ประสบการณ์การรักษาโรคฝีในม้าม ที่โรงพยาบาลบุรีรัมย์ (พ.ศ. 2547-2550)

Main Article Content

ทรงศักดิ์ มยุระสาคร

บทคัดย่อ

บทนำ: ฝีในม้ามเป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อย แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษาจะพบอัตราการตาย สูง เป็นโรคซึ่งอาการไม่ชัดเจน ไม่มีอาการแสดงเฉพาะ และอาการค่อยเป็นค่อยไป โดยพบว่ามี ความแตกต่าง ตามพึ้นที่ของชนิดของ เชื้อที่เป็นสาเหตุ โรคที่พบร่วม วิธีการรักษา รวมไปถึงผลการรักษาด้วย
วัตถุประสงค์: เพี่อศึกษาถึงอาการ อาการแสดง การวินิจฉัย โรคที่พบร่วม วิธีการรักษา รวมทั้งการติดตามผลการรักษาผู้ป่วยโรคฝีในม้ามในโรงพยาบาลบุรีรัมย์
รูปแบบงานวิจัย: การศึกษาแบบย้อนหลังเชิงพรรณนา (Descriptive Retrospective study)
วิธีการศึกษา: ทบทวนแฟ้มประวัติผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคฝีในม้าม ที่รับไว้รักษาใน โรงพยาบาลบุรีรัมย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547 - 30 มิถุนายน 2550 บันทึก ข้อมูลเกี่ยวกับอายุ เพศ อาการ อาการแสดง โรคเดิมที่ผู้ป่วยเป็นอยู่หรือสภาวะ ที่พบร่วม เชื้อที่พบ ระยะเวลานอนโรงพยาบาล วิธีการรักษา และผลการรักษา
ผลการรักษา: มีผู้ป่วยในการศึกษาทั้งสิ้น 49 ราย เพศชาย 37 ราย (ร้อยละ 75.5) อายุเฉลี่ย 44.52 ± 13.51 ปี โรคร่วมที่พบมากที่สุด คือ ธาลัสซีเมีย 19 ราย (ร้อยละ 38.8) เบาหวาน 18 ราย (ร้อยละ 36.7) ฝีในตับ 6 ราย (ร้อยละ 12.2) อาการที่นำมา ได้แก่ ไข้สูงทุกราย (ร้อยละ 100) ปวดท้อง 23 ราย (ร้อยละ 46.9) ตรวจพบ อาการกดเจ็บช่องท้องด้านซ้ายบน 18 ราย (ร้อยละ 36.7) ม้ามโต 8 ราย (ร้อยละ 16.3) ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการพบเม็ดเลือดขาวสูงกว่า 10X109/L 28 ราย (ร้อยละ 57.1) ผลการเพาะเชื้อจากเลือดและหนองขึ้นเชื้อ เบอร์คโฮลเดอเรีย ชูโดมาลลืโอ จำนวน 9 ราย (ร้อยละ 18.4) ผู้ป่วยทุกรายได้รับการ วินิจฉัยด้วยอัลตร้าชาว์ดช่องท้อง ผู้ป่วยได้รับการรักษาทางอายุรกรรมด้วยการ ให้ยาปฏิชีวนะที่ครอบคลุมเชื้อเบอร์คโฮลเดอเรีย ชูโดมาลลีโอ 44 ราย (ร้อยละ 89.8) และได้รับการผ่าตัดร่วมกับการให้ยาปฏิชีวนะ 5 ราย (ร้อยละ 10.2%) ระยะเวลานอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 18.53 ± 12.19 วัน ผู้ป่วยเสียชีวิต 1 ราย (ร้อยละ 2.1) เป็นผู้ป่วยโรคเอดส์ และมีภาวะติดเชื้อในโรงพยาบาล ผู้ป่วยดีขึ้น 48 ราย (ร้อยละ 97.9)
สรุป: อัลตร้าซาวด์ช่องท้องมีความจำเป็นในการวินิจฉัยโรคฝีในม้าม ผู้ป่วยที่วินิจฉัยโรคฝีในม้ามถ้าพบลักษณะหลายฝี) (multiple abscess) อยู่ในพื้นที่ที่เป็นแหล่งโรค เมลิออยโดซิส โดยเฉพาะที่มีโรคร่วมที่ทำให้ภูมิต้านทานต่ำ ควรได้รับยาปฏิชีวนะ (empirical antimicrobial) ที่ครอบคลุมเชื้อเบอร์คโฮลเดอเรีย ชูโดมาลลืไอ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Nelken N, Ignatius J, Skinner M, et al. Changing chinical spectrum of splenic abscess : a multicenter study and review of the literature. Am J Surg 1987;154:27-34.

2. Chang KC, et al. Clinical characteristics and prognostic factors of splenic abscess : A review of 67 cases in a single medical center of Taiwan. World J Gastroenterol 2006;12(3):460-4.

3. Sarr MG, Zuidema GD. Splenic abscess : presentation, diagnosis, and treatment. Surgery 1982;92:480-5.

4. Chulay JD, Lankerani MR. Splenic abscess : report of 10 cases and review of the literature. Am J Med 1976;61:513-22.

5. Lin CY, Chen TC, Lu PL, Lin WR, and Chen YH. Melioidosis Presenting with solated splenic abscesses : a case report. Kaohsiung J Med Sci 2007;23:417-21.

6. Lee CH, Leu HS, Hu TH, Liu JW. Splenic abscess in southern taiwan. J Microbilo Immunol Infect 2004;37:39-44.
7. Sangchan A, Mootsikapun P, Mairiang P. Splenic abscess : clinical features, microbiologic finding, treatment and outcome. J Med Assoc Thai 2003;86:436-41.

8. Tung CC, Chen FC, Lo CJ. Splenic Abscess : An Easily Overlooked Disease?. Themerican Surgeon; Apr 2006;72,4;322-5.

9. Lee CH, Leu HS, Hu TH, et al. Splenic abscess in southern Taiwan. J Microbiol Immunol Infect 2004 ; 37 : 39-44.
10. White NJ. Melioidosis. Lancet 2003;361:1715-22.

11. Cheng AC, Currie BJ. Melioidosis : epidemiology, pathophysiology, and management. Clin Microbiol Rev. 2005;18:383-416.

12. Johnson JD, Raff MJ, Barnwell PA, et al. Splenic abscess complicating infectious endocarditis. Arch Intern Med 1983;143:906-12.

13. Wibulpolprasert B, Dhiensiri T. Visceral organ abscess in melioidosis: Sonographic finding, J Clinical Ultrasound 1999;27:29-34.

14. Thummakul T, wilde H, Tantawichien T. Melioidosis, an environmental and occupational hazard in Thailand. Mil Med 1999;164:658-62.

15. Leerarasamee A, Trakulsomboon S, Kasum M, Dejsirilert S. Isolation rates of Burkholderia pseudomallei among the four regions in Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health 1997;28:107-13.

16. Vuddhakul V, Tharavichitkul P, Na-Ngam N, et al. Epidemiology of Burkholderia pseudomallei in Thailand. Am J Trop Med Hyg 1999;60:458-60.

17. Dance DAB, Davis TME, Wattanagoon Y, et al Acute suppurative parotitis caused by Pseudomonas pseudomallei in children. J Infect Dis 1989,159:654-60.

18. Woods ML 2nd, Currie BJ, Howard DM, et al. Neurological meliodosis : seven cases from the Nothem Territory of Australia Clin Infect Dis 1992;15:163-69.

19. Ramsay SC, Labrooy J, Norton R, Webb B. Demonstration of different patterns of musculoskeletal, soft tissue and visceral involvement in melioidosis using 99 m Tc stannous colloid white cell scanning. Nucl Med Commun 2001;22:1193-99.

20. Chou YH, Tiu CM, Chiou HJ, et al. Ultrasound-guided interventional procedures in splenic abscesses. Eur J Radiol 1998;28:167-70.

21. Paris S, Weiss SM, Ayers WH, et al. Splenic abscess. Am Surg 1994;60:358-61.