ปัจจัยทีมีความสัมพันธ์กับความต้องการปรับเปลี่ยนสายงาน ของพยาบาลประจำการในโรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

สมพร ชูเชิด

บทคัดย่อ

เหตุผลของการวิจัย: ปัญหาขอย้าย หรือ เปลี่ยนสายงานของพยาบาลวิชาชีพเป็นจำนวนมากเป็น ปัญหาที่เกิดอย่าง ต่อเนื่องทุกปีในโรงพยาบาลสุรินทร์ การทราบสาเหตุ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องทำ ให้สามารถนำไป ปรับปรุง พัฒนา ระบบการ บริหารงานพยาบาล การวางแผนการปฏิบัติงานของพยาบาล ให้เกิดการ ตอบสนองความต้องการ ความพึงพอใจในระดับที่เป็นไปได้ทั้งผู้ให้และผู้รับ บริการ อันจะนำไปสู่เป้าหมายของการพัฒนาโรงพยาบาลให้มุ่งสู่ความเป็น เลิศต่อไป
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอัตราความ ต้องการปรับ เปลี่ยนสายงาน,ของพยาบาลประจำการต่อ จำนวนพยาบาลประจำการทั้งหมดในโรงพยาบาลสุรินทร์และเพื่อทราบ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการปรับเปลี่ยนสายงานของพยาบาล
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงสำรวจ
วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือพยาบาลประจำการปฏิบัติงาน 8 ชั่วโมงและปฏิบัติ งานไม่น้อยกว่า 3 ปี ทุกคน จำนวน 451 คน รวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามจาก ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2551-31 พฤษภาคม 2551 วิเคราะห์ ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ได้แก่การทดสอบไคสแควร์ (Chi-square)
ผลการศึกษา: พบความต้องการปรับเปลี่ยนสายงานของพยาบาลประจำการในโรงพยาบาล สุรินทร์จำนวน 283 คน (ร้อยละ 62.3) โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความ ต้องการปรับเปลี่ยนสามลำดับแรกได้แก่ ปัจจัยด้านรายได้และสวัสดิการ (3.18+0.76) ปัจจัยในด้านภาระงานค่าเฉลี่ย (3.04+0.94) ปัจจัยในด้าน การอยู่เวร (2.95±0.82)
สรุป: พยาบาลประจำการในโรงพยาบาลสุรินทร์ มีความต้องการ ปรับเปลี่ยน สายงาน สูง ปัจจัย ที่เกี่ยวข้อง เป็นสิ่งที่ผู้บริหารสามารถนำไปปรับปรุง การบริหารงานไต้
คำสำคัญ: การปรับเปลี่ยนสายงาน, ภาระงานโอกาสก้าวหน้าในวิชาชีพ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. อัญชลี ฤกษงาม. แนวโน้มความต้องการ ลาออกจากวิชาชีพของพยาบาลกองทัพบก. วิจัยส่วนบุคคล, วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก สถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง. 2537:26.

2. มณีมัย รัตนมณี และ อนันต้ เกตุวงค์. รายงานการวิจัยเรื่องการลาออกของข้าราชการ. กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2526.

3. ฟาริดา อิมราฮิม. บรรยากาศที่เสริมสร้างพยาบาลวิชาชีพ. วารสารพยาบาล ; 2523:133-7.

4. จุรีพร กาญจนการุณ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อแนวโน้มการลาออกจากองคการ : ศึกษา กรณีข้าราชการมหาวิทยาลัยมหิดลในสาขาวิชาขาดแคลน. วิทยานิพนธรัฐศาลตร์มหาบัณหิตสาขารัฐศาสตร์บัณหิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ; 2536.

5. น้องนุข ภูมิสนธ์. ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยส่วนบุคคล ทัศนคติต่อวิชาชีพการพยาบาลความพึงพอใจในงานและความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การกับความตั้งใจที่จะออก จากงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลรัฐ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาลบัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2539;74.

6. สุกัญญา สุทธิวานิช. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการลาออกของพยาบาลประจำการของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาควิชาจิตวิทยา, บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ; 2538.

7. สุจินต์ วิจิตรกาญจน์, สุภารัตน์ ไวยชีตา และสมจิต หนุเจริญกุล. ความพึงพอใจในงาน ความตั้งใจที่จะย้ายออกจากวิชาชีพของพยาบาลในโรงพยาบาลรามาธิบดี. รามาธิบดี พยาบาลสาร ; 2538:11-24.

8. สมจิต หนูเจริญกุล.การขาดแคลนพยาบาล และแนวทางแก้ไข. รามาธิบดีเวชสาร ; 2537:183-97.