การศึกษาการแพ้สารทึบรังสี ในผู้ป่วยที่มาขอรับบริการ การตรวจไตและระบบทางเดินปัสสาวะ

Main Article Content

นิมิต ยุวนิมิต

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการแพ้สารทึบรังสีในผู้ป่วยที่มาขอรับบริการการตรวจไตและทางเดิน ปัสสาวะโดยการฉีดสารทึบรังสิ
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาโดยการเก็บข้อมูลย้อนหลังในผู้ป่วยทีมารับบริการการตรวจไตและทาง เดินปัสสาวะโดยการฉีดสารทึบรังสิ ในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ เริ่มเก็บข้อมูลตั้งแต่ เดือนตุลาคม 2550 ถึง กันยายน 2551 ผู้ป่วยทุกรายได้รับการฉีดสารทึบรังสิ สาร ทึบรังสีที่ใช้ฉีดมีทั้งชนิดไอออนิกและนอนไอออนิก ก่อนตรวจผู้ป่วยทุกรายจะได้รับ การซักประวัติการแพ้ยา แพ้อาหารทะเล โรคประจำตัว และผลเลือดที่แสดงการ ทำงานของไต (BUN และ Creatinin)
สถิติที่ใช้: ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ Chi-square test
ผลการศึกษา: จากการศึกษาครั้งนี้มีผู้มาขอรับบริการการตรวจไตและระบบทางเดินปัสสาวะทั้งหมด จำนวน 752 ราย ผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดสารทึบรังสีชนิดไอออนิกมีอัตราการแพ้สารทึบรังลีมากกว่าชนิดนอนไอออนิก (P=0.008) พบปฏิกิริยาการแพ้สารทึบรังสีทั้ง ชนิดไอออนิกและนอนไอออนิกระดับน้อยมากที่สุด ตามด้วยแพ้ระดับปานกลาง และระดับแพ้รุนแรงมากพบน้อยที่สุด พบผู้ป่วยเกิดการแพ้สารทึบรังสิ ร้อยละ 5.05
สรุป: ปฏิกิริยาการแพ้สารทึบรังสิในผู้ป่วยที่มาขอรับบริการการตรวจไตและระบบทางเดิน ปัสสาวะพบได้ร้อยละ 5.05 การซักประวัติและเลือกชนิดของสารทึบรังสีที่เหมาะ สมกับผู้ป่วยอาจช่วยลดความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดการแพ้สารทึบรังสิ การเตรียม ความพร้อมในการรักษา เตรียมอุปกรณ์ ยาที่ใช้ในการรักษาจึงมีความสำคัญ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. เกียรติ รักษ์รุ่งธรรมและประพันธ์ ภานุภาค. Anaphylaxis ใน: วิทยา ศรีดามา, บรรณาธิการ. อายุรศาสตร์แนวใหม่. กรุงเทพฯ : ยูนิตี้พับเคชั่น, 2542.

2. ชรินทร์ เอื้อวิไล. รังสีวิทยาหลอดเลือด. กรุงเทพฯ : โฮลิสติกพับลิชชิ่ง, 2542.

3. ปกิต วิชยานนท์. Update in allergy : Theory and Practice. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, 2542.

4. สุกัญญา โพธิกำจร. การแพ้สาร Radiographic Contrast Media ใน : วิทยา ศรีดามา บรรณาธิการ. อายุรศาสตร์แนวใหม่. กรุงเทพฯ: ยูนิตี้พับเคชั่น, 2542:322-7.

5. Amon U. Pathophysiologic and immunologic mechanism of contrast medium induced anaphylactoid immediate hypersen- sitivity-an overview. Aktuclle radiol 1997;7(3):145-8.

6. Soyer P, Levesque M. Prevention of intolerance to iodized contrast media. Presse Med 1990:31:19(12):562-5.

7. Porri F, Pradal M, Fontaine JI, Charpin D, Dervloet D. Reactions to contrast media. Presse Med. 1993; 27:22(11):543-9.

8. Grainger RG. Radiological contrast media. Can Assoc Radiol J 1989;40(1):61-3.

9. Katayama H, Yamaguchi K, Kozuka T, Seez P, Matsuura K. Adverse reaction to ionic and non ionic contrast media : a report from the japanese committee on safety of contrast media. Radiology 1990;175:621-8.

10. Koedsiri T. The complication of intravenous administration of contrast media in CT scan examination. วารสารรังสีเทคนิค 2549;31(3):69-74.

11. จุรีรัตน์ ธรรมโรจน์, วรินทร์ธร บุญเฉลียว. สารทึบรังสี. ใน: มานัส มงคลสุข บรรณาธิการ. เอกซเรย์คอมพิวเต็ดโทโมกราฟฟี. พิมพ์ครั้งที่ 1. ขอนแก่น. โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา. 2546:201-15.

12. อนิลธิตา พรมณี. Adverse events after intravenous administration of contrast media in intravenous pyelography. ยโสธรวารสาร 2550; 9(3):178-187.
13. เสงี่ยม ฉัตราพงษ์, จิราภรณ์ ศรีนัครินทร์, ยมุนา สุ่มมาตย์ และคณะ. Risk factors associated with allergic to non-ionic contrast media in patients undergoing chest or abdominal computed tomography. ศรีนครินทร์เวชสาร 2548;20(2):93-8.

14. Encina JL, Marti-Bonmatil L, Ronchera- Oms CL, Rodriguez V. Iopentol (Imago- paque 300) compared with iopromidle (ultravist 300) in abdominal CT. A muti- centre monitoring trial assessing adverse event and diagnostic information-results from 518 patients in spine. EUR Radiol 1997;7(Suppl 4):S115-9.

15. De Gp, Melchior H. Iomeprol versus iopromide for intravenous urography. Br J Radiol 1994;67(802):958-63.