การพยาบาลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกช็อก (กรณีศึกษา)
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเป็นมาของปัญหา: โรคไข้เลือดออกช็อก เป็นภาวะวิกฤตของผู้ป่วยเนื่องจาก มีผลทำให้ระบบการ ไหลเวียนเลือดล้มเหลว เกล็ดเลือดเสียหน้าที่การแข็งตัวของเลือดช้า เกิดการสูญเสียเลือดจำนวนมากได้ ซึ่งผู้ป่วยจะเสียชีวิต ซึ่งเกิดจากภาวะ ช็อกและเสียเลือดหลังจากไข้ลด การประเมินภาวะช็อกได้ตั้งแต่เริ่มต้น มีความสำคัญอย่างมาก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการดำเนินโรค ปัญหาสุขภาพ การรักษาพยาบาลและผลของการรักษาพยาบาลในรายกรณีนี้ นำผลการศึกษามาใช้ประกอบเป็นองค์ความรู้ ในการดูแลผู้ป่วยโรคนี้ในรายต่อไป
กรณีศึกษาและสถานที่: คัดเลือกจากประชากรเด็กป่วย แบบเจาะจง 1 ราย ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็น โรคไข้เลือดออกช็อก ที่รับการรักษาในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม อาคาร 10 ชั้น 2 โรงพยาบาลสุรินทร์
วิธีการศึกษา: เป็นวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาเป็นรายกรณีทำเก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลัง จากเอกสารเวชระเบียนผู้ป่วยใน ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม 2552-4 มิถุนายน 2552
ผลการศึกษา: เด็กหญิงไทย อายุ 10 ปี 2 เดือน มีอาการไข้ 4 วัน ไข้ลงคืนวันที่ 4 มีอาการ ช็อกในเช้าวันที่ 5 นับจากเริ่มไข้ ได้รับการแก้ไขภาวะช็อกจากโรงพยาบาล ชุมชนแล้วส่งต่อมาโรงพยาบาลสุรินทร์ ผู้ป่วยมีภาวะช็อกซ้ำในชั่วโมงที่ 10 นับจากเวลาช็อกครั้งแรก การรักษามีการปรับเปลี่ยนสารน้ำจาก Crystalloid เป็น colloidal solution ต่อมาอาการดีขึ้นและมีภาวะน้ำเกินแทรกซ้อน ปัญหาสุขภาพคือ ระบบการไหลเวียนโลหิตล้มเหลว เสี่ยงต่อการสูญเสียเลือด ร่างกายพร่องสารน้ำและอาหาร เสี่ยงต่อภาวะหัวใจและการหายใจล้มเหลว ได้รับการพยาบาลอย่างใกล้ชิด เพื่อแก้ไขภาวะช็อก ผู้ป่วยปลอดภัยจาก ช็อกและภาวะแทรกซ้อน
สรุป: การวางแผนการพยาบาลด้วยความรู้ความเข้าใจในลักษณะเฉพาะของโรค และการติดตามลังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ทำให้สามารถติดตามภาวะช็อก และแก้ไขได้ถูกต้องทันท่วงที
คำสำคัญ: การพยาบาล ไข้เลือดออกช็อก
Article Details
References
2. Parrillo JS, Parrillo VC. Pediatrics, Kawasaki Disease. Emedicine from web MD;2008. Available from: URLhttps://emedicine.medscape.com/article/804960-overview
3. วัชระ จามจุรีรักษ์. โรคคาวาซากิ. มูลนิธิโรคหัวใจเด็ก; 2549. Available from: URL:https:/ / www.doctordek.com/index.php7option=com_content&task=view&id =12 & Itemid-13
4. ปราณี ทู้ไพเราะ. คู่มือยา. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร : N P Press Limited Part- nership; 2550.
5. พรทิพย ตริบูรณ์พิพัฒนา. การพยาบาลเด็ก เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 5. นนทบุรี : ยุทธรินทร์การพิมพ์; 2550.
6. รุจา ภู่ไพบูลย์. แนวทางการวางแผนการพยาบาลเด็ก. กรุงเทพมหานคร : นิติบรรณาการ; 2541.
7. เพ็ญจันทร์ สุวรรณแสง โมไนยพงส์. คู่มือตรวจผู้ป่วยนอก. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ : วี.เจ. พริ้นติ้ง; 2550.
8. ดารุณี จงอุดมการณ์. ปวดในเด็ก: การพยาบาลแบบองค์รวมโดยยึดครอบครัวเป็น ศูนย์กลาง. ขอนแก่น : โรงพิมพ์ตศิริออฟเช็ท; 2546.
9. แสนดี ตันตะกูล. การศึกษาลักษณะทางคลินิกและผลต่อหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยโรคคาวาซากิ ที่ได้รับการรักษาด้วยอิมมูโนโกลบูลิน ก่อนวันที่ 5 ของการดำเนินโรค. The Royal College of Pediatricians of Thailand;2550. Available from:URL:https://www.thaipediatrics.org/detail_journal.php?journal_id=175
10. Moore E. IVIG Therapy. The genuine article.Literally;2006. Available from: URL:https://www. Suite101.com/blog/daisyelaine/ivig_therapy
11. สมจิต หนุเจริญกุล. การดูแลตนเอง: ศาสตร์และศิลปะทางการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร : วี.เจ. พริ้นติ้ง; 2544.
12. Wikipedia. โรคคาวาชากิ. The free encyclopedia; 2009. Available from: URLhttps://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82
13. Wong DL, Hess CS. Clinical manual of pediatric nursing. Philadelphia : Mosby; 2000.