โรคมะเร็งขององคชาต ผลการรักษาผู้ป่วยที่ไม่พบก้อนโตของต่อมน้ำเหลืองขาหนีบและการนำไปใช้ในการวางแผนการรักษาในโรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

ธนิต สุขผ่องศรี

บทคัดย่อ

เหตุผลของการวิจัย: ในผู้ป่วยมะเร็งองคชาตการผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองขาหนีบในผู้ป่วยที่ไม่พบก้อนโตของต่อมนํ้าเหลืองขาหนีบอาจมีบางส่วนที่มีการแพร่กระจายแล้ว แต่ยังตรวจไม่พบก้อน ช่วยให้อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยสูงขึ้น แต่อาจพบภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดโดยไม่จำเป็นเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีรายงานการพบการแพร่กระจายของมะเร็งสู่ต่อมน้ำเหลืองขาหนีบเพียงประมาณ 20% เท่านั้น การผ่าตัด เลาะเอาต่อมนํ้าเหลืองขาหนีบอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนโดยไม่จำเป็นในผู้ป่วย อีก 80% การเฝ้าติดตามการเกิดต่อมน้ำเหลืองขาหนีบโตขึ้นภายหลังการผ่าตัด มะเร็งองคชาตและทำผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองขาหนีบออกจะช่วยลดการผ่าตัด และภาวะแทรกซ้อนที่ไม่จำเป็นลงได้มาก
วัตถุประสงค์ของการศึกษา: เพื่อศึกษาผลของการรักษาผู้ป่วยมะเร็งองคชาตที่ต่อมน้ำเหลืองขาหนีบ ไม่โตด้วยการเฝ้าติดตามในโรงพยาบาลสุรินทร์และการนำผลการรักษาไปใช้ต่อเนื่อง
ผู้ป่วยและวิธีการ: ระหว่างปี พ.ศ. 2545 ถึงปี พ.ศ. 2549 การศึกษาข้อมูลผู้ป่วยมะเร็งองคชาตที่ ต่อมน้ำเหลืองไม่โต ระยะ Tis ถึง T3 จำนวน 32 ราย ที่ได้รับการรักษาด้วย การเฝ้าติดตามต่อมน้ำเหลืองขาหนีบภายหลังได้รับการผ่าตัดมะเร็งที่องคชาตออก
ผลการศึกษา: ในจำนวนผู้ป่วย 32 ราย ที่ต่อมน้ำเหลืองขาหนีบไม่โต พบว่าผู้ป่วย 21 ราย
(65.6%) สามารถติดตามผลการรักษาได้ไม่พบว่ามีการแพร่กระจายสู่ต่อมน้ำเหลือง ขาหนีบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไปจนถึง 69 เดือน มีผู้ป่วยที่ไม่มาตามนัดและไม่ทราบผล 10 ราย (31.3%) มีผู้ป่วย 1 ราย ที่พบการแพร่กระจายสู่ต่อมน้ำเหลือง ขาหนีบ 2 ข้าง ใน 3 เดือน และได้รับการผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลือง แต่ผู้ป่วย เสียชีวิตจากโรคโดยมีชีวิตอยู่ได้ 17 เดือน
สรุป: การเฝ้าติดตามการแพร่กระจายของมะเร็งองคชาตสู่ต่อมน้ำเหลืองขาหนีบยังเป็นปัญหาที่ไม่สามารถติดตามได้ครบถ้วนและตามระยะเวลา ซึ่งต้องมีการติดตาม อย่างเป็นระบบและให้การศึกษาแก่ป่วยให้เห็นความสำคัญของการตรวจต่อม น้ำเหลืองขาหนีบด้วยตนเอง เพื่อมารับการรักษาได้รวดเร็วและทันท่วงที แม้ว่า ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยจะไม่สามารถทราบได้ว่ามีการแพร่กระจายของ มะเร็งสู่ต่อมน้ำเหลืองขาหนีบหรือไม่แต่สามารถคาดได้ว่าผู้ป่วยน่าจะไม่มีต่อมน้ำเหลืองโต เพราะหากผู้ป่วยมีความผิดปกติของต่อมน้ำเหลืองขาหนีบคงต้อง มาพบแพทย์เพื่อการรักษา ดังนั้นการรักษาผู้ป่วยมะเร็งองคชาตที่ต่อมน้ำเหลือง ขาหนีบไม่โตด้วยการเฝ้าติดตามยังเป็นวิธีการรักษาทีได้ผลดี

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Burgers JK, Badalamet RA, Drago JR. Penile cancer : clinical presentation, diagnosis and staging. Urol Clin North Am 1992:19:251-6

2. Hascih K, Ravi R. The role of tobacco in penile carcinoma. Br J Urol 1995;75: 375-7

3. Bissada NK, Yakout HH, Fahmy WE, et al. Multi-institutional long-term experience with conservative surgery for invasive penile carcinoma. J Urol 2003;169:1138-42

4. McDougal WS, Kirshner FK Jr, Edwards RH, Killion LT. Treatment of carcinoma of the penis : the case for primary lymphadenectomy. J Urol 1986;136:38-41

5. Ornellas AA, Seixas AL, Marota A, Wisnescky A, Campos F, de Moraes JR. Surgical treatment of invasive squamous cell carcinoma of the penis : retrospective analysis of 350 cases. J Urol 1994;151:1244-9

6. Beggs JH, Spratt JS. Epidermoid carcinoma of the penis. J Urol 1961;91:166-72

7. Hanash KA, Furlow WL, Utz DC, Harrison EG. Carcinoma of the penis : a clinicopathological study. J Urol 1970;104:291-7

8. Dekernion JB, Tynbery P, Persky L, Fegen JP. Carcinoma of the penis. Cancer 1973;32:1256-62

9. S. Horenblas. Lymphadenectomy for squamous cell carcinoma of the penis. Part 2 : The role and technique of lymph node dissection. BJU International 2001;88:473-83

10. C.F. Heyns, Van Vollenhoven, J.W. Steenkamp, F.J. Allen, D.J.J. Van Velden. Carcinoma of the penis-appraisal of modified tumour-staging system. B J Urology 1997;80:307-12

11. Department of Provincial Administration, Ministry of Interior, Government of Thailand.

12. Horenblas S, Van Tinteren HV. Squamous cell carcinoma of the penis. IV. Prognostic factors of survival : analysis of tumor, nodes and metastasis classification system. J Urol 1994;151:1239-43.