ความชุกของโรคสมาธิสั้นโรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

ตวงพร สุรพงษ์พิวัฒนะ

บทคัดย่อ

เหตุผลของการวิจัย: โรคสมาธิสั้นหรือ Attention Deficit Hyperactivity Disorder (ADHD) จัดเป็นโรคในกลุ่ม Neurobehavioral Disorder ของเด็กที่พบบ่อยที่สุดใน เด็กวัยเรียน มีผลกระทบต่อเด็กทั้งในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ ปัญหาพฤติกรรม การศึกษาความชุกของโรคน่าจะช่วยให้ตระหนักถึงการ วินิจฉัยโรคได้เร็ว และมีการดูแลรักษาที่เหมาะสม
วัตถุประสงค์: เพื่อหาความชุกของโรคและศึกษาเปรียบเทียบระหว่าง เพศ อายุ และความถี่ในการมาพบแพทย์ ของผู้ป่วยในโรงพยาบาลสุรินทร์
วิธีการศึกษา: การศึกษาย้อนหลัง (Retrospective Descriptive Study) โดยศึกษาจากจาก บันทึกเวชระเบียนคลินิกของผู้ป่วยอายุ 1 ถึง 15 ปี ที่เข้ารับการตรวจรักษา ที่งานผู้ป่วยนอก ของโรงพยาบาลสุรินทร์ โดยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรค สมาธิสั้นตาม DSM IV และได้รับการซักประวัติของเด็กและครอบครัว ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ 1 มกราคม 2551 ถึง 31 ธันวาคม 2551 การ วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติศาสตร์โดยใช้ความถี่ และจำนวนร้อยละ
ผลการศึกษา: จำนวนผู้ป่วย 244 คน จากจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 31,919 คน ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่ มีอายุ 1 ถึง 15 ปี ที่เข้ารับบริการที่งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสุรินทร์ ได้ รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมาธิสั้น คิดเป็นความชุกร้อยละ 0.76 (95% CI 0.67- 0.86)ของผู้ป่วยที่มีอายุ 1 ถึง 15ปี และคิดเป็นความชุกร้อยละ 52.47ของ ผู้ป่วยที่มาตรวจรักษาในแผนกจิตเวชเด็กและวัยรุ่นทั้งหมด โดยมีอัตราส่วน เพศชายต่อเพศหญิงเท่ากับ 3.6:1 อายุผู้ป่วยที่พบมากที่สุดคือ อายุ 11 ปี อายุเฉลี่ยของผู้ป่วย คือ อายุ 10.23 ปี และความถี่เฉลี่ยในการมาพบแพทย์ คือ 3.22 ครั้งต่อปี
สรุป: ความชุกของโรคสมาธิสั้นในคลินิกจิตเวช พบเพียงร้อยละ 0.76 ส่วนใหญ่ มาพบแพทย์เพียงครั้งเดียว จึงควรหาวิธีการสร้างความตระหนักถึงโรค สมาธิสั้นเพิ่มขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยได้เร็วขึ้น และรับการ รักษาช่วยเหลือที่เหมาะสม
คำสำคัญ: โรคสมาธิสั้น, ความชุกของโรคสมาธิสั้น

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. American Academy of Child and Adolescent Psychiatry. Practices parameters for the assessment and treatment of children, adolescents, and adults with ADHD. J Am Acad Child Adolesc Psychiatry 1997;36(Suppl10):85s-121s

2. American Academy of Pediatrics. Clinical practice guideline: diagnosis and evaluation of the child with ADHD. Pediatrics 2000;105:1158-70.

3. Miller KJ, Castellanos FX. Attention deficit/hyperactivity disorders. Pediatr Rev 1998;46:831-43

4. Morgan AM. Diagnosis of ADHD in the office. Pediatr Clin North Am 1999;46:871-84.

5. Pliszka SR, Greenhill LL, Crismon ML, et al. The Texas childrens medication algorithm project: Report of the Texas consensus conference panel on medication treatment of childhood ADHD, part I. J Am Acad Child Adolesc Psychiatry 2000;39:908-19.

6. Pliszka SR, Greenhill LL, Crismon ML, et al. The Texas children's medication algorithm project: Report of the Texas consensus conference panel on medication treatment of childhood ADHD, part II: tactics. J Am Acad Child Adolesc Psychiatry 2000;39:920-7

7. Ackerman p, Dykman R, og lesby D. sex and group difference in reading and attention disordered children with and without hyper kinesis, J Learn disabil 1983;16:415

8. อสิสา วัชรสินธุ์. จิตเวชเด็ก. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ; 2546.

9. เบญจพร ปัญญายง, อสิสา วัชรสินธุ์. ปัญหาสุขภาพจิตของเด็กในกรุงเทพมหานคร : การศึกษาทางระบาดวิทยา. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข 2541; รายงานเลขที่ ISBN 974-291086-3.

10. วินัดดา ปิยะศิลป์, พนม เกตุมาน. Attention Deficit Hyperactivity Disorder. ตำราจิตเวชเด็กและ วัยรุ่นเล่ม 2, 2550:118-29.

11. อุมาพร ตรังคสมบัติ. สร้างสมาธิให้ลูกคุณ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชันต้าการพิมพ์; 2541.

12. ชาญวิทย์ พรนภดล. มารู้จักและช่วยเด็กสมาธิสั้นกันเถอะ. กรุงเทพฯ : แจนเช่น ชีแลก; 2546.

13. ธีรเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์. เพื่อความเข้าใจเด็กสมาธิสั้น/ซน สำหรับผู้ปกครองและครู. กรุงเทพฯ : แจนเช่น ชีแลก; 2548.

14. วินัดดา ปิยะศิลป์. คู่มือสำหรับพ่อแม่ ตอน เด็กสมาธิสั้น. กรุงเทพฯ : บริษัทโอสิสติก พับสิซชิ่ง จำกัด; 2537