อาการแสดงทางคลินิกของโรคไข้เลือดออกในโรงพยาบาลปราสาท ปี พ.ศ. 2548-2550

Main Article Content

Kanjana Kanjanarujawiwat

บทคัดย่อ

เหตุผลของการวิจัย: การติดเชื้อไวรัสเดงกีเป็นการติดเชื้อที่พบมากในประเทศไทย และมีอาการแสดงที่หลากหลายและวินิจฉัยได้ยากในระยะแรก
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อไวรัสเดงกี และเพี่อทราบความถูกต้องในการวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสเดงกีในผู้ป่วย โรงพยาบาลปราสาท
วิธีการศึกษา: การศึกษาย้อนหลัง (Retrospective study) ในผู้ป่วยที่มารักษาในโรงพยาบาลปราสาท โดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยในและ OPD card ผู้ป่วยที่ได้รับ การวินิจฉัยว่ามีการติดเชื้อไวรัสเดงกี ที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลปราสาท ระหว่าง 1 มกราคม พ.ศ. 2548 - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 โดยทำการวิเคราะห์ อาการและอาการแสดงเป็นสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ จำนวน ร้อยละ และค่าเฉลี่ย และทำการศึกษาความถูกต้องของการวินิจฉัยโดยทำการเปรียบเทียบข้อมูลโดย ใช้เกณฑ์การวินิจฉัยของกระทรวงสาธารณสุข
ผลการศึกษา: ผู้ป่วย 327 ราย ที่มีอาการ, อาการแสดง และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เข้าได้กับการติดเชื้อไวรัสเดงกีแบ่งเป็น ไข้เดงกี 263 ราย และไข้เลือดออก 64 ราย โดยอายุน้อยกว่า 15 ปี มี 53 ราย, อายุที่พบมากที่สุดอยู่ในช่วง 9-14 ปี อาการและอาการแสดงที่พบในผู้ป่วย DHF ได้แก่ ไข้ (ร้อยละ 100), ปวดศีรษะ (ร้อยละ 54.6), คลื่นไสัอาเจียน (ร้อยละ 71.8), ปวดท้อง (ร้อยละ 85.9), ไข้หวัด (ร้อยละ 28) และถ่ายเหลว (ร้อยละ 6). อาการแสดงที่จำเพาะใน DHF ได้แก่ ตับโต (ร้อยละ 31.3), เลือดออก (ร้อยละ 21.8) พบผู้ป่วยที่มีผลทดสอบทูนิเกต์ เป็นบวกร้อยละ 61.6 และ 81.3 ในไข้เดงกีและไข้เลือดออก ตามลำดับ โดยมี ความถูกต้องในการวินิจฉัยเมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานเพียงร้อยละ 48.7 และ 43.8 ใน Dengue Fever และ Dengue Hemorrhagic Fever ตามลำดับ
สรุป: ในช่วงที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสเดงกีควรนึกถึงโรคไข้เลือดออกในเด็กที่ มีไข้สูงทุกรายไม่ว่าจะมีอาการไข้หวัดหรือถ่ายเหลวร่วมด้วยก็ตาม โดยต้องอาคัย การทำทูนิเกต์และทำการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยัน และควรมีการทบทวน แนวทางการวินิจฉัยโรครวมถึงการบันทึกข้อมูลที่ตรวจพบเพื่อเพิ่มความแม่นยำ ในการวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสเดงกีในโรงพยาบาลปราสาทต่อไป
คำสำคัญ: โรคไข้เลือดออก, ความถูกต้องในการวินิจฉัย, อาการแสดงทางคลินิก

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Pancharoen c, Thisyakorn U. Dengue Virus infection during infancy. Trans R Soc Trop Med Hyg 2001 ; 95 : 307-8.
2. สุจิตรา นิมมานนิตย์. ไข้เลือดออก. กรุงเทพฯ : ยูนิตี้พลับลิเคชั่น, 2534:10

3. อัจฉรา มิตรปราสาท. การติดเชึ้อไวรัสเดงกีในผู้ป่วยเด็ก โรงพยาบาลสุรินทร์ ปี 2546. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาล ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2547;3:63-74.

4. กระทรวงสาธารณสุข แนวทางการวินิจฉัย และรักษาโรคไข้เลือดออกในระดับโรงพยาบาล ศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2548.

5. กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการเฝ้าระวังโรคประจำปี 2530-2549. กรุงเทพมหานคร : กองระบาดวิทยา

6. ศศิธร จันทรทิณ. อาการทางคลินิกและการรักษาผู้ป่วยไข้เลือดออกทีช็อกที่โรงพยาบาลปทุมธานี. ขอนแก่นเวชสาร 2550;31:3:210-9

7. สินชัย ต่อวัฒนกิจกุล. ความถูกต้องของการวินิจฉัยและการรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จังหวัดฉะเชิงเทรา วารสารวิชาการสาธารณสุข 2546;5:811-8

8. ตระกูลไทย ฉายแม้น. ความถูกต้องของการวินิจฉัยโรคไข้เลือดออกตามเกณณ์ขององค์การ อนามัยโลก (WHO) จังหวัดสกลนคร ปี 2548 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร บทคัดย่อ ผลงานวิชาการนำเสนอในการประชุมวิชาการ กระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2549 วันที่ 4-6 กันยายน 2549 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพมหานคร