ผลการประเมินการใช้ยาปฏิชีวนะและปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อ

Main Article Content

ชุติมา วิจิตรานุวัตร

บทคัดย่อ

เหตุผลในการวิจัย: สถานการณ์เชื้อแกรมลบดื้อต่อยาต้านจุลชีพหลายขนาน กำลังเป็นปัญหา สำคัญทั้งในทุกประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย โดยเฉพาะ เชื้อ Acinetobacter baumannii ที่มีคุณสมบัติดื้อต่อยาหลายขนาน (Multidrug Resistance Acinetobacter baumannii) กำลังเป็นปัญหาสำคัญในก่อ ให้การติดเชื้อในโรงพยาบาลและมีอัตราการเสียชีวิตสูง การระบาดของเชื้อ A. baumannii ในโรงพยาบาลสุรินทร์เริ่มมีรายงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 และ มีอัตราการติดเชื้อสูงเพิ่มขึ้น ร้อยละ 25.68 เป็น ในปี พ.ศ. 2551 แต่ข้อมูล การศึกษา MDR A. baumannii ในโรงพยาบาลสุรินทร์ ยังมีจำกัด การ ทบทวนถึงปัจจัยเสี่ยงการประเมินการใช้ยาปฏิชีวนะที่ผ่านมาก็จะเป็น แนวทางในการปฏิบัติที่จะเป็นการช่วยลดอัตราการตายและลดอุบัติการณ์ การติดเชื้อ A baumannii ในโรงพยาบาลได้
วัตถุประสงค์: เพี่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อติดเชื้อดื้อต่อยาหลายขนาน A. baumannii และ ประเมินผลการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะในโรงพยาบาลสุรินทร์
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง
วิธีการศึกษา: รวบรวมข้อมูลและทบทวนประวัติการรักษาจากข้อมูลเวชระเบียนที่รับไว้รักษา ในโรงพยาบาลสุรินทร์ในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อหรือมีการสร้างโคโลนีของเชื้อ A. baumannii ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ.2550 วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS version 15 โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบข้อมูลที่เป็นตัวแปร ต่อเนื่องด้วย Independent t-test และเปรียบเทียบข้อมูลที่เป็นตัวแปร ไม่ต่อเนื่องด้วย Chi-square test ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่มีการเชื้อ A. baumannii ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ.2550 จำนวน 94 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 58.51) มีอายุเฉลี่ย 61+16.23 ปี ตำแหน่งที่พบการติดเชื้อมากที่สุด คือ ปอดอักเสบ (pneumonia) ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการติดเชื้อ ได้แก่ ระยะเวลาที่นอนโรงพยาบาล การเข้ารักษาในหอผู้ป่วยวิกฤต การทำหัตถการและใส่อุปกรณ์ทางการแพทย์ จำนวนหัตถการและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ผู้ป่วย โดยระยะเวลาการ นอนโรงพยาบาลนานเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ติดเชื้อ MDR A. baumannii (22.54+16.82 วัน, p-value < 0.05) การประเมินผลการใช้ยาปฏิชีวนะในการ รักษาพบการสั่งใช้ยาแบบ document therapy ร้อยละ 68% โดยยา ปฏิชีวนะที่เลือกใช้ได้แก่ Cefoperazone/sulbactam ร้อยละ 32.99 รองลง มา คือ Colistin ร้อยละ 6.34 ส่วนระยะเวลาเฉลี่ยที่ใช้ยาปฏิชีวนะ 8.63 +5.69 วัน อัตราผู้ป่วยที่มีผลตอบสนองดีต่อการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ เท่ากับ ร้อยละ 48.93
สรุป: MDR A. baumannii เป็นสาเหตุการติดเชื้อในโรงพยาบาลที่ผู้บริหารและ ทีมสหสาขาวิชาชีพ ควรตระหนักและมีมาตรการควบคุมการแพร่กระจาย เชื้อและประเมินผลการใช้ยาต้านจุลชีพที่เหมาะสม
คำสำคัญ: Acinetobacter baumannii, Multidrug Resistance (MDR), ประเมินผลการใช้ยา

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Wagenvoort JH, Joosten EJ. An outbreak Acinetobacter baumannii that mimics MRSA in its environmental longevity. J Hosp Infect 2002;52:226-7.

2. Wendt C, Dietze B, Dietz E, Ruden H. Survival of Acinetobacter baumannii on dry surfaces. J Clin Microbiol 1997;35:1394-7.

3. Jawad A, Seifert H, Snelling AM, Heritage J, Hawkey PM. Survival of Acinetobacter baumanniion dry surfaces: comparison of outbreak and sporadic isolates. J Clin Microbiol 1998;36:1938-41.

4. Bergogne-Berezin E, Towner KJ. Acinetobacter spp. as nosocomial pathogens; microbiological, clinical,and epidemiological features. Clin Microbiol Rev 1996;9:148-65.

5. Cisneros JM, Reyes MJ, Pachon J, Becerril B, Caballero FJ, Garcia-Garmendia JL, et al. Bacteremia due to Acinetobacter baumannii: epidemiology, clinical findings, and prognostic features. Clin Infect Dis 1996;2:1026-32.

6. คณะกรรมการโครงการเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ ศูนย์เฝ้าระวัง เชื้อดื้อยาต้าน จุลชีพแห่งชาติ กรมวิทยาศาลตรการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการเฝ้าระวัง เชื้อดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ. NARST;1-2.

7. คณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล โรงพยาบาลสุรินทร์ กระทรวงสาธารณสุข.รายงานประจำปี 2549-2551.

8. กัลยาณี คุระครางค์และคณะ. ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อดื้อยา Acinetobacter baumannii ในโรงพยาบาลศิริราช, J Med Assoc Thai 2007;90(8):1633-9.

9. กนกอร ลีเพชรรัตน์.การติดเชื้อและเชื้อโรค ก่อในตัวของ Acinetobacter baumanniilv, หอผู้ป่วยกุมารเวชศาลตรโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ในช่วงปี พ.ศ. 25452546 [cited 2008 Sep 10]. Available from : URL https://www.thaipediatrics.org/abstract/24082006/new.doc)

10. ศริพร แซ่เล้า, อัจฉรา อุทิศวรรณกุล. การรักษาผู้ป่วยปอดอักเสบในโรงพยาบาลอันเนื่องมาจากเชื้อดื้อยา Acinetobacter baumannii, J Health Res 2008, 22(3):131-6.

11. The American Thoracic Society and The Infectious Disease Society of America. 2005. Guideline for themanagement of adults with hospital-acquired, ventilatorassociated, and healthcare-associated pneumonia. Am J Respir Crit Care Med 171:388-416