การวินิจฉัยก้อนที่ต่อมไทรอยด์โดยการเจาะดูดด้วยเข็มขนาดเล็กโรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

สุชาติ เริงกมล

บทคัดย่อ

ความสำคัญของปัญหา: ก้อนเนื้องอกที่ต่อมไทรอยด์พบได้บ่อยในเวชปฏิบัติทั่วไป อาจเป็นก้อนในต่อมไทรอยด์ปกติหรึอเป็นก้อนเด่นชัดในก้อนคอพอกหลายก้อน (Multinodular) อุบัติการณ์ของก้อนที่ต่อมไทรอยด์สูงขึ้นในช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมาคาดว่า จากการมีการฉายแสงบริเวณลำคอเพิ่มมากขึ้น แต่ก็ยังพบก้อนที่ต่อมไทรอยด์ใน ผู้ป่วยที่ไม่มีความผิดปกติอื่น การวินิจฉัยแยกโรคในผู้ป่วยก้อนที่ต่อมไทรอยด์มี ความจำเป็นเนื่องจากในรายที่วินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งหรือเนื้อร้ายจำเป็นต้องรักษา โดยการผ่าตัด ส่วนในรายไม่ใช่มะเร็งก็ต้องมีการติดตามดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด การเจาะดูดก้อนที่ต่อมไทรอยด์โดยใช้เข็มขนาดเล็ก (FNAB) ถือเป็นมาตรฐานหลักในการพิจารณาตัดสินว่าผู้ป่วยจำเป็นต้องผ่าตัดหรือไม่
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระหว่างผลของการเจาะ FNAB กับผลชิ้นเนื้อศัลยกรรมหลังผ่าตัดต่อมไทรอยด์ รวมทั้งศึกษาการนำไปใช้ ความน่าเชื่อถือ และประสิทธิผล ของ FNAB เปรียบเทียบกับผลวิจัยอื่น
สถานที่ศึกษา: คลินิกพิเศษการเจาะดูดก้อนเนื้องอกโดยเข็มขนาดเล็ก, กลุ่มงานโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลสุรินทร์
รูปแบบการวิจัย: เป็นการศึกษาย้อนหลัง
วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยโรงพยาบาลสุรินทร์ที่มาด้วยเรื่องก้อนที่ต่อมไทรอยด์ซึ่งได้รับการวินิจฉัย โดยใช้เข็มเจาะดูดขนาดเล็ก และได้รับการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ โดยผู้ทำการวิจัย ตั้งแต่มิถุนายน 2546 - ธันวาคม 2550 จำนวน 110 ราย โดยรวบรวมและ วิเคราะห์ข้อมูลของผู้ป่วยก้อนที่ต่อมไทรอยด์จากเวชระเบียน ใบรายงานผล FNAB และใบรายงานผลพยาธิวิทยาของชิ้นเนื้อจากการผ่าตัด และเปรียบเทียบ รายงาน FNAB กับรายงานผลพยาธิวิทยาของชิ้นเนื้อจากการผ่าตัด
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยก้อนที่ต่อมไทรอยด์ 110 คน เป็นเพศหญิง 102 ราย เพศชาย 8 ราย อัตราส่วนเพศหญิงต่อเพศชาย 11.5 : 1 ช่วงอายุ 20 ถึง 70 ปี อายุเฉลี่ย 43.55 ปี ± 9.81 ปี ผลของการทำ FNAB ก่อนผ่าตัดพบเป็นเนื้อร้ายหรือ สงลัยว่าเป็นเนื้อร้าย 8 ราย โดย 7 ราย เป็น Papillary carcinoma (7.27%) ผล FNAB เป็น follicular lesion จำนวน 25 ราย (22.73%) ซึ่งไม่สามารถ บอกได้ว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ ผล FNAB ที่ไม่ใช่เนื้อร้าย พบ 87 ราย (70%) เป็น nodular goiter 47 ราย (42.73%), hemorhagic cyst 24 ราย, colloid cyst 5 ราย thyroiditis 1 ราย สำหรับผลพยาธิวิทยาของชิ้นเนื้อจากการผ่าตัดก้อน ที่ต่อมไทรอยด์ พบเป็นเนื้อร้าย 14 ราย (12.73%) เป็น papillary carcinoma 10 ราย (9.09%) เป็น follicular carcinoma 4 ราย (3.64%) พบไม่ใช่เนื้อร้าย จำนวน 96 ราย (87.26%) ประกอบด้วย nodular goiter 44 ราย (40%) adenoma 32 ราย (29.09%) hemorhagic cyst 9 ราย colloid cyst 6 ราย multinodular 5 ราย เมื่อเปรียบเทียบผล FNAB กับผลพยาธิวิทยาของชิ้นเนื้อจากการผ่าตัดพบว่าความน่าเชื่อถือและประสิทธิผลของการทำ FNAB สรุปได้ ดังนี้ accuracy 94.12% specificity 100% sensitivity 61.54% false negative rate 38.46% false positive rate 0% predictive value for malignancy 100% predictive value for benignancy 93.64%
สรุปผลการศึกษา: การเจาะดูดก้อนที่ต่อมไทรอยด์โดยใช้เข็มขนาดเล็ก (FNAB) เป็นวิธีที่ปลอดภัย, ง่าย เชื่อถือได้, ราคาไม่แพงสำหรับการวินิจฉัยแยกโรคว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ เป็นวิธีที่ถูกเลือกเป็นอันดับแรกในการวินิจฉัย ก้อนที่ต่อมไทรอยด์ไม่ใช่การทำการวินิจฉัย ทางรังสี (thyroid scanning) หรือการตรวจอัลตราซาวด์ (Ultrasonography) จากผลการศึกษาส่วนใหญ่พบว่าผลของ FNAB เชื่อถือได้ค่อนข้างสูงในการ ประเมินผู้ป่วยก้อนที่ต่อมไทรอยด์และเป็นตัวที่บ่งบอกว่าผู้ป่วยจำเป็นต้องผ่าตัด หรือไม่ ส่วนความน่าเชื่อถือของ FNAB ในการศึกษาครั้งนี้ยังต่ำกว่าของผลการ วิจัยอื่น ทำให้เราต้องนำมาศึกษาและพัฒนาในทุก ๆ ขั้นตอนของการดูแลผู้ป่วย ก้อนที่ต่อมไทรอยด์ของโรงพยาบาลสุรินทร์ต่อไป
คำสำคัญ: การเจาะดูดก้อนเนื้องอกด้วยเข็มขนาดเล็ก, ก้อนที่ต่อมไทรอยด์, โรงพยาบาลสุรินทร์

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Chen H, Needle, Kosenthal DL, Udelsman R. The role of fine needle aspiration in the evaluation of thyroid nodules. Prob Gen Surg 1997:14:1-13.

2. Rojeste. MT. Gharib H. Nodular thyroid disease : Evaluation and management. N. Engl J Med 1985;428-36.

3. Hung W. Solitary Thyroid nodule in 71 children and adolescents. J Pediatr Surg 1972;27:1407-9.

4. Geiger J. Thompson N. Thyroid tumors in children. Otolarynygol Clin N Am 1996;29:713-9.

5. Sabel MS, Storen ED, Gianakokis LM, Dwarakanathan S, Prinz R.A. Effective of the thyroid scan in evaluation of the solitary thyroid nodules. Am Surg 1997;63:660-3.

6. Galloway JW. Sandi A, Deconti RW. Miteheal WT Jr. Bohon JS. Changing trends in thyroid surgery : 38 years experience Am Surg 1991;57:18-20.

7. Hamming JF. et al. The value of the fine needle aspiration biopsy in patients with nodular. Thyroiddisease dividend groups of suspicious of malignant neoplasm in clinical grounds. Arch Intern Med 1990;150:113-6.

8. ธารา พูนประชา. Handing of Pathologic Specimen ใน : วิบูล สัจจกุล. ศุภวิทย์ มุตตาดามร : อุษณา สุวีระ : บรรณาธิการ. เวชปฏิบัติทั่วไป. กรุงเทพมหานคร : มิตรสยาม, 2534. 260-6.

9. ธารา พูนประชา, ไพบูลย์ ปุญญาฤทธิ์, ชนิดา โลหชิตรานนท์. การพัฒนาทางพยาธิวิทยาสาขา Fine Needle Aspirating Biopsy. เวชสารแพทย์ทหารบก 2543, 53. 279-82.

10. Gharib H. Goellner JR. Fine needle aspiration biopsy of the thyroid : an appraisal. Am Intern Med 1993;118:282-9.

11. Baloch ZW, Sach MJ, Yugh, et al. Fine needle aspiration of thyroid : an institutional experience. Thyroid. 1998;8:565-9.

12. Joseph A, Blansfield, Martha J. Sach, Johs., Kokora. Recent Experience With Preoperative Fine Needle Aspiration Biopsy of Thyroid Nodules in a Community Hospital. Arch Surgery 2002;137:818-21.

13. Homburger Jl. Expensive personal experience : diagnosis of thyroid nodules by fine needle biopsy : use and abuse. J Clin Endocrine Metab 1994;79:335-9.

14. Yang J, Sehnody V, logronor, Wasserman PG. Fine needle aspiration of thyroid nodules : a study of 4703 patients with histologic and clinical correlation. Cancer 2007; Oct 25;111;(5):306-18.