ผลการจัดการผู้ป่วยรายกรณีต่อการกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วย โรคจิตเภท ที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน โรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

ชาญวิทย์ พนมเสริฐ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการจัดการดูแลผู้ป่วยรายกรณีต่อการกลับมารักษาซ้ำของ ผู้ป่วยโรคจิตเภทที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาลสุรินทร์
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental study) คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบเจาะจง (Purposive) ในผู้ป่วยโรคจิตเภทที่มีปัญหาซับซ้อน จำนวน 37 ราย ที่เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในหอผู้ป่วยจิตเวชโรงพยาบาลสุรินทร์ ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2550 ถึง วันที่ 30 กันยายน 2551 เป็นระยะเวลา 1 ปี นำเสนอในรูปจำนวน ร้อยละ และค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยจิตเภทในการศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อยู่ในช่วง อายุ 21-30 ปี ร้อยละ 48.6 และมี การศึกษาระดับประถมศึกษา ปีที่ 6 ร้อยละ 48.6 อาชีพ รับจ้าง ทำนา และทำงานบ้านร้อยละ 32.4, 29.7 และ 13.5 ตามลำดับ ผู้ป่วยส่วนใหญ่เข้ารับการรักษา เป็นครั้งแรก จำนวน 12 คน ร้อยละ 32.4 รองลงมาเป็นผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาเป็นครั้งที่ 3 จำนวน 6 คน ร้อยละ 2.7 ระยะเวลาการกลับมารักษาซ้ำ พบว่าในช่วงอายุ 21-30 ปี ร้อยละ 48.65 ผู้ป่วยกลับมารักษาซ้ำมากที่สุดจำนวนวันนอนที่ผู้ป่วยกลับมารักษาซ้ำส่วนใหญ่ ไม่เกิน 30 วัน ร้อยละ 78.38 ความพึงพอใจของญาติผู้ป่วยโดยรวมมีความ พึงพอใจอยู่ในระดับมาก (Mean = 4.72) และเมื่อพิจารณารายข้อมีความ พึงพอใจอยู่ในระดับน้อยเกี่ยวกับการระยะเวลานอนโรงพยาบาลนาน เนื่องจากญาติมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับโรคของผู้ป่วย และไม่พร้อมที่จะให้ ผู้ป่วยกลับบ้าน ต้องการได้รับการรักษาให้หายขาด ความคิดเห็นของทีมสห สาขาวิชาชีพต่อการจัดการดูแลผู้ป่วยรายกรณีในหอผู้ป่วย พบว่าโดยรวม อยู่ในระดับมาก (Mean = 4.54) และทีมสหสาขาวิชาชีพไม่คิดว่าการดูแล ผู้ป่วยรายกรณีเป็นการเพิ่มภาระต่อการทำงาน ระดับความคิดเห็นอยู่ใน ระดับน้อย (Mean = 1.55)
สรุป: การจัดการผู้ป่วยรายกรณีเป็นการเพิ่มประสิทธิผลการดูแลผู้ป่วยจิตเภท โดย มีผลลดการกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วยโรคจิตเภท และส่งผลให้ผู้ป่วยอยู่ใน ลังคมได้ตามศักยภาพ
คำสำคัญ: โรคจิตเภท, การดูแลผู้ป่วยรายกรณี

Article Details

บท
รายงานผู้ป่วย

References

1. Mahendran, R, Hendriks, M, Tellayan T, Maarof MS. Case Management in a Psychiatric Hospital: Review of Outcomes and Resource Utilisation. Hong Kong J Psychiatry ; 16:3-6.

2. จันทนา ศรีวิศาล, นพรัตน่ ไชยชำนิ. ผลของ การจัดการผู้ป่วยรายกรณีต่อจำนวนวันนอนใน โรงพยาบาล ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ความพึงพอใจต่อบริการของผู้ป่วยและญาติ และอัตราการป่วยซํ้าของผู้ปวยจิตเภท. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2548;19:(1)

3. มาโนซ หล่อตระกูล, ปราโมทย์ สุคนิซย์. จิตเวชศาลตรรามาธิบดี. พิมพ'ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บริษัท บียอนด เอ็นเทอร์ไพรซ จำกัด ; 2548.

4. ผการัตน์ ถาวรวงศ์ และคณะ. ผลของการจัดการรายกรณีต่อความร่วมมือในการรักษา ด้วยยา และการกลับมารักษาชํ้าของผู้ป่วยจิตเภทโรงพยาบาลสวนปรุง. การประขุม วิชาการสุขภาพจิตนานาขาติ, ครั้งที่ 4, เรื่อง สุขภาพจิตกับภัยพิบัติ. 6-8 กรกฎาคม 2548 ; ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ. กรุงเทพฯ : ม.ป.พ. ; 2548:139-40.

5. สมภพ เรืองตระกูล และคณะ. ตำราจิตเวชศาสตร์.กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์เรือนแก้ว ; 2542

6. สมภพ เรืองตระกูล และคณะ. ตำราจิตเวชศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เรือนแก้ว; 2545

7. รักสุดา กิจอรุณชัย และฉันทนา บุญคล้าย. การประเมินผลการ'ฝิกทักษะและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังโนโครงการ สร้างเสริมทักษะชีวิตคนพิการทางจิตใน ชุมชนทดลอง. วารสารสุขภาพจิตแห่ง ประเทศไทย ; 2549:14(2):124-33.

8. มนัสวี ศรีโท. การจัดการดูแลผู้ป่วยจิตเภทรายกรณีในหอผู้ป่วยจิตเวชหญิงโรงพยาบาลจิตเวชนครพนมราชนครินทร์. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณทิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น ; 2549.

9. พรทิพย์ วซิรดิลก. การแก้ทักษะการให้คำปรึกษารายบุคคลตามแนวคิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางปัญญาร่วมกับการสร้างแรงจูงใจต่อความร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วยจิตเภท. รายงานการศึกษาอิสระ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น ; 2549.

10. Maneesakorn S, Robson D, Gournay K, Gray R. An RCT of adherence therapy for people with schizophrenia in Chiang Mai, Thailand. Journal of Clinical Nursing 2007:16:1302-12.

11. ยุทธนา องอาจสกุลมั่น. การทำจิตบำบัดแบบ Cognitive behavior therapy ในผู้ป่วยโรคจิตเภท :รายงานผู้ป่วย4 ราย. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2008;13(2),114-23.

12. มานิต ศรีสุรภานนท์, จำลอง ดิษยวณิช. ตำราจิตเวชศาสตร์. คณะแพทยคาสตร หาวิทยาลัยเชียงใหม่ ; 2542.

13. เยาวลักษณ์ มีบุญมาก. การจัดการผู้ป่วยรายกรณี. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย; 2547;12(1)50-5.

14. Meijel BV, Kruitwagen C. Gaag M van der. Kahn RS. &Grypdonck,M.H.F. Recognition of early warning signs in patients with schizophrenia : A review of The literature. Journal of Nursing Scholarship ; 2004:24-39.

15. Meijel, B van., Kruitwagen, C.,Gaag, M van der., Kahn, R.S & Grypdonck, M.H.F. An intervention Study to Prevent Relapse in Patients With Schizophrenia. Journal of Nursing Schollarship. First Quarter; 2006;38(1):42-9