ความต้องการทางด้านจิตวิญญาณของญาติผู้ป่วยวิกฤต ในหอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลศรีสะเกษ

Main Article Content

ชลิดา จันเทพา
นพวรรณ เปียซื่อ

บทคัดย่อ

เหตุผลในการวิจัย: จิตวิญญาณเป็นมิติหนึ่งของสุขภาพ เป็นแหล่งของความหมาย ความหวัง กำลังใจ เครื่อง ยึดเหนี่ยวจิตใจ ช่วยให้บุคคลสามารถก้าวผ่านปัญหา อุปสรรค ความยากลำบากในชีวิตได้ ญาติผู้ป่วยวิกฤตในหอผู้ป่วยหนักเป็นผู้ที่อยู่ใน ภาวะวิกฤตทางใจ มีความกลัวและวิตกกังวลสูง ร่วมกับสิ่งแวดล้อม และ ระบบการดูแลรักษาที่มีแต่ความรีบเร่งในการช่วยชีวิต มุ่งแก้ไขปัญหาวิกฤต ทางกายจังอาจมองข้ามจิตใจและจิตวิญญาณโดยไม่ได้ตั้งใจ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความต้องการทางด้านจิตวิญญาณของญาติผู้ป่วยวิกฤตในหอผู้ป่วย หนัก โรงพยาบาลศรีสะเกษ
สถานที่ศึกษา: หอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลศรีสะเกษ
รู,ปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงบรรยาย
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาความต้องการทางด้านจิตวิญญาณของญาติผู้ป่วยวิกฤตในหอผู้ป่วยหนัก เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดจำนวน 100 ราย โดยใช้แบบสัมภาษณ์ความต้องการด้านจิตวิญญาณตามกรอบ แนวคิดของไอฟิลด์ (Highfield. 1992) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย เก็บข้อมูลตั้งแต่ 26 มกราคม 2551-14 มิถุนายน 2551
ผลการศึกษา: ความต้องการทางด้านจิตวิญญาณโดยรวมอยู่ในระดับสูงโดยมีค่าเฉลี่ย 74.35 (SD=9.95) จากค่าที่เป็นไปได้ 0-100 คะแนน และพบว่า ความต้องการด้านการมีความหมาย และเป้าหมายในชีวิต และความต้องการด้านการมีความหวัง มีคะแนนอยู่ในระดับสูง โดยมีค่าเฉลี่ย 20.92 (SD=3.03) จากค่าที่เป็นไปได้ 0-26 คะแนน และ 7.66 (SD=0.90) จากค่าที่เป็นไปได้ 0-8 คะแนน ตามลำดับ และความต้องการด้านการมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น สิ่งอื่น สิ่งแวดล้อม และสิ่งนอกเหนือตน มีคะแนนอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่า เฉลี่ย 45.77 (SD=7.89) จากค่าที่เป็นไปได้ 0-66 คะแนน ส่วนความ ต้องการด้านจิตวิญญาณรายข้อที่กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการสูงสุด 3 อันดับแรก คือ การได้รับความรัก ความห่วงใย ความเป็นกันเอง ความ เอื้ออาทร จากเพื่อนๆและครอบครัว และการสวดมนต์ ขอพรจากสิ่งสูงสุด ที่เคารพนับถือ ช่วยให้ผู้ป่วยจากไปด้วยความสงบได้พบสิ่งที่ดีหลังความตาย (ร้อยละ 100 ทั้งสองกิจกรรม) อันดับสอง คือ การบอก หรือแสดงให้ผู้ ป่วยรู้ว่าญาติรัก ห่วงใย เอื้ออาทร ต้องการช่วยเหลืออย่างจริงใจ โดยการ สนทนา โอบกอด สัมผัสอย่างอ่อนโยน ดูแลช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด และ การช่วยให้ผู้ป่วยได้รับความสุขสบาย ไม่เจ็บปวด ทุกข์ทรมาน (ร้อยละ 99 ทั้งสองกิจกรรม) อันดับสาม คือ การไม่คิดร้ายไม่ทำร้ายไม่เบียดเบียนตนเอง หรือผู้อื่น (ร้อยละ 97)
สรุป: ความต้องการทางด้านจิตวิญญาณของญาติผู้ป่วยวิกฤตโดยรวม ความต้องการด้านการมีความหมาย เป้าหมายในชีวิต และความต้องการด้าน ความหวัง อยู่ในระดับสูง ส่วนความต้องการด้านมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น สิ่งอื่น สิ่งแวดล้อม และสิ่งนอกเหนือตน อยู่ในระดับปานกลาง ผลการ ศึกษาชี้ให้เห็นแนวทางสำหรับพยาบาลในการดูแลด้านจิตวิญญาณ ให้สอดคล้องกับความต้องการของญาติผู้ป่วยวิกฤตในหอผู้ป่วยหนัก
คำสำคัญ: จิตวิญญาณ, ความต้องการทางจิตวิญญาณ, การดูแลแบบองค์รวม. ผู้ป่วยวิกฤต

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์และคณะ. วัฒนธรรมความตายกับวาระสุดท้ายของชีวิต.กรุงเทพฯ : หนังสือดีวัน; 2550.

2. ชนิกา เจริญจิตตกุล. จิตวิญญาณ : การดูแล. การจัดการความรู้ 2549 [16 ธันวาคม 2549] Available from: URL://www.Academic,hcu.ac.th

3. ทัศนีย์ ทองประทีป. จิตวิญญาณมิติหนึ่งของการพยาบาล. กรุงเทพฯ : บุญศิริการพิมพ์; 2548.

4. ดารุณี จงอุดมการณ์. การประยุกต์ทฤษฎีองค์รวมในการปฏิบัติการพยาบาลเด็ก. วารสารคณะพยาบาลคาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2544;24:1-11.

5. High field, M.F. Spiritual health of oncology patient. Nurse and patient perspectives. Cancer Nursing 1992;15:1-8.

6. วงรัตน์ ใสลุย. ความต้องการทางด้าน จิตวิญญาณ และการปฏิบัติเพิ่อตอบสนอง ความต้องการทางด้านจิตวิญญาณของญาติ ผู้ป่วยวิกฤต [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2544.

7. สมาพร โล่สวัสดิ์กุลและวณิชา พึ่งชมพู, ความต้องการของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดในระยะวิกฤต. พยาบาลสาร 2549:33:72-83.

8. Gaglione, K.M. Assessing and interventing with families of CCU patient. Nursing Clinics of North America 1984;19: 427-32.

9. อวยพร ตัณมุขยกุล. การตอบสนองด้านจิตวิญญาณโดยใช้กระบวนการพยาบาล. ใน: อรพินท์ วีระฉัตร บรรณาธิการ. การพยาบาลในมิติจิตวิญญาณ. 2534;36-47.

10. เสาวลักษณ์ มณีรักษ์. ประสบการณ์ของพยาบาลในการตอบสนองความต้องการด้านจิตวิญญาณของผู้ป่วยวิกฤต, [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณทิต] สาขาวิชาการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์, สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2545.

11. บุบผา ชอบใช้. การพยาบาลในนิติจิตวิญญาณ โดยใซ้กระบวนการพยาบาลเป็นหลัก. ขอนแก่น : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2546.

12. ทวี มีผลและคณะ. วัฒนธรรมพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดศรีสะเกษ. ศรีละเกษ : ศรีสะเกษการพิมพ์; 2542.

13. เนาวรัตน์ ทรัพยะโตษก. การพัฒนาคุณภาพ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในหออภิบาล ผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลศูนย์หาดโหญ่. วารสารวิขาการเขต 12 2550;18:1-11.

14. McBrie BR. A concept analysis of spirituality. British Journal of Nursing 2006;15:42-5.

15. พระไพศาล วิสาโล. เหนือความตาย จากวิกฤต สู่โอกาส. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนสามลดา; 2549.