ผลการเปรียบเทียบการใช้แกนอ้างอิงในโพรงกระดูก ชนิดแกนสั้นและแกนยาวตัดกระดูกต้นขาส่วนปลาย ในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแม่นยำระหว่างเครื่องมือตัดกระดูกต้นขาส่วนปลายซึ่งมีแกนเทียบเคียงจากภายในโพรงกระดูกระหว่างชนิดสั้นและชนิดยาว (short andlong intramedullary distal femoral cutting guide)
รูปแบบการวิจัย: Case controlled trial study
สถานที่ศึกษา: กลุ่มงานศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลสุรินทร์
กลุ่มเป้าหมาย: ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคกระดูกข้อเข่าเสื่อม จำนวน 18 ราย
วิธีการศึกษา: ทำการศึกษาในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยการเปลี่ยนข้อเข่าเทียมซึ่งผ่าตัดด้วยแพทย์ท่านเดียวกัน ชนิดข้อเข่าเทียมเหมือนกัน(Nexgen, Zimmer, Wasaw IN)และเทคนิคเคียวกัน(external rotate 3 degree, valgus 5 degree, knee flexion 30 degree) แกนเทียบเคียงภายนอกจะถูกติดตั้งเข้ากันกับเครื่องมือ ตัดกระดูกต้นขาส่วนปลายซึ่งมีแกนเทียบเคียงจากภายในโพรงกระดูกทั้งชนิดสั้น (10ซม.) และชนิดยาว (22ซม.)ตามลำดับ เครื่องฉายเอ็กซเรย์จะถูกวางสูง จากสะโพก 100ซม. ระยะทางซึ่งเป็นระยะห่างของแกนภายนอก กับจุดศูนย์กลางหัวกระดูกต้นขาบนภาพถ่ายรังสีจะถูกวัดเพื่อวิเคราะห์ผล
ผลการศึกษา: ระยะห่างระหว่างแกนเทียบเคียงภายนอกกับจุดศูนย์กลางหัวกระดูกต้นขาจะถูกวัดเป็นมิลลิเมตร, มีค่าเป็นลบ (-) ถ้าแกนเทียบเคียงภายนอกอยู่ด้านในต่อ จุดศูนย์กลางหัวกระดูกต้นขาและมีค่าเป็นบวก (+) ถ้าแกนเทียบเคียงภายนอก อยู่ด้านนอกต่อจุดศูนย์กลางหัวกระดูกต้นขา ค่าเฉลี่ยของแกนเทียบเคียงจาก ภายในโพรงกระดูกทั้งชนิดสั้นเป็น9.89+29.38มม. และแกนเทียบเคียงจากภายใน โพรงกระดูกทั้งชนิดยาวเป็น 4.17+23.48มม. ; Wilcoxon singed rankstest, 95% Cl.
สรุป: ในการศึกษานี้เปรียบเทียบความแม่นยำระหว่างเครื่องมือตัดกระดูกต้นขาส่วนปลายซึ่งมีแกนเทียบเคียงจากภายในโพรงกระดูกทั้งชนิดสั้น (10ซม.)และชนิดยาว (22ซม.) ผลจากการศึกษาไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างการใช้เครื่องมือทั้งสองชนิด ดังนั้นเราสามารถใช้เครื่องมือทั้งสองชนิดนี้ได้เหมือนกันในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม.
Article Details
References
2. Siegel JL, Shall LM. Femoral instrumentation using the anterosuperior iliac spine as a landmark in total knee arthroplasty.An anatomic study. J Arthroplasty. 1991 Dec;6(4):317-20
3. Otani T, Whiteside LA, White SE. Cutting errors in preparation of femoral components in total knee arthroplasty. J Arthroplasty. 1993 Oct;8(5):503-10.
4.Teter KE, Bregman D, Colwell CW. Accuracy of intramedullary versus extramedullarytibial alignment cutting systems in total knee arthroplasty. Clin Orthop. 1995 Dec;(321):106-10.
5. Reed SC, Gollish J. The accuracy of femoral intramedullary guides in total knee arthroplasty. J Arthroplasty. 1997 Sep;12(6):677-82.
6. Yau WP, Ng TP, Chiu KY. Unusual complication associated with femoral intramedullary alignment guide in total knee arthroplasty. J Arthroplasty. 2001 Feb;16(2):247-9.
7. Novotny J, Gonzalez MH, Amirouche FM, Li YC. Geometric analysis of potential error in using femoral intramedullary guides in total knee arthroplasty. J Arthroplasty. 2001 Aug;16(5):641-7.
8. Laskin RS. Instrumentation pitfalls: you just can’t go on autopilot!.J Arthroplasty. 2003 Apr; 18(3 Suppl 1):18-22.
9. Nelson CL, Saleh KJ, Kassim RA, Windsor R, Haas S, Laskin R, Sculco T. Total knee arthroplasty after varus osteotomy of the distal part of the femur. J Bone Joint Surg Am. 2003 Jun;85-A(6):062-5.
10. Kenneth ET, Davis Bregman, Clifford WC. The efficacy of intramedullary femoral alignment in total knee replacement. Clin Orthop. 1995 Dec;(321):117-21.