การพัฒนารูปแบบงานบริการพยาบาลแบบสนับสนุนประคับประคอง เพื่อลดปวดระยะคลอดในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

พิกุล บัณฑิตพาณิชชา
สุภาวดี เหลืองขวัญ
เชษฐ์สุดา ไพรงาม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: พัฒนารูปแบบใหม่ของงานบริการพยาบาลแบบสนับสนุนประคับประคองเพื่อ เปรียบเทียบความพึงพอใจและอัตราการใช้ยาระงับปวดของผู้คลอดระยะ คลอด ในห้องคลอด โรงพยาบาลบุรีรัมย์
สถานที่ศึกษา: ห้องคลอด โรงพยาบาลบุรีรัมย์
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยพัฒนาเชิงทดลอง
วิธีการศึกษา: สร้างรูปแบบการพยาบาลที่สร้างขึ้นตามจากแนวคิดของการสนับสนุนทาง สังคมของคอลลิสเตอร์ และหลักการพยาบาลมารดาเพื่อลดปวดในระยะ คลอด เปรียบเทียบ ความพึงพอใจของผู้คลอด อัตราการใช้ยาระงับปวด ก่อนและหลังการใช้รูปแบบระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2548 ถึง 30 กันยายน 2550
ผลการศึกษา: คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้คลอดโดยรวมต่อพฤติกรรมพยาบาลแบบ สนับสนุนประคับประคองเพื่อลดปวดระยะคลอดก่อนการนำไปใช้3.90(2.50) เป็น 4.30(0.43) หลังการนำไปใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดย ด้านจิตใจและอารมณ์เฉลี่ย 3.90(0.28) และ 4.35(0.48) ก่อนและหลัง การนำไปใช้ตามลำดับ ด้านการให้ข้อมูลข่าวสาร 3.94(0.32), 4.24(0.45) ก่อนและหลังการนำไปใช้ตามลำดับ และด้านความสุขสบายและความ ปลอดภัย 3.84(0.32), 4.31(0.48) ก่อนและหลังการนำไปใช้ตามลำดับ อัตราการใช้ยาระงับปวดในระยะคลอดก่อนการนำไปใช้ร้อยละ 22.73 เป็น ร้อยละ 11.82 หลังการนำไปใช้
สรุป: รูปแบบใหม่ของการดำเนินงานบริการพยาบาลแบบสนับสนุนประคับประคอง เพื่อลดปวดระยะคลอดทำให้ผู้คลอดมีความพึงพอใจมากขึ้นและลดอัตรา การใช้ยาระงับปวดลงด้วย
คำสำคัญ: การพยาบาลแบบสนับสนุนประคับประคอง, ลดปวดระยะคลอด

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. ฉวี เบาทรวง, สุพิศ รุ่งเรืองศรี. ผลของการสัมผัสต่อการเผชิญความเจ็บปวดในระยะ คลอดและการรับรู้ประสบการณ์การคลอด. พยาบาลสาร 2537;21:19.

2. อุสาร์ ศุภรพันธ์. การพยาบาลมารดาเพื่อลดความเจ็บปวดในระยะคลอด. ขอนแก่น : โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2548:33 .

3. จริยาวัตร คมพยัคฆ์. แรงสนับสนุนทางสังคม : มโนทัศน์และการนำไปใช้. วารสารพยาบาลศาลตร์ 2531;6;99-100 .

4. Callister LC The role of the nurse in childbirth : Perceptions of the childbear- ing woman. Clinical Nurse Specialist, 1993;6:288-93.

5. Hodnett E, Osborn R. Effect of continuous intrapartum professional support on childbirth outcomes. Research in Nursing and Health 1989;12:289-97.

6. ฉวี เบาทรวง, สุพิศ รุ่งเรืองศรี. ผลของการ ลัมผัสต่อการเผชิญความเจ็บปวดในระยะ คลอดและการรับรู้ประลบการณ์การคลอด. พยาบาลสาร 2537 ; 21 : 18-25.
7. Clark AL, Affonso DD, Harris TR. Childbearing : A Nursing Perspective. Philadephia : F.A. Davis Co.; 1979:413-29.

8. Green JM, Coupland BA, Kitzinger JV. Expectations, experiences, and pyschological outcomes of childbirth : A prospective study of 825 woman. Birth 1990;17;15-24.

9. อุสาร์ ศุภรพันธ์. การพยาบาลมารดาเพื่อลดความเจ็บปวดในระยะคลอด. ขอนแก่น : โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา ; 2548:55.

10. ปิยฉัตร ปธาราษฎร์. ความต้องการการสนับสนุนในระยะคลอดของผู้คลอดและครอบครัว. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณทิต. ภาควิชาสาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว บัณทิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา; 2549:65-8.