อุบัติการณ์ของภาวะพร่องธัยรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด ในโรงพยาบาลบุรีรัมย์

Main Article Content

ทวีศักดิ์ กาญจนการุณ

บทคัดย่อ

เหตุผลการนำเสนอ: การตรวจรักษาโรคภาวะพร่องฮอร์โมนธัยรอยด์แต่กำเนิดได้ทันสามารถป้องกันโรค สมองพิการและพัฒนาการล่าช้าในเด็กได้
วัตถุประสงค์: ศึกษาอุบัติการณ์ภาวะพร่องธัยรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิดของทารกแรกเกิดมีชีพในโรง พยาบาลบุรีรัมย์ และคลอดนอกโรงพยาบาลรวมกับคนไข้ที่ส่งมาจากโรงพยาบาลอื่นที่มารับการรักษาต่อที่โรงพยาบาล
รูปแบบการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลังของทารกเกิดมีชีพทุกรายที่ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะพร่อง ธัยรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิดในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2545ถึง 30 กันยายน 2551 จำนวน 36,627 ราย
ผลการศึกษา: พบว่ามีทารกจำนวน 127 รายคิดเป็นร้อยละ 0.35 ที่มีระดับธัยรอยด์ฮอร์โมน (TSH) จากการตรวจคัดกรองมีค่ามากกว่า25มิลลิยูนิตต่อลิตรและทารกจำนวน 127 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 ที่ได้รับการตรวจยืนยันซ้ำในจำนวนนี้มีทารก 29 รายที่มีภาวะ พร่องธัยรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิดคิดเป็นอุบัติการณ์เท่ากับ 1 : 1,263 ของทารก เกิดมีชีพในโรงพยาบาลบุรีรัมย์
สรุป: จากการศึกษานี้พบอุบัติการณ์ของภาวะพร่องธัยรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิดคิดเป็น 1 : 1,263 ของทารกเกิดมีชีพ ในโรงพยาบาลบุรีรัมย์
คำสำคัญ: อุบัติการณ์, ภาวะพร่องธัยรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. เกวลี อุณจักร. การคัดกรองโรคพร่องธัยรอยด์ ฮอร์โมนแต่กำเนิด. ใน: พัฒน์มหาโชคเลิศ วัฒนา,จิตติวัฒน์ สุประสงค์สิน, สุภาวดี ลิขิต มาศกุล, ขวัญใจ ธนกิจจาร, บรรณาธิการ. Endocrinology for pediatricians. กรุงเทพฯ : ชัยเจริญ, 2543. 149-57.

2. สุทธิพงษ์วัชรสินธุ, สุมาลี ศรีวัฒนา, สุภาพ อรุณภาคมงคล. ปัญญาอ่อนจากภาวะพร่องธัยรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด : ความพิการที่ สามารถป้องกันได้. กุมารเวชสาร 2543;1(4):6-9.

3. Klein AH, Meltzer S, kenney FN. Improved diagnosis of congenital hypothyroidism treated before age 3 months. J Pediatr1972;81:912-5.

4. วิไล ราตรีสวัสดิ์. เอกสารประกอบการ ประชุมสัมมนาเฉลิมพระเกียรติเรื่อง ลูกน้ำ การคัดกรองภาวะพร่องธัยรอยด์ฮอร์โมนใน ทารกแรกเกิดเพื่อป้องกันปัญญาอ่อน วันที่ 25 พฤศจิกายน 2542. นนทบุรี : กรมวิทยาศาสตร์ การแพทย์กระทรวงสาธารณสุข 2542. หน้า 1-3.

5. วิมล สุขถมยา, จงดี สุขถมยา, ศุภกาจน์ศิลปรัศมี, ดรุณี เด่นยุกต์, สุนทร กังสวิน การสำรวจภาวะขาดฮอร์โมนต่อมธัยรอยด์ ของเด็กแรกเกิดในภาคใต้. รังสีวิทยาสาร. 2529;23:74-9.

6. วิยะดา เจริศิริวัฒน์. เอกสารประกอบการ ประชุมสัมมนาเฉลิมพระเกียรติเรื่อง ลูกน้ำ การคัดกรองภาวะพร่องธัยรอยด์ฮอร์โมนใน ทารกแรกเกิดเพื่อป้องกันปัญญาอ่อน วันที่ 25 พฤศจิกายน 2542. นนทบุรี : กรมวิทยาศาสตร์ การแพทย์กระทรวงสาธารณสุข 2542. หน้า 66.

7. วราภรณ์ เตชะเสนา, พรชัย งามสิทธิฤกษ์, รัชนี เจริญสวัสดี*, เสาวลักษณ์ ชนม์ยืน, ไพบูลย์ ทนันชัย. ผลการตรวจคัดกรองทารกแรกเกิด เพื่อค้นหาภาวะพร่องธัยรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด. วารสารกุมารเวชศาสตร์. 2537;4:268-77.

8. วิยะดา เจริศิริวัฒน์. เอกสารประกอบการ ประชุมสัมมนาเฉลิมพระเกียรติเรื่อง ลูกน้ำ การคัดกรองภาวะพร่องธัยรอยด์ฮอร์โมนใน ทารกแรกเกิดเพื่อป้องกันปัญญาอ่อน วันที่ 25 พฤศจิกายน 2542. นนทบุรี : กรมวิทยาศาสตร์ การแพทย์กระทรวงสาธารณสุข, 2542. หน้า 33.

9. เอกสารประกอบการประชุมสัมมนา เฉลิมพระเกียรติเรื่อง ลูกน้ำการคัดกรอง ภาวะพร่องธัยรอยด์ฮอร์โมนในทารกแรกเกิด เพื่อป้องกันปัญญาอ่อน วันที่ 25 พฤศจิกายน 2542. นนทบุรี : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, 2542. หน้า 44.

10. Mahachokletwattana P, Paupradit W, Siripoonya P, Chareonpol O, Tuwaset-thakul P, Rajatanavin R. Five-year thyritropin screening for congenital hypothyroidism in Ramathibodi hospital. J med Assoc Thai 1992;82(suppl):S27-S32.

11. Thaithumyanon P, Srivuthana S, Poshya-chinada M. Neonatal Screening for hypothyroidism at a university hospital in Thailand. Neonatal Screening in the 21st century, 3rd Asia Pacific Regional Meeting of the International Society for Neonatal Screening. November 1998:78.