การใช้การแพทย์ทางเลือกของผู้ป่วยที่มารับการรักษา ที่แผนกอายุรกรรมในจังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

วุฒิกนก วังโน

บทคัดย่อ

ความเป็นมาของปัญหา: กระแสตื่นตัวในการดูแลด้วยสุขภาพทางเลือกมีมากขึ้นทั้งนี้อาจเนื่องจากการแสวงหา หรือผู้ใกล้ชิดแนะนำ การแพทย์ทางเลือกหมายถึงใช้การรักษาด้วยวิธีอื่นๆ ที่ไม่ใช่วิธีการรักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบัน ประชาชนในจังหวัดสุรินทร์มีการใช้การแพทย์ทางเลือกมานานและปัจจุบันได้ศึกษาประโยชน์ของการแพทย์ทางเลือกมากขึ้น
วัตถุประสงค์: ศึกษาชนิดของการแพทย์ทางเลือก สาเหตุ ผลที่ได้รับ เพื่อวางแผนและเผยแพร่ ความรู้ให้ถูกต้องกับผู้ป่วยต่อไป
สถานที่: ผู้ป่วยแผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลในจังหวัดสุรินทร์
รูปแบบการวิจัย: วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ
ประชากร: ประชากรคือผู้ป่วยอายุรกรรมที่เข้ารับการรักษาโรคทางอายุรกรรมในโรงพยาบาลในจังหวัดสุรินทร์ และมีประสบการณ์การใช้การแพทย์ทางเลือก โดยมีอายุตั้งแต่ 15 ปี ขึ้นไป ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 1,090 ราย เลือกแบบเจาะจงคุณสมบัติ เก็บข้อมูลใน โรงพยาบาลศูนย์สุรินทร์ 250 ราย โรงพยาบาลชุมชนโรงพยาบาลละ 70 ราย
วิธีการวิจัย: เครื่องมือคือแบบสัมภาษณ์ 1 ฉบับ ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป ประสบการณ์การใช้ การแพทย์ทางเลือก เหตุผล ผลที่ได้รับ ตรวจสอบคุณภาพเชิงเนื้อหาแบบ สัมภาษณ์โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลทั่วไปและชนิดของการแพทย์ทางเลือกที่ใช้ ใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ สรุปที่ได้จากคำถาม ปลายเปิดเกี่ยวกับเหตุผลที่เลือกใช้ ผลที่ได้รับโดยการอธิบายเนื้อหา ค่าใช้จ่ายนำเสนอเป็นค่า ต่ำสุด สูงสุด
ผลการศึกษา: ลักษณะทั่วไปพบเพศหญิงมากที่สุดร้อยละ 56.2 ช่วงอายุ 31-40 ปี มากที่สุด ร้อยละ 26 สถานภาพสมรสคู่พบมากที่สุดร้อยละ 72 การศึกษาประถมศึกษาพบ มากที่สุดคือ ร้อยละ 81.25 ศาสนาพุทธพบร้อยละ 100 บัตรทอง ท พบมาก ที่สุดร้อยละ 55 รายได้ที่พบมากที่สุดช่วง 0-5,000 บาท/เดือนพบร้อยละ 69 โรคประจำตัวที่พบมากที่สุดคือปวดกระดูกและข้อ ชนิดการแพทย์ทางเลือกที่ผู้ป่วยอายุรกรรมเลือกใช้พบว่า ผู้ป่วยเลือกใช้สมุนไพรเป็นอันดับแรก พบร้อยละ 24.2 รองลงมาคือจับเส้น บีบนวด พบร้อยละ 16.9 รองลงมาคือ บนบานสิ่งศักดิ์สิทธิพบร้อยละ 12 ลำดับต่อมาคือสวดมนต์ พบร้อยละ 11 พระภิกษุพบร้อยละ 9.6 สมาธิ พบร้อยละ6 รับประทานวิตามิน พบร้อยละ 5.6 พิธีกรรม เช่น บังมด รำผีฟ้า พบร้อยละ 5.2 รับประทานอาหารเสริมพบร้อยละ 4.7
สรุป: ควรมีการรณรงค์ให้ความรู้เรื่องยาสมุนไพรที่ถูกต้องต่อไป

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย. สุขภาพทางเลือก: ศาสตร์เพื่อเสริมการดูแลตนเอง. พยาบาลสงขลานครินทร์, 2543.20(2).169-174.

2. Gevitz, N. Three perspectives on unorthodox medicine. In Gevitz, N. ed. Other healers: Unorthordox medicine in America. Baltimore: John Hopkin University. 1988.

3. ทวีเดช เจียรนัยขจร, จิราภา ปัณทวางกูร และ วิษณุ ธรรมลิขิตกุล. การใช้การ แพทย์ทางเลือกของ ผู้ป่วยภาควิชา อายุรศาสตร์โรงพยาบาลสิริราช. สารสิริราช, 2545. 54(10):603-610.

4. เสาวภา พรสิริพงษ์, เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, พรทิพย์ อุศุภรัตน์ และ มุทิตา เสียรวัฒน์ชัย. (บรรณาธิการ). สถานภาพและทิศทางการ วิจัยการแพทย์แผนไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสังเคราะห์ทหารผ่านศึก. 2539.

5. บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2545.

6. รุ่งระวี เต็มสิริฤกษ์และอาทร ริ้วพิบูลย์. วิธีเตรียมยาสมุนไพร. ใน: สมุนไพรยาไทยที่ควรรู้. รุ่งระวี เต็มสิริฤกษ์กุล และคณะ. (บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ : อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่งจำกัด. 2542.

7. Ernst, E. Prevalence of use of complementary / alternative medicine : a systemic review. Bulletin of world health organization, 2000.78(2):252-257.

8. ลือชัย ศรีเงินยวงและ ปรีชา อุปโยสิน. ลักษณะของระบบการแพทย์ในภาคกลางและการเปลี่ยนแปลง. ใน ทวีทอง หงส์วิวัฒน์, เพ็ญจันทร์ ประดับมุขและ จริยา สุทธิสุคนธ์. (บรรณาธิการ). พฤติกรรมสุขภาพ. ศูนย์ประสานงานทางการแพทย์และสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงสาธารณสุข. 2533.

9. ขนิษฐา นาคะ. วิถีชีวิตและการดูแลตนเอง ของผู้สูงอายุในหมู่บ้านชนบทแห่งหนึ่งในภาคใต้. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2542.

10. Cassileth, B.R. Commplementary therapies: overview and state of art. Cancer Nursing, 1999. 22(1):85-90.

11. สรจักร สิริบริรักษ์. พลังมหัศจรรย์ในอาหาร. กรุงเทพมหานคร : อัมรินทร์บุ๊คเซนเตอร์, 2542.

12. Hifield, M.F. Spiritual health of oncology patients: nurse and patients prespectives, Cancer Nursing, 1992. 15(1):1-8.

13. วิทิต วัณนาวิบูลและสุรเกียติ อาชานุภาพ. ทฤษฎีแพทย์จีน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : หมอชาวบ้าน, 2541.

14. Nowotony, M.L. Assessment of hope in patients with cancer: Development of an instrument. Oncology Nursing Forum, 1989. 16(1):57-61.

15. Herth, K.A. The relationship between level of hope and level of coping response and other variables in patients with cancer. Oncology Nursing Forum, 1989. 16(1):67-72.