กระดูกต้นขาหักในเด็ก : ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะแทรกซ้อน ในระยะต้นและระยะยาว ในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ปี พ.ศ. 2547-2550

Main Article Content

ภูวดล กิตติว้ฒนาสาร
พัชรี ยิ้มรัตนบวร

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: กระดูกต้นขาหัก เป็นอาการบาดเจ็บที่พบบ่อยในเด็กในคลินิกศัลยกรรมกระดูก การเลือกวิธีการรักษาขึ้นอยู่กับอาการบาดเจ็บร่วม ลักษณะการหักของกระดูก อายุ ปัจจัยทางด้านสังคมและเศรษฐศาสตร์
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะแทรกช้อนในเด็กที่มีกระดูกต้นขาหัก
สถานทื่: โรงพยาบาลบุรีรัมย์
วิธีวิจัย: วิจัยย้อนหลัง แบบพรรณนา
วัสดุและวิธีการ: ทบทวนแฟ้มประวัติผู้ป่วยเด็กกระดูกต้นขาหักที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ บันทึกข้อมูลทั่วไป ได้แก่ อายุ เพศ สาเหตุของอุบัติเหตุ การรักษาที่ได้รับ ระยะเวลานอนโรงพยาบาล ภาวะแทรกช้อน ระยะต้นระยะยาว อัตราการตาย
ผลการศึกษา: ศึกษาแฟ้มประวัติผู้ป่วยใน 218 ราย ก่อนให้การรักษา 212 ราย โดยการใส่แอก (Hip spica) 134 ราย (ร้อยละ 63.21) ในกลุ่มที่รักษาโดยใส่เฝือก ไม่พบภาวะแทรกช้อนรุนแรงน้อยระยะต้น (Acute minor complication) แต่พบร้อยละ 1.4 ในกลุ่มที่รักษาด้วยการผ่าตัด ส่วนภาวะแทรกช้อนรุนแรงมากในระยะต้น (Acute major complication) นั้น พบเป็นร้อยละ 11 และร้อยละ 18.7 ในกลุ่มรักษา โดยใช้เฝือกและผ่าตัดตามลำดับ ภาวะแทรกช้อนในระยะยาวในกลุ่มที่รักษาด้วย วิธีใส่เฝือกและวิธีผ่าตัดนั้นไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ พบร้อยละ 16.4 และ 6.2 ตามลำดับ ระยะเวลานอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 2.54 วัน และ 6.20 วัน ในกลุ่มที่รักษาด้วยวิธีใส่เฝือกและวิธีผ่าตัด แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p < 0.05) พบภาวะแทรกช้อนความยาวขาไม่เท่ากัน (> 2 cm) ร้อยละ 7.84 ที่รักษาด้วยวิธีใส่เแอก
สรุป: อัตราการเกิดภาวะแทรกช้อนหลังการรักษาผู้ป่วยกระดูกต้นขาหักในเด็กของ โรงพยาบาลบุรีรัมย์พบในระยะแรก ร้อยละ 16.98 และระยะหลัง ร้อยละ 15.76 โดยไม่เกี่ยวข้องกับปัจจัยด้านอายุ เพศ หรือสาเหตุของอุบัติเหตุ การรักษาด้วย วิธีใส่เฝือกผู้ป่วยนอนโรงพยาบาลน้อยกว่า แต่อย่างไรก็ตามพบความยาวขาไม่เท่ากันสูงกว่าวิธีผ่าตัดยึดกระดูก

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Hunter JB. Femoral shaft fractures in children. Injury 2005;36 (Suppl1):A 86-93.

2. Anglen JO, Choi L. Treatment options in pediatric femoral shaft fractures. J Orthop Trauma 2005;19(10):724-33.

3. Esenyel CZ, Ozturk K, Adanir O, Aksoy B, Esenyel M, Kara AN. Skin traction in hip spica casting for femoral fractures in children. J Orthop Sci 2007;12(4):327-33.

4. Flynn JM, Schwend RM. Management of pediatric femoral shaft fractures. J Am Acad Orthop Surg 2004;12(5):347-59.

5. Maier M, Maier-Heidkamp P, Lehnert M, Wirbel R, Marzi I. Results of femoral shaft fractures in childhood in relation to different treatment modalities. Unfallchirurg 2003;106(1):48-54.

6. Schonk JW. Comparative follow-up study of conservative and surgical treatment of femoral shaft fractures in children. Arch Chir Neerl 1978;30(4):231-8.

7. Beaty JH. Operative treatment of femoral shaft fractures in children and adolescents. Clin Orthop Relat Res 2005;434:114-22
.
8. Poolman RW, Kocher MS, Bhandari M. Pediatric femoral fractures : a systematic review of 2422 cases. J Orthop Trauma 2006;20(9):648-54.

9. Leet AI, Pichard CP, Ain MC. Surgical treatment of femoral fractures in obese children : dose excessive body weight increase the rate of complications? J Bone Joint Surg Am 2005;87(12):2609-13.

10. Feld C, Gotzen L, Hannich T. Pediatric femoral shaft fracture in the 6-14 year age group. A retrospective therapy comparison between conservative treatment, plate osteosynthesis and external stabilization. Unfallchirurg 1993;96(3):169-74.

11. Wilson NC, Stott NS. Paediatric femoral fractures : factors influencing length of stay and readmission rate. Injury 200;38(8):931-6.

12. Widjaja AB, Eng K, Griffiths J. Complications of internal fixation in paediatric fractures. ANZ J Surg. 2007;77(10):873-6.