ผลการใช้แนวทางการรักษาผู้ป่วยหอบหืดในโรงพยาบาลหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ ปี 2547-2548
Main Article Content
บทคัดย่อ
เหตุผลในการศึกษา: โรคหอบหืด เป็นโรคที่เป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขมีจำนวนผู้ป่วยที่มารับบริการด้วยเรื่องภาวะหอบฉุกเฉิน รุนแรง หรือบางรายถึงขั้นภาวะหายใจล้มเหลวมีมากขึ้นเรื่อย ๆ จากการที่ผู้ศึกษารับผิดชอบงานด้านอายุรกรรม จึงสนใจที่จะศึกษาด้านประสิทธิผลของการใช้“แนวทางการรักษาผู้ป่วยหอบหืด” โดยเปรียบเทียบอัตราการเกิดโรคหอบหืดกำเริบเฉียบพลัน อัตราการเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล จำนวนวันที่นอนรักษาในโรงพยาบาลและอัตราการเกิดภาวะหายใจล้มเหลว
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการรักษาผู้ป่วยหอบหืด ก่อนและหลังใช้ แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคหอบหืด
สถานที่ทำการศึกษา: โรงพยาบาลหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์
รูปแบบการวิจัย: เป็นการศึกษาเปรียบเทียบย้อนหลังโดยรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยผู้ใหญ่ทุกคนที่ได้รับ การวินิจฉัยว่าเป็นโรคหอบหืด และมาติดตามการรักษาต่อเนื่อง ตั้งแต่มิถุนายน 2547 - พฤษภาคม 2548 ก่อน และหลังใช้แนวทางการรักษาผู้ป่วยหอบหืด
ตัวชี้วัด: อัตราการเกิดโรคหอบหืดเฉียบพลัน, อัตราการเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล, อัตราการเกิดภาวะหายใจล้มเหลวจากหอบหืด
ผลการวิจัย: พบว่าหลังจากใช้แนวทางการรักษาโรคหอบหืด ในผู้ป่วย 66 ราย มารักษาที่ห้องฉุกเฉินด้วยเรื่องหอบหืดเฉียบพลันลดลงจาก 52 ราย (79%) รวม 182 ครั้ง เป็น 18 ราย (27%) รวม 125 ครั้ง (P < 0.001) ลดการเข้านอนพักรักษา ในโรงพยาบาลจาก 27 ราย (41%) รวม 32 ครั้ง เป็น19 ราย (29 %) รวม 32 ครั้ง (P = 0.186) ลดเฉลี่ยวันที่นอนในโรงพยาบาลจาก 5.84 วัน เป็น 2.18 วัน (P < 0.001) ลดการเกิดระบบหายใจล้มเหลวจากโรคหอบหืด จาก 2 ราย (3%) เป็น 0 ราย(0%) (P=0.5)
สรุป: หลังจากใช้แนวทางการรักษาโรคหอบหืด ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหอบหืดโรงพยาบาลหนองกี่ดีขึ้น ลดอัตราอาการหอบหืดเฉียบพลันและลดจำนวนวันที่นอนพักรักษาในโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญ ช่วยลดอัตราการนอนพักรักษาที่โรงพยาบาลและลดอัตราการเกิดภาวะหายใจล้มเหลว
คำสำคัญ: หอบหืด หืด แนวทางการรักษา
Article Details
References
2. National Institutes of Health, National Heart, Lung, and Blood Institute. Practical Guide for the Diagnosis and Management of Asthma. 1997;97:2-34.
3. สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย. แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืดในประเทศไทย สำหรับผู้ป่วยผู้ใหญ่ พ.ศ. 2547. กรุงเทพฯ : ม.ป.พ., 2547.
4. วีระพงษ์ จันจงเจริญชัย. Acute Asthmatic Attack in Children.ใน: สุทธชาติ พืชผล, บรรณาธิการ. เวชศาสตร์ฉุกเฉิน. กรุงเทพฯ : นำอักษรการพิมพ์, 2542.120-36.
5. Parameswaran K, Belda J Rowe BH. Addition of intravenous aminophylline to beta2-agonists in adults with acute asthma [serial online] 2003 [cited 2005 July 30];(3). Available from : URL : https://www.thaichest.org/nuke/modules,php?name=News&file=article&sid=30.