ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรคซิลิโคสิส ของคนงานโรงโม่หิน อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
เหตุผลการวิจัย: โรคซิลิโคสิสเป็นโรคจากการประกอบอาชีพซึ่งเกิดขึ้นกับคนงานที่ทำงานใน อุตสาหกรรมประเภท
โม่บด หรือย่อยหิน คนงานหากมีการปฏิบัติไม่ถูกต้องหรือขาด ความระมัดระวังแล้วอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพได้เป็นอย่างมาก
วัตถุประสงค์: 1) ศึกษาการรับรู้ตามความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคซิลิโคสิสของคนงานใน โรงโม่หิน
2) ศึกษาพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรคซิลิโคสิสของคนงานในโรงโม่หิน
3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมในการป้องกัน โรคซิลิโคสิสของคนงานโรงโม่หิน
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ(Survey Research) คัดเสือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะ เจาะจง (Purposive Sampling) ได้จำนวน 6 โรงงาน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ คนงานโรงโม่หิน จำนวน 166 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีสัมภาษณ์ตามแบบ สัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติในการวิจัย ประกอบด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติของ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันโดยใช้การทดสอบแบบที
ผลการศึกษา: ผลการศึกษาด้านการรับรู้ตามความเชื่อด้านสุขภาพ พบว่าพนักงานโรงโม่หิน ส่วนใหญ่มีการรับรู้ตามความเชื่อด้านสุขภาพ ทั้ง 3 ด้าน คือ การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อ การเกิดโรค การรับรู้ประโยชน์และอุปสรรคของการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค และ การรับรู้ความรุนแรงของโรค อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 70.48, 66.27 และ 64.46 ตามลำดับ) และมีพฤติกรรมสุขภาพโนการป้องกันโรคซิสิโคสิสอยู่ในระดับ ปานกลาง (ร้อยละ 75.90) ผลการศึกษาสหสัมพันธ์ พบว่าปัจจัยที่มีสหสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมสุขภาพ ในการป้องกันโรค คือ ลักษณะงาน (r = 0.273, P < 0.01) และเมื่อทำการ เปรียบเทียบระดับพฤติกรรมสุขภาพโดยจำแนกตามลักษณะงาน พบว่ากลุ่ม ตัวอย่างที่มีลักษณะงานที่สัมผัสฝุ่นโดยตรงและสัมผัสฝุ่นโดยอ้อม มีพฤติกรรม สุขภาพโนการป้องกันโรคชิลิโคสิส แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P = 0.000 < 0.01) ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่เคยมีและไม่เคยมีประสบการณ์ที่บุคคลใน ครอบครัวป่วยด้วยโรคซิลิโคสิสมีพฤติกรรมสุขภาพโนการป้องกันโรคแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.049 < 0.05)
สรุป: โรคชิลิโคสิสเป็นโรคจากการประกอบอาชีพที่ยังไม่มีวิธีการรักษา มีเพียงแต่วิธี ป้องกัน ตังนั้นบุคลากรสาธารณสุขจึงควรสร้างองค์ความรู้ให้กับคนงานที่ประกอบ อาชีพประเภทโม่ บด ย่อยหิน ให้มีความตระหนักถึงพิษภัยของโรค เพื่อที่จะได้ ป้องกันตนเองให้ห่างจากโรคชิลิโคสิสได้
คำสำคัญ: ซิลิโคสิส, ความเชื่อด้านสุขภาพ, พฤติกรรมในการป้องกันโรคซิลิโคสิส
Article Details
References
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5. ภาวะซิสิโคสิส ในผู้ประกอบอาชีพแกะสลักหินในเขตอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา [ออนไลน์] เข้าถึง ได้จาก: https://www.medicthai.com/disease_detail.php?id=2381. สืบค้นวันที่ 8 ตุลาคม 2551.
กฤตยา ศักดิ์อมรสงวน และอรรณุวัฒน์ วัฒนวรรณ. แนวทางการพัฒนาการประกอบการโรงโม่หิน. กลุ่มวิศวกรรมและความปลอดภัย สำนักเหมีองแร่และสัมปทาน. กรมอุตสาหกรรม พื้นฐานและการเหมีองแร่. 2548:12-4.
Rosenstock, TM. (1974). Historical Origins of The Health Belief Model. Health Education Monographs: 328-35.
ประภาเพ็ญ สุวรรณ. พฤติกรรมศาสตร์ พฤติกรรมสุขภาพ และสุขศึกษา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. 2532:89-0
สุเชษฐ์ มีไมตรีจิตต์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของกรรมการบริหารองค์การบริหาร ส่วนตำบล : ศึกษาเฉพาะ กรณีอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2540 : 47.
Becker, MH. And Maiman, LA. (1974). The health Belief Model: Origine and Correlates in Psychological Theory. Healh Education Monographs:336-85.