การศึกษาผู้ป่วยจมน้ำในแผนกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์ พ.ศ. 2549-2550

Main Article Content

จุไรรัตน์ ฤทัยวัฒน์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาข้อมูลและผลการรักษาผู้ป่วยเด็กจมน้ำที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของแผนกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์
รูปแบบของการศึกษา: การวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง
วิธีการศึกษา: รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกของผู้ป่วยเด็กจมน้ำที่เข้ารับการรักษาในแผนกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์ตั้งแต่ 1มกราคม 2549ถึง วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยทั้งหมด 60 ราย เป็นเพศชาย 35 ราย เพศหญิง 25 ราย อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิงเท่ากับ 1.4 :1 อายุเฉลี่ย 3 ปี 8 เดือน (ตั้งแต่ 9 เดือนถึง 14 ปี 8 เดือน) ร้อยละ 70 ของผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 5 ปี โดยเฉลี่ยร้อยละ 71.6 เกิดเหตุจมน้ำขณะ ทิ้งให้เด็กอยู่ตามลำพัง ทั้งหมดจมนํ้าจืด ร้อยละ 85 ของผู้ป่วยจมน้ำเป็นแหล่งน้ำ บริเวณใกล้บ้านหรือในบ้าน มีผู้ป่วยเพียงร้อยละ 40 ที่ได้รับการปฐมพยาบาลเบื้อง ต้นโดยการเป่าปากและหรือการนวดหัวใจ ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยได้แก่ ปอด ติดเชื้อ (ร้อยละ 76) ซัก (ร้อยละ 58.3) และความพิการทางสมองหลงเหลือ (ร้อยละ 23.33) ผู้ป่วยที่มีผลการรักษาไม่ดี คือ ผู้ป่วยที่มีความพิการทางสมองหลง เหลือหรือเสียชีวิต พบมากในกลุ่มที่หมดสติไม่รู้สึกตัว (Coma) เมื่อแรกรับที่โรง พยาบาล (ร้อยละ 60) และเป็นผู้ป่วยที่จัดอยู่ในระดับ 6 ของ ND/D classification ของ Szpilman ถึงร้อยละ 60 และทั้งหมดไม่ฟื้นคืนสติภายโน 24 ชั่วโมง หลังจมน้ำ มีผู้เสียชีวิต 27 รายคิดเป็นร้อยละ 45 โดยผู้ป่วย 23 รายมีสาเหตุการเสียชีวิต เนื่องจากสมองขาดออกชิเจนอย่างรุนแรง ผู้ป่วย 2 รายเกิดปอดอักเสบติดเชื้อ อย่างรุนแรงเนื่องจากใส่เครื่องช่วยหายใจเป็นระยะเวลานาน และผู้ป่วยอีก 2 ราย มีสาเหตุเนื่องจากภาวะปอดแบบ ARDS
บทสรุป: มีผู้ป่วยที่มีผลการรักษาไม่ดี คือ เสียชีวิต หรือมีความพิการทางสมอง หลงเหลือ 36 ราย (ร้อยละ 60) ดังนั้นการป้องกัน ภาวะจมน้ำน่าจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุด และ คุ้มค่าที่สุดและเมื่อเกิดเหตุการณ์จมน้ำ การช่วยฟื้นคืนชีพที่รวดเร็วและถูกวิธี จะทำให้มีผลการรักษาที่ดีขึ้น

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. เกษียร ภังคานนท์, ปิยะสกล สกลสัตยาทร, วิชิต ศิริทัตธำรง, ชูศักดิ์ ปริพัฒนานนท์ จมน้ำ การศึกษาจากผู้ป่วยที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาล 62 ราย, สารศิริราช 2527;6:36.361-66.

2. อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์. Child mortality in the next decade ใน : สุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์ และ คณะ (บรรณาธิการ), Ambulatory Pediatrics 2 กรุงเทพฯ : โฮลิสติก พับลิชชิ่ง; 2544:7-11

3. Szpilman D Near-drowning and drowning classification, A proposal to stratify mortality based on the analysis of 1831 case. Chest 1997;112:660-5.

4. Orlowski JP, Szpilman D, Drowning : Rescue, Resuscitation and Reanimation. Pediatr Clin North, AM 2001;48:627-46.

5. Gpmzalez-Luis G, Pons M, Cambra FJ, et al.: Use of the Pediatric Risk of Mortality Score As predictor of death and serious neurologic damage in children after submersion. Pediatr Emerg Care 2001;17:405-09

6. Ender PT, Dolan MJ Pneumonia associated with near-drowning. Clin Infect Dis 1997;27:1437-40.

7. จักรพันธ์ สุสิวะ. Drowning and Near-Drowning ใน: อรุณวรรณ พฤทธิพันธ์และ คณะ (บรรณาธิการ), Pediatric pulmonary & respiratory care: A current pratice เล่ม 2. กรุงเทพฯ : ขมรมโรคระบบหายใจ และ เวชบำบัดวิกฤตในเด็กแห่งประเทศไทย. 2544:370-84

8. อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ เอกสารประกอบการประชุมเรื่องสิงแวดล้อมปลอดภัยสำหรับ เด็กวันที่ 10 ตุลาคม 2544 กรุงเทพ : โรงพยาบาลรามาธิบดี, 2544.


9. Al-Mofadda SM, Nassar A, Al-Turki A, Al-Sallounm AA. Pediatric near drowning : The experience of King Khalid University Hospital. Ann Saudi Med 2001;21(5-6);300-03

10. Bieren JJLM, Knape JTA, Gelissen HPMM : Drawing. Current Opinion in Critical care 2002;8;578-86

11. Cristensen DW, Jansen, Perkin RM Outcome and Acute Care Hospital Costs AfterWarm Water Near Drowning in Children, Pediatrics 1997;99:715-21.

12. Conn AW, Jansen P, Perkin RM. Outcome and Acute Care Hospital Costs After Warm Water Near Drowing in Children. Pediatrics 1997;99:715-2

13. Edmond KM, Attia JR, D’Eate CA, Condon JT. Drowning and near-drowning in Northern Territory children. MJA 2001;175:605-08

14. Goh SH, Low B. Drowning and near- drowning-some lessons learnt. Ann Acad Med Singapore 1999;28:183-88

15. Ibsen LM, Koch T. Submersion and asphyxial injury. Crit Care Med 2002;30:S402-8.

16. Kallas HJ. Drowning and Near-Drowning. In: Richard EB et al. (ed). Nelson textbook of Pediatrics. Philadephia : W.B. Saunders company; 2000:279-87

17. Krug E(ed) Injury A leading cause of the Global Burden of disease. Geneva, Switzerland : World Health Organization; 2000.

18. Orlowski JP, Szpilman D. Drowning. Rescue, Resuscitation, and Reanimation. Pediatr Clin North AM 2001:48:627-46

19. Pia F. Reflections on lifeguard Surveillance Programs. In Fletemeyer JR, Freas SJ (ed). Drowning : New Perspectives on Intervention and Prevention. Boca Raton, FL, CRC press; 1999:231-43

20. Plitponkarnpim A, Andersson R, Horte L, Svanstrom L. Trend and Crrent Satus of Child injury Fatalities in Thailand Cmpared with Sweden and Japan. Journal of Safey Research 1999;30:163-71

21. Quan L. Near-drowning. Pediatrics in review, 1999;20:255-59.

22. Staudinger T, Bankier A, Strohmaier W, et al. Exogenous surfactant therapy in a patient With adult respiratory distress syndrome after near drowning. Resuscitation 1997;35:1417-21

23. Suzuki H, Ohta T, lwata K, et al. Surfactant therapy for respiratory failure due to near-drowning. Eur J Pediatr 1996;155:383-84