ผลทางพยาธิวิทยาของการขูดมดลูกแบบแยกส่วน ในโรงพยาบาลสตึก จังหวัดบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: ภาวะเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูกเป็นปัญหาที่พบในสตรีอายุ 35 ปีขึ้นไป และ พบว่าเป็นสาเหตุสำคัญของมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก การวินิจฉัยที่ถูกต้องแม่นยำ คือการตรวจตัวอย่างชิ้นเนื้อของเยื่อบุโพรงมดลูก โดยทำการขูดมดลูกแบบแยกส่วน จึงได้ทำการศึกษากลุ่มอายุ ข้อบ่งชี้และผลทางพยาธิวิทยาของการขูดมดลูกแบบ แยกส่วนเพื่อให้ทราบถึงจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก และมะเร็งนรีเวชอื่น ๆ และสามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนางาน วิจัยอื่น ๆ ต่อไป
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษากลุ่มอายุผู้ป่วย ข้อบ่งชี้และผลทางพยาธิวิทยาของการขูดมดลูกแบบ แยกส่วน (fractional curettage) ในโรงพยาบาลสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ปีงบประมาณ 2551-2552
รูปแบบการวิจัย: การศึกษาแบบย้อนหลังเชิงพรรณนา
สถานศึกษา: กลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลสตึก จังหวัดบุรีรัมย์
กลุ่มตัวอย่าง: รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยที่เข้ารับการขูดมดลูกแบบแยกส่วน (fractional curettage) ที่โรงพยาบาลสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 184 ราย ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2550 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2552 นำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่เข้ารับการขูดมดลูกแบบแยกส่วนส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ41-50 ปีร้อยละ 45.1 ข้อบ่งชี้ที่พบมากที่สุด คือ metrorrhagia ร้อยละ 25 รองลงมา คือ menorrhagia ร้อยละ 19.6 และ metromenorrhagia พบร้อยละ 13 ผลทาง พยาธิวิทยาของเยื่อบุปากมดลูกด้านในที่พบมากที่สุด คือ ได้ชิ้นเนื้อไม่เพียงพอ ต่อการวินิจฉัย ร้อยละ 35.3 ส่วนมะเร็งปากมดลูกพบ 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.6 ผลทางพยาธิวิทยาของเยื่อบุโพรงมดลูกที่พบมากที่สุด คือ proliferative endometrium พบร้อยละ 34.2 ส่วน endometrial hyperplasia without atypia พบร้อยละ 6 และ endometrial cancer พบร้อยละ 2.7
สรุป: ผู้ป่วยที่เข้ารับการขูดมดลูกแบบแยกส่วน ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 41-50 ปี ซึ่งเป็นช่วงอายุที่มีปัญหาภาวะเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูกในวัยหมดประจำเดือน โดยพบอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกถึงร้อยละ 23.5 และ การขูดมดลูกแบบแยกส่วนเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยในการวินิจฉัยค้นหาอุบัติการณ์ การเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกและมะเร็งนรีเวชอื่น ๆ
คำสำคัญ: การขูดมดลูกแบบแยกส่วน, ข้อบ่งชี้
Article Details
References
Witoonpanich P. Anormal uterine bleeding. In: Paosawad S, Reanprayoon D, editors. Gynecology. Bangkok: P.A; living CO., LTD.;1991:45-69.
Linasmita V, Banglangpoh S. Endometrial carcinoma. In: Linasmita V, Srisupandit S, editors. Gynecologic Oncology. Bangkok: P.B. Foreign Books;1999:484-526.
ณัฐพงส์ อิศรางกูร ณ อยุธยา. มะเร็งนรีเวช. ใน : เสวก วีระเกียรติ, สฤกพรรณ วิไลลักษณ์, บรรณาธิการ. ตำรานรีเวชวิทยา ฉบับเรียบเรียง ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บริษัท บียอนด์เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด;2548:211-38.
มณี รัตนไชยานนท์. ภาวะเลือดออกผิดปกติ จากโพรงมดลูก. ใน : มณี รัตนไชยานนท์, บรรณาธิการ. ภาวะผิดปกติที่สัมพันธ์กับการ มีระดู. กรุงเทพฯ: บริษัท พี เอ ลิฟวิ่ง จำกัด; 2550:115-62.
ปิยวิทย์ เนกขพัฒน์. ผลทางพยาธิวิทยาของการ ขุดมดลูกแบบแยกส่วนที่โรงพยาบาลห้วยยอด. วารสารวิชาการเขต 12. ตุลาคม-ธันวาคม 2549; 4:45-9.
Moghal N. Diagnostic value of endometrial curettage in abnormal uterine bleeding a histopathological study. J Pak Med Assoc 1997;47(12):295-9.
สมชัย นิรุตติศาสน์ ข้อควรพิจารณาเพื่อได้รับ ประโยชน์สูงสุดทางคลินิกเกี่ยวกับผลพยาธิ วิทยาของเยื่อบุโพรงมดลูก. ใน : สมชาย ธนวัฒนาเจริญ, ศักนัน มะโนทัย, บรรณาธิการ. OB & GYN Update & Practical II. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2544: 159-60.
Philip JDisaia, Willium T.Creasman editors, Clinical Gynecologic Oncology 6th edition. Missouri: Mosby;2002:53-111.
Gredmark T, Kvint S, Havel G, Mattsson LA. Histopathological finding in women with postmenopausal bleeding. Br J Obstet Gynecol 1995;102(2):133-6.
Escoffery CT, Blake GO, Sargeant LA. Histopathological finding in women with postmenopausal bleeding in Jamaica. West Indian Med J 2002;51(4): 232-5.
Kochli OR, Schar GN, Bajka M, Pok Lundquist J, Nussbaumer R, Keller PJ, et al. Analysis of indication and result of fractional curettage in a large gynecological cohort. Schweiz Med Wochenschr 1996; 126(3):69-76.
Kuman RJ, Kaminski PF, Norris HJ. The behavior of endometrial hyperplasia. A long term study of Untreated hyperplasia in 170 patients. Cancer 1985;56:403-12.
Radivojevic K Riss P. The value of curettage in the assessment of abnormal uterine bleeding. Geburtshife Frauenheikd 1990; 50(8):619-22.