiratory disorders. In : Macdonald MG, Mullett MD, Seshia MMK. editor. Avery’s Neonatology : Pathophysiology and management of the newborn. 6th ed. Philadelphia : Lippincott Williams & Wilkins; 2005:553-77.

6. Cleary GM, Wiswell TE. Meconium-stained amniotic fluid and the meconium aspiration syndrome : an update. Pediatr Clin North Am 1998;45:511-29.

7. Ballard RA, Hansen TN, Cobert A. Respiratory failure in the tern infant. In : Taeusch HW, Ballard RA, Gleason CA, editors. Avery’s disease of the newborns. 8th ed. Philadelphia ะ WB Saunder; 2005:705-22.

8. สุภาภรณ์ ดิสนีเวทย์. Meconium aspiration syndrome. ใน: ประยงค์ เวชวณิชสนอง, วนพร อนันตเสรี, บรรณาธิการ. กุมารเวช- ศาสตร์ทั่วไป. สงขลา : ชานเมืองการพิมพ์; 2550:25-35.

9. วีระชัย จิตรเพียรค้า. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของทารกที่มีภาวะสูดสำลักขี้เทา. พุทธชินราชเวชสาร 2549;23:32-9.

10. สุชาดา ชีวะพฤกษ์. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของทารกที่มีภาวะสูดสำลักขี้เทาในโรงพยาบาลปทุมธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2551;17(1):46-56.

11. ทรงฉัตร ศิริโยธิพันธุ์. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของทารกที่มีภาวะสูดสำลักขี้เทาในโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์. กุมารเวชสาร ก้าวหน้า 2542;6:117-22.

12. แสงแข ชำนาญวนกิจ, พรพัฒน์ รัศมีมารีย์, ปรียาพันธ์ แสงอรุณ. Meconium. Aspiratin syndrome. ใน: ดุสิต สถาวร, ชลิดา เลาหพันธ์, ปรีชาพันธ์ แสงอรุณ, สุรีย์พร คุณาไทย, บรรณาธิการ. ตำรากุมารเวชศาสตร์วิกฤต. กรุงเทพฯ : บียอนด์เอ็นเตอร์ไพรช์; 2545:99-106.

13. Wiswell TE, Tuggle JM, Turner BS. Meco¬nium Aspiration Syndrome : Have we made a difference?. Pediatrics 1990;85:715-21.

14. อุไรวรรณ โชติเกียรติ, มีรา โครานา, วิบูลย์ กาญจนพัฒนกุล, วราภรณ์ แสงทวีสิน, สุนทร ค้อเผ่าพันธุ. ผลการรักษาความดันหลอดเลือด ปอดสูงในเด็กทารก (PPHN) ด้วยเครื่อง ช่วยหายใจความถี่สูง (HFOV) ประสบการณ์ 5 ปี. วารสารกุมารเวชศาสตร์ 2546:42:1-8.

15. อุไรวรรณ โชติเกียรติ. ความดันหลอดเลือด ปอดสูงในเด็ก. ใน: สรายุทธ สุภาพรรณชาติ, บรรณาธิการ. Update neonatal care and workshop in neonatal care. กรุงเทพฯ : ธนาเพรส; 2545:74-82.

16. พิมล ศรีสุภาพ. Persistant pulmonary hypertension of the newborn practical point. โน : สุนทร ค้อเผ่าพันธุ, บรรณาธิการ. Neonatology 2007. กรุงเทพฯ : ธนาเพรส; 2007:24-48.

17. ปรียาพันธ์ แสงอรุณ. Meconium aspiration sundrome. เอกสารประกอบการประชุม วิชาการประจำปีชมรมเวชศาสตร์ทารกแรก เกิด Current Management of Sick Neonate : 13-15 มกราคม 2540 : ณ โรงแรมโชลทวิน. กรุงเทพมหานคร; 2541:137-43.

18. Yong YP, Ho LY. A 3 year review of meconium aspiration syndrome. Singapore Med J. 1997;38:205-8.

19. Dargaville PA, Copnell B. The epidemiology of meconium aspiration syndrome : incidence, Risk factor, therapies and outcome. Pediatrics 2006;117:1712-21.