การใช้ห่วงไฟฟ้าตัดปากมดลูกในคนไข้ที่มีผลการตรวจทางเซลวิทยาของปากมดลูก เป็นแบบมะเร็งระยะก่อนลุกลามขั้นสูง หลังการตรวจปากมดลูก ด้วยกล้องส่องขยายทางช่องคลอดในโรงพยาบาลบุรีรัมย์

Main Article Content

สุรศักดิ์ แสงทักษิณ

บทคัดย่อ

บทนำ: มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในสตรี การวินิจฉัยและรักษาทำได้โดย การตรวจทางเซลวิทยาของปากมดลูก, กล้องส่องขยาย, ใช้ห่วงไฟฟ้าตัดปากมดลูก
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการวินิจฉัยและรักษาในคนไข้ที่มี ผลการตรวจทางเชลวิทยาของ ปากมดลูกเป็นแบบมะเร็งระยะก่อนลุกลามขั้นสูง โดยใช้ห่วงไฟฟ้าตัดปากมดลูก โดยไม่ต้องตัดชิ้นเนื้อที่ปากมดลูกตรวจในขณะที่ตรวจด้วยกล้องส่องขยาย
วิธีการศึกษา: ได้ทำการศึกษารวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนทางการแพทย์ของคนไข้ที่เข้ารับ การตรวจและรักษาที่โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ที่มีผลการตรวจทางเซลวิทยาของ ปากมดลูกเป็นแบบมะเร็งระยะก่อนลุกลามขั้นสูง ในช่วงเวลา 3 ปี โดยพิจารณา สรุปผลการตรวจทางพยาธิวิทยาชิ้นเนื้อของปากมดลูกจากการใช้ห่วงไฟฟ้าตัด ปากมดลูก
ผลการศึกษา: คนไข้ที่เข้าศึกษา 52 คน พบว่าคนไข้ที่มีผลการตรวจทางพยาธิวิทยาของชิ้นเนื้อ ปากมดลูกเป็นมะเร็งแบบระยะก่อนลุกลามขั้นสูง 44 คน (ร้อยละ 84) เป็น มะเร็งระยะลุกลาม 5 คน (ร้อยละ 9) เป็นมะเร็งระยะก่อนลุกลามขั้นต่ำ 5 คน (ร้อยละ 9) จากผลการศึกษาพบว่าคนไข้ที่มีผลการตรวจทางเซลวิทยา เป็น มะเร็งระยะก่อนลุกลามขั้นสูง มีความเข้ากันได้สูงที่จะมีผลการตรวจชิ้นเนื้อทาง พยาธิวิทยาเป็นมะเร็งก่อนลุกลามขั้นสูง
สรุป: คนไข้ทีมีผลการตรวจทางเซลวิทยาจากปากมดลูก เป็นแบบมะเร็งระยะก่อน ลุกลามขั้นสูง สามารถทำการตรวจและรักษาโดยใช้ห่วงไฟฟ้าตัดปากมดลูกได้เลย หลังการตรวจด้วยกล้องส่องขยายทางช่องคลอดเท่านั้น โดยไม่ต้องตัดชิ้นเนื้อส่ง ตรวจขณะที่ตรวจด้วยกล้องส่องขยาย ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีอีกวิธีหนึ่ง โดยเฉพาะ ในโรงพยาบาลต่างจังหวัดทีขาดแคลนบุคลากรที่เชี่ยวชาญทางด้านกล้องส่อง ขยายทางช่องคลอด

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Kantathavorn N, Phongnarisorn C, Srisomboon J, et al. Northern Thai women with High Grade Squamous Intraepithelial Lesion on Cervical Cytology Have High Prevalence of Underlying Invasive Carcinoma. Asian Pacific Jurnal of Cancer Prevention 2006;17:477-9.

2. Addis IB, Hatch KD, Berek JS. Intraepithelial Disease of the Cervis, Vagina, and Vulva. In : Berek JS, editor. Gynecology. 14th ed. Phildelphia : Lippincot Williams & Wilkins 2007:561-99.

3. Berdichevoky L, Karmin R, Chuang L. Treatment of high-grade squamous intraepithelial lesion : A 2 - versus 3 - step approach. Am J Obstet Gynecol 2004;190:1424-6.

4. Kjellberg L, Tavelin B. "See and treat" regime by LEEP conisation is a safe and time saving procedure among women with cytological high - grade squamous intraepithelial lesion. Acta Obstetricia et Gynecologica 2007;86:1140-4.

5. Darwish A, Gadallah H. One - step management of cervical lesions. International Journal of Gynecology & Obstetrics 1998;61:261-7.

6. Sadan O, Yarden H, Schejter E, et al. Treatment of high - grade squamous intraepithelial lesion : A "see and treat" versus a three - step approach. European Journal of Obstetrics & Gynecology and Reproductive Biology 2007;131:73-5.

7. Jones HW. Cervical cancer Precursors and Their Management. In : Rock JA, Jones HW, editor. Te Linde's Operative Gynecology. 9th ed. Philadelphia : Lippincot Willuams * Wilkins 2003:1362-8.

8. Kietpeerakool C, Srisomboon J, Khunamornpong S, et al. How Can the Overtreatment Rate of "See and treat" Approach be Reduced in women with High - grade Squamous Intraepithelial Lesion on Cervical Cytology. Asian Pacific J Cancer Prev 2007;8:206-8.

9. Charvenkwan K, Srisomboon J, Siriaunkgul S, et al. A "See and treat" Approach for High - grade Squamous Intraepithelial Lesion on Cervical Cytology. J Med ASSOC Thai 2004;87(8):865-7.

10. Szurkus DC, Harrison TA. Loop excision for high-grade squamous intraepithelial lesion on Cytology. : Correlation with colposcopic and histologic findings. Am J Obstet Gynecol 2003;188(5):1180-3.