ป้จจัยที่มีอิทธิพลต่อการไม่มารับการฉีดวัคซีนปีองกันโรคพิษสุนัขบ้าของประชาชนในจ้งหวัดสุรินทร์ที่ถูกสุน้ขหรือแมวกัด

Main Article Content

Mongkol Keidkawinphong

บทคัดย่อ

ความสำคัญ: จังหวัดสุรินทร์มีปัญหาเกี่ยวกับการเสียชีวิตเนื่องจากโรคพิษสุนัขบ้าทุกปี เนื่องจาก ผู้ที่ถูกสุนัขหรือแมวกัดไม่ไปรับวัคซีนในการป้องกันการป่วยด้วยโรคพิษสุนัขบ้า
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยนำ ปัจจัย เอื้อ และปัจจัย เสริม ที่มีอิทธิพลต่อการไม่ ไปรับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
วิธีการศึกษา: ศึกษา Case Control Study ในกลุ่มผู้ที่ถูกสุนัขกัดแบบมีเลือดออกในรอบ 1 ปี ที่ไม่ไปรับวัคซีนและกลุ่มที่ไปรับวัคซีน จำนวน 100 และ 105 คน โดยการใช้แบบ สัมภาษณ์ และข้อมูลจากบัตรผู้ป่วยและบัตรนัดฉีดวัคซีน
ผลการศึกษา: พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการไม่มารับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ ได้แก่ ขาดการค้นหาและติดตามจากเจ้าหน้าที่ภาครัฐ (OR = 3.93, 95% CI = 1.30-12.63) ขาดแรงเสริมจากชุมชน (OR = 2.68, 95% CI = 1.10-6.70) ขาดการกระตุ้นจากครอบครัว (OR = 2.10, 95% CI = 1.16-3.83) และการรับรู้ข่าวสารจากสื่อต่าง ๆ (OR = 1.85, 95% CI = 1.01-3.39) ส่งผล ให้มีผลร่วมกับการมีความร้ในเรื่องการโรคและการป้องกันตนเองจากโรคพิษ สุนัขบ้าต่ำ ประกอบกับการมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้องต่อการไปรับวัคซีน โดยเฉพาะ เมื่อถูกสุนัขมีเจ้าของกัด กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง คือ กลุ่มอายุมากกว่า 15 ปี และ กลุ่มอาชีพรับจ้าง
ข้อเสนอแนะ: เจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรมีกิจกรรมการค้นหาและติดตามผู้ถูกสุนัขและแมวกัด ให้มารับวัคซีนอย่างต่อเนื่อง โดยบูรณาการร่วมกับกิจกรรมการเยี่ยมบ้าน ให้ สุขศึกษาและประชาสัมพันธ์โดยใช้สื่อและวิธีการที่เข้าถึงประชาชน ใช้แรงกระตุ้น จากครอบครัวและให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. ประพันธ์ ภานุภาค. ก้าวใหม่ของการดูแลรักษาผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า. วารสารคลินิกเวชปฏิบัติ และการใช้ยา, 2532:633-42.

2. ไพโรจน์ อุ่นสมบัติ, วิชัย รุ่งปิตะรังสี. โรคพิษสุนัขบ้า. ใน : ไพโรจน์ อุ่นสมบัติ. ประพันธ์ เชิดชูงาม, บรรณาธิการ. เวชศาสตร์ป้องกัน, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สหประชากรพาณิชย์ ; 2532:534-80.

3. กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการกวาดล้างโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปจากประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2539:2.

4. ประวิทย์ ชุมเกษียร, สมเจตน์ ตั้งเจริญศิลป์. รายงานสถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าในประเทคไทย พ.ศ. 2538. กรุงเทพฯ : อักษรสยามการพิมพ์ ; 2539:37.

5. สำนักงานควบคุมโรคติดต่อ เขต 5 นครราชสีมา กรมควบคุมโรคติดต่อ. สถานการณ์ ทิศทาง และแนวโน้มโรคติดต่อในเขต 5 ปี 2545 (เอกสารอัดสำเนา).

6. ปราณี พาณิชย์พงษ์. วิเคราะห์เจาะลึกสถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์. ใน : การสัมนาเซิงปฏิบัติการ กลยุทธ์ใหม่ของการเร่งรัดการป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทยปี 2545. วันที่ 21-22 กุมภาพันธ 2545 ; ณโรงแรมแอมบาสเดอร์ซิตี้จอมเทียน พัทยา ชลบุรี : กรมควบคุมโรค; 2545.

7. Chares H. Hennekens, Julie E. Buring. Epidemiology in Medicine. 1st ed. USA ; 1987.

8. สุรชัย ศิลาวรรณ, อารียะ สัจจาวัฒนา, สาธิต ศรีธรรมานุสาร. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ ของโครงการจังหวัดปลอดโรคพิษสุนัขบ้า. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรค เขต 5 นครราขสีมา 2545 ; ปีที่ 9 (1):35-47.

9. สยมพร ศิรินาวิน, ศุภมิตร ชุณห์สุทธิวัฒน์, บรรณาธิการ. โรคพิษสุนัขบ้า แนวทางการเวชปฏิบัติในโครงการประกันสุขกาพถ้วนหน้า. กรุงเทพฯ ; (ม.ป.ป.) : 3-14 .

10. ทัคนีย ศิลาววรณ. สถานการณ์และปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า เขต 5 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิทยาการระบาตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ; 2541 ; ปีที่ 3 (3):53-66.

11. Green, Lawrence W. Kreuter, Marshall W. Heath Promotion Planing : An Educational and Environmental Approach. Toronto : Mayfield Publishing Company ; 1995.

12. มหาวิทยาสุโขทัยธรรมาธิราช. สังคมวิทยาการแพทย์ หน่วยที่ 1-8. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ ; สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ; 2540:68-71 .

13. คณะกรรมการควบคุมโรคเลปโตสไปโรซีส เขต 5 สำนักงานสาธารณสุขเขต 5. แนวทาง การสร้างเครือข่าย และการเฝ้าระวังเชิงรุก โรคเลปโตสโปโรซีส ในระดับหมู่บ้าน. นครราชสีมา ; โรงพิมพ์ หจก. อุบลยงสวัสดิ์ ; 2544.

14. ประวิทย์ ชุมเกษียร. รายงานการสอบสวนผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้า ปี 2540-2542. เอกสารประกอบสัมมนาวิยาการประจำปี 2542 เรื่องการดูแลรักษาผู้ป่วยและการป้องกัน ผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า. 30-31 สิงหาคม 2542 ; ณ โรงแรมดุสิตรีสอร์ท. จังหวัดชลบุรี ; 2542 (เอกสารอัดสำเนา).

15. วัลลภ ไทยเหนือ. นโยบายการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า ปี 2545 ของกรมควบคุมโรคติดต่อ. เอกสารประกอบการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ กลยุทธ์ใหม่ของการเร่งรัด การป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทย ปี 2545; 21-22 กุมภาพันธ์ 2545 ; ณ จังหวัดชลบุรี ; 2545.