ความวิตกกังวลของผู้ป่วยก่อนการระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัด ของโรงพยาบาลศูนย์สุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

ผ่องศรี สันตพงศ์

บทคัดย่อ

เหตุผลของการวิจัย: การให้ยาระงับความรู้สึกและการผ่าตัดมีผลทำให้ผู้ป่วยเกิดความวิตกกังวล รู้สึก ไม่สุขสบาย กลัวการให้ยาระงับความรู้สึก กลัวไม่ตื่น กลัวสมองพิการ กลัวความเจ็บปวด และยังวิตกกังวลเกี่ยวกับการทำงาน ครอบครัว และปัญหาทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะส่งผลต่อร่างกายและจิตใจทำให้มีการหลั่งสารแคททีโคลามีนเพิ่มขึ้น เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา อาจทำให้เกิดปัญหาและภาวะแทรกซ้อนต่อการ ให้ยาระงับความรู้สึก ระยะผ่าตัด และหลังผ่าตัดได้ ดังนั้นการศึกษาความวิตกกังวลของผู้ป่วยก่อนการระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดจะเป็นข้อมูลให้บุคลากรวิสัญญี ได้นำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยและช่วยลดความวิตกกังวลให้ผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความวิตกกังวลของผู้ป่วยก่อนการระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดจำแนกตามปัจจัยต่าง ๆ
สถานที่ศึกษา: โรงพยาบาลสุรินทร์
รูปแบบการศึกษา: การวิจัยเชิงพรรณนา
วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ ผู้ป่วยที่มารอรับการผ่าตัดและต้องรับการระงับความรู้สึกกรณีไม่ฉุกเฉินในโรงพยาบาลสุรินทร์ ASA physical status 1-2 อายุ 15 ปีขึ้นไป แผนกศัลยกรรมทั่วไป ศัลยกรรมกระดูกและข้อ สูติ-นรีเวชกรรม ศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน 2551 ทำการรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา
ผลการศึกษา: ทำการศึกษาผู้ป่วยทั้งหมด 100 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 41 ปี ASA physical status 1-2 สถานภาพสมรส รายได้น้อยกว่า 5,000 บาท อาชีพรับจ้าง สิทธิการรักษาบัตรทอง การศึกษาสูงสุดประถมศึกษา ตำแหน่งที่ผ่าตัดภายใน ช่องท้องและมดลูก ประสบการณ์เกี่ยวกับการผ่าตัดและการได้รับยาระงับความรู้สึกส่วนใหญ่ไม่เคยมีและได้รับการเยี่ยมก่อนการผ่าตัดและรับยาระงับความรู้สึก ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความวิตกกังวลระดับปานกลาง
สรุป: กลุ่มตัวอย่างมีความวิตกกังวลอยู่ในระดับปานกลาง เปรียบเทียบความวิตกกังวล ก่อนการระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดในกลุ่มประชากรที่มีอาชีพและการศึกษาต่างกัน มีความวิตกกังวลแตกต่างกัน ส่วนตัวแปรอื่น ๆ ในกลุ่มประชากรที่ศึกษา พบว่า ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
คำสำคัญ: ความวิตกกังวล, ความวิตกกังวลก่อนผ่าตัด, ความวิตกกังวลของผู้ป่วย

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

สมรัตน์ จารุลักษณานันท์. การให้ยาระงับความรู้สึกเพื่อคุณภาพและความปลอดภัย. สมุทรสาคร ; โรงพิมพ์วันเพรสโปรดักชั่น ; 2548.

มณฑา ลิ้มทองกุล. ความวิตกกังวลและความรู้สึกไม่แน่นอนและวิธีการเผชิญปัญหาขณะรอฟังผลการตรวจชิ้นเนื้อในผู้ป่วยที่มีก้อน บริเวณเต้านม. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย; กรุงเทพฯ ; มหาวิทยาลัย มหิดล ; 2535.

ขนิษฐา นาคะ, ประสบสุข อินทร์รักษา. ความเครียดและการเผชิญความเครียดของผู้ป่วยผู้ใหญ่ในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. วารสาร พยาบาลสงขลานครินทร์ ; 2536 :13(2),14-24.

ชัชชัย ปรีชาไว และคณะ, บรรณาธิการ. Anesthesia ะ Quality, Safety and New concepts Management. สงขลา : ชานเมือง การพิมพ์; 2549.

ช่อลดา พันธุเสนา, บรรณาธิการ. การพยาบาล จิตสังคมในผู้ป่วยภาวะวิกฤติตามแบบแผน สุขภาพ. สงขลา : อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊ป จำกัด ; 2536.

ดารัสนี โพธารส. การพยาบาลผู้ป่วยในห้อง พักฟื้น. กรุงเทพฯ : บริษัท พี.เพรส จำกัด ; 2546.

กนกนุช ชื่นเลิศ. ประสบการณ์ชีวิตของสตรี ไทยที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านม. [วิทยานิพนธ์ ปริญญาพยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ; 2541.

วราภรณ์ กุประดิษฐ์. ความวิตกกังวลและความต้องการข้อมูลในผู้ป่วยก่อนผ่าตัด โรงพยาบาล หนองคาย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ; บัณฑิตวิทยาลัย ; กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ; 2544.

ปวีณา บุญบูรพงศ์ และคณะ. วิสัญญีวิทยาขั้นต้น. ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ; 2550.

โฉมชบา สิรินันท์ และคณะ. การประเมินความ วิตกกังวลก่อนได้ยาระงับความรู้สึกโดยการใช้ แบบสอบถาม HADS เปรียบเทียบกับ APAIS. วิสัญญีสาร 2543 ; 26(3):155-61.

ปราโมทย์ สุคณิชย์ และมาโนช หล่อตระกูล. โรควิตกกังวล. กรุงเทพฯ ; เอส.ซี.พริ้นท์ ; 2540.

Walding MF. Pain, Anxiety and Powerlessness. Journal of Advance Nursing 1991 ; 16 (4):394-397.

จำลอง ดิษยวณิช, ละพริ้มเพรา ดิษยวณิช. ความเครียดความวิตกกังวลและสุขภาพ. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์แสงศิลป์; 2545.

อุบลรัตน์ ดีพร้อม. ผลของการสร้างจินตภาพต่อความวิตกกังวลของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ก่อนผ่าตัด โรงพยาบาลสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์. ชลบุรี : กระทรวง (2546, 12-15 สิงหาคม). รายงานการวิจัยจากการประชุมวิชาการ กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดชลบุรี, 193.

ปาริชาติ มาลัย. ผลของการเยี่ยมผู้ป่วยก่อน ผ่าตัดของพยาบาลประจำห้องผ่าตัดโรงพยาบาล สรรพสิทธิประสงค์. อุบลราชธานี : กลุ่มการพยาบาล ; 2539.

วรรณา สมบูรณ์วิบูลย์ และคณะ, บรรณาธิการ. วิสัญญีวิทยาพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : บริษัท เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด; 2543.

ฐิติมา ชินโชติ และคณะ, บรรณาธิการ. วิสัญญีวิทยาระดับพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : บริษัท พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด ; 2541.

ละมัย อมรินทร์, มาลี แน่นหนา. ความวิตกกังวล และความต้องการข้อมูลในผู้ป่วยนรีเวชกรรม ก่อนผ่าตัด โรงพยาลชลบุรี จังหวัดชลบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลชลบุรี. 2535;5:2; 70-72.