ร้านขายอาหารริมรั้วโรงเรียนปลอดภัย

Main Article Content

มงคล เกียรติกวินพงศ์

บทคัดย่อ

ปัญหา: ร้านขายอาหารริมบาทวิถีรอบโรงเรียนประถม 2 แห่ง โรงเรียนมัธยม 2 แห่ง ที่มีรั้วติดต่อกันในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ยังขาดการดูแลเรื่องมาตรฐานตามเกณฑ์อาหารปลอดภัยเนื่องจากปัญหาขัดแย้งของโรงเรียน แม่ค้า และเทศกิจ ทำให้นักเรียนจำนวนกว่า 1,500 คน รับประทานอาหารที่ขาดการตรวจสอบ ร้าน ขายอาหารไม่สะอาด ทำให้มีโอกาสได้รับสารปนเปื้อนและเชื้อโรคที่ทำให้เกิดการ เจ็บป่วยได้
เป้าหมาย: สร้างเกณฑ์และสัญลักษณ์ ที่บ่งถึงความสะอาด ทั้งด้านสถานที่ คุณภาพอาหาร การ
วิธีการวิจัย: วิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research)
กลุ่มเป้าหมาย: เจ้าของร้านขายอาหารริมรั้วโรงเรียน จำนวน 106 ร้าน
วิธีการดำเนินงาน: ประชุมคณะทำงานเพี่อกำหนดมาตรฐาน ออกแบบหลักสูตรการอบรม การ ประเมิน และสัญลักษณ์ป้ายที่ใช้ สำรวจร้านขายอาหารริมรั้วโรงเรียน เชิญแม่ค้า เข้าร่วมโครงการจัดการอบรมให้ความรู้และแนวทางการปรับปรุงให้เข้ากับเกณฑ์ ประเมิน หลังการอบรม 2 เดือน จัดทีมเพี่อออกประเมินร้านขายอาหารตาม เกณฑ์และมอบป้ายสัญลักษณ์ ขณะเดียวกันจัดการประชุมชี้แจงแกนักเรียน ผู้ปกครองให้เข้าใจและรู้ถึงโครงการให้ชื้ออาหารกับร้านที่ตรวจสอบแล้วเท่านั้น สุ่มตรวจสอบร้านอาหารอีกเป็นระยะ ปีละ 3 ครั้ง
ผลการดำเนินงาน: ร้านขายอาหารรอบรั้วโรงเรียนสมัครเข้าร่วมโครงการทั้งสิน 106 ร้าน ส่วนใหญ่ ขายอาหารปรุงสำเร็จและเครื่องดื่ม (ร้อยละ 25.53 และ 26.67) ประมาณ ร้อยละ 50 ทำอาหารมาจากบ้าน มีแม่ค้าเข้ารับการอบรม 89 คน คิดเป็น ร้อยละ 83.96 ของร้านทั้งหมด ซึ่งหลังอบรมส่วนใหญ่มีคะแนนการประเมิน เพิ่มขึ้น (ร้อยละ 85.39) ผลการประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ พบว่ามี จำนวนร้านที่ผ่านเกณฑ์ 100 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 94.34 การสุ่มตัวอย่างอาหาร ตรวจหาสารปนเปื้อนจากวัตถุดิบอาหาร พบว่าก่อนการอบรมพบสารปนเปื้อน ร้อยละ 14 และหลังการอบรมพบสารปนเปื้อนเพียงร้อยละ 1 เท่านั้น
สรุปผลการดำเนินงาน: ได้สร้างสัญลักษณ์ คือ ป้ายอาหารริมรั้วปลอดภัยขึ้น และมีการดำเนินการ อย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครองได้รับประทานอาหาร ที่สะอาดปลอดภัย จากร้านขายอาหารที่ได้มาตรฐาน
ข้อเสนอแนะ: สร้างความต่อเนื่อง พัฒนามาตรฐาน และขยายความรู้ออกสู่การจัดการความรู้
คำสำคัญ: การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม อาหารปลอดภัย

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. คู่มือหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2549. พิมพ์ครั้งที่ 1. จังหวัดนนทบุรี : สำนักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ; 2549:155.

2. คู่มือตลาดสดน่าซื้อ ปี 2550. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี ; 2550:3.

3. ธีระ พิทักษ์ประเวช. มาตรการในการดำเนินการ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยด้านอาหาร. เอกลาร ประกอบการประชุมนโยบายและยุทธศาสตร์ ความปลอดภัยด้านอาหาร ; 2 มิถุนายน 2546 ; โรงแรมรามาการ์เด้นท์. กรุงเทพมหานคร : 2546.

4. มารุต จาติเกตุ. โครงการสำรวจผลกระทบของสารเคมี. เอกสารสัมมนาสรุปโครงการ จัดทำฐานข้อมูลโรคสารเคมีกำจัดสัตรูพืช. 2545 เอกสารอัดสำเนา.

5. อรสา วัฒนศฤมาร. อาหารปลอดกัยที่โรงเรียน. ใน : นันทา อ่วมกุล, บรรณาธิการ. รวมมิตร ถิ่นน่าอยู่ สู่สุขภาพดี เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี : บริษัทสามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด ; 2550:95-6.

6. สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม : แนวทางการศึกษา วิเคราะห์ วางแผน. ภาควิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

7. สัญญา สัญญาวิวัฒน์. ทฤษฏีสัญลักษณ์สัมพันธ์. เอกสารอัดสำเนา.

8. ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดการนิเทศงาน ปีงบประมาณ 2548. สำนักงานลาธารณสุข จังหวัดสุรินทร์. เอกสารอัดสำเนา.

9. ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดการนิเทศงาน ปีงบประมาณ 2549. สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดสุรินทร์. เอกสารอัดสำเนา.

10. สมศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์. อาหารสะอาด รสชาติ อร่อย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพฬ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2548:85-9.

11. คู่มือการดำเนินงานโครงการเด็กไทยทำได้ ปีงบประมาณ 2549. กรุงเทพมหานคร ; กรมอนามัย.

12. เดชิษฐ์ นุ่มมีชัย. การยอมรับการประกันคุณภาพการศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณหิต สาขานโยบายสาธารณะ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา ; 2545 : การยอมรับนวัตกรรม

13. นิรันดร จงวุฒิเวศย์. กลวิธี แนวทาง วิธีการ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนาชุมชน, การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชนบท. กรุงเทพมหานคร : ศักดิ์โสภณการพิมพ์ ; 2527:183.

14. ทวีทอง หงส์วิวัฒน์. กระบวนการเสริมสร้าง ชุมชนเข้มแข็งประชาคมประชาสังคม. ขอนแก่น : โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา ; 2537:181-3.