การเปรียบเทียบผลของการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะฟื้นฟูสภาพและการดูแลต่อเนื่องที่บ้านระหว่างกลุ่มที่ให้การพยาบาลแบบผสมผสานและการพยาบาลตามปกติ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
Main Article Content
บทคัดย่อ
เหตุผลของการวิจัย: การเจ็บป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองเป็นปัญหาที่สำคัญทางด้านสาธารณสุข เนื่องจากเป็นสาเหตุการตายและความพิการเป็นอันดับ 3 ของเอเชีย และพบว่า ใน 15 จังหวัด ในประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วยกรุงเทพมหานครด้วยนั้น โรคของระบบไหลเวียนเลือดเป็นสาเหตุการตายเป็นอันดับหนึ่ง สาเหตุหลักเกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง (ร้อยละ 9.5) ในปัจจุบันการพยาบาลแบบผสมผสานการแพทย์แผนไทยเป็นงานการแพทย์ทางเลือกที่เหมาะในการที่จะเลือกรักษาฟื้นฟูบำบัด ร่างกายให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีอาการอัมพฤกษ์ อัมพาตให้มีสุขภาพที่ดีขึ้นได้อีกทางหนึ่ง
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลลัพธ์ของการให้การพยาบาลแบบผสมผสานและการพยาบาลตามปกติของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะฟื้นฟูสภาพและการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี
สถานที่ศึกษา: โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงทดลอง
วิธีการศึกษา: ศึกษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยเปรมสุขและหอผู้ป่วยประสาทวิทยา โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 80 ราย โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง (ได้รับการพยาบาลแบบผสมผสาน) 40 ราย และกลุ่ม ควบคุม (ได้รับการพยาบาลตามปกติ) 40 ราย ตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2552 ถึง 31 ธันวาคม 2552
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 51-60 ปี (ร้อยละ 15.0 ของ ผู้ป่วยทั้งหมด) ในกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลแบบผสมผสาน และอายุเฉลี่ย 71-80 ปี (ร้อยละ 20.0 ของผู้ป่วยทั้งหมด) ในกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติมีวุฒิการศึกษาระดับประถมศึกษาเป็นส่วนใหญ่ (ทั้งสองกลุ่ม) รายได้ต่อเดือนส่วนใหญ่ อยู่ระหว่าง 5,000-10,000 บาท (ในกลุ่มทดลอง) และน้อยกว่า 5,000 บาท (ในกลุ่ม ควบคุม) การใช้สิทธิการรักษาพยาบาลส่วนใหญ่ใช้สิทธิข้าราชการในกลุ่มทดลอง และใช้สิทธิบัตรทองในกลุ่มควบคุม ผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วย พบว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลแบบผสมผสานมีความแตกต่างโดยมีค่าเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)
สรุป: ควรนำแนวทางการพยาบาลแบบผสมผสานไปประยุกต์ใช้ในการพยาบาลผู้ป่วย ที่มีความบกพร่องด้านหน้าที่ร่างกายจากการเจ็บป่วยอื่นๆ เพื่อสามารถฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ฟื้นฟูสภาพ การพยาบาลแบบผสมผสาน การพยาบาล ตามปกติ
Article Details
References
Poungvarin N. Stoke in the developing world. The Lancet 1998; 352: S19-22.
กระทรวงสาธารณสุข ลำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. สถิติสาธารณสุข. วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ; 2549.
Prendpe M Ferretti C, Casini AR, Santini M, Giubilei F. Culasso F. Stroke, Disability, and Dementia: Results of a Population Survey. Stroke. 28(3):531-6
Donnan GA, Fisher M, Macleod M, Davis SM. Stroke. Lancet. 2008 ;10:371(9624): 1612-23.
โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร. สถิติสาธารณสุข. โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ถนนปราจีนอนุสรณ์ ปราจีนบุรี.
เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ. การแพทย์แผนไทย การแพทย์แบบองค์รวม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ; 2539.
ดารณี อ่อนชมจันทร์. การนวดพื้นบ้านไทย. กรุงเทพฯ : ลำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การ สงเคราะห์ทหารผ่านศึก ; 2548
นิพนธ์ พวงวรินทร์. โรคหลอดเลือดสมอง. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์ ; 2534.
เสาวลักษณ์ เนตรชัง. การศึกษาอิทธิพลของ ความเครียดในบทบาทผู้ดูแล ความวิตกกังวล จากการดูแลและปัจจัยด้านผู้ดูแลต่อภาวะ สุขภาพของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต] สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่. บัณฑิตวิทยาลัย ; กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล ; 2545.
จารึก ธานีรัตน์. ผลของการวางแผนจำหน่ายต่อความสามารถของผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต] สาขาการพยาบาล ผู้ใหญ่ ; กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ ; 2545.
เจียมจิต แสงสุวรรณ. โรคหลอดเลือดสมอง การวินิจฉัยและการจัดการทางการพยาบาล. ขอนแก่น : โรงพิมพ์ศิริภัณฑ์ออฟเซ็ต ; 2535.
กิ่งแก้ว ปาจารีย์. การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมอง. กรุงเทพฯ : บริษัท แอล.ที. เพลส. จำกัด ; 2547.
ทรงพร พุฒจีบ. ผลของโปรแกรมการป้องกัน อาการปวดไหล่ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่มีภาวะอัมพาตครึ่งซีก [วิทยานิพนธ์ปริญญา พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต] สาขาการพยาบาล ผู้ใหญ่ ; กรุงเทพมหานคร : วิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหิดล : 2552.
เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ. ทฤษฎีการนวดไทย ความหมายของเส้น จุด และโรค. กรุงเทพฯ : สถาบันการแพทย์แผนไทย กระทรวงสาธารณสุข ; 2540.
พะยอม สุวรรณ. ผลของการประคบร้อนด้วย สมุนไพรต่ออาการปวดข้อ ข้อฝืด และความ ยากลำบากในการทำกิจกรรมในผู้ป่วยโรคข้อ เข่าเสื่อม. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต] สาขาวิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ และศัลยศาสตร์ ; บัณฑิตวิทยาลัย ; กรุงเทพ มหานคร : มหาวิทยาลัยมหิดล; 2543.
ทิพย์สุดา ลาภภักดี. โปรแกรมการให้ความรู้ และการนวดด้วยน้ำมันหอมระเหยเพื่อลดปวด ในผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่าง [วิทยานิพนธ์ปริญญา พยาบาลศาลตรมหาบัณฑิต] สาขาการพยาบาล เวชปฏิบัติชุมชน ; บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ; 2551.
อรพรรณ วิญญวรรธน. กิจกรรมบำบัด. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเตียนสโตร์ ; 2530.