โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด ST elevation ในโรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

ถาวร ชูชื่นกลิ่น

บทคัดย่อ

เหตุผลของการวิจัย: ภาวะ Acute Coronary Syndrome (ACS) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากการขาด เลือดของกล้ามเนื้อหัวใจอย่างรุนแรงเฉียบพลัน ถ้าเป็นรุนแรงมากหรือระยะเวลา นานพอสามารถทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายอย่างเฉียบพลันได้ เนื่องจาก ภาวะ ACS เป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญของทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย และ มีแนวโน้มที่อุบัติการณ์จะเพิ่มมากขึ้นต่อไปในอนาคต รวมทั้งเคยมีการศึกษาเกี่ยวกับ ผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันมาก่อนในโรงพยาบาลสุรินทร์ ปี พ.ศ- 2547 พบว่ามีอัตราการเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 40 หลังจากนั้นโรงพยาบาลสุรินทร์ได้มีการนำ ST elevation myocardial infarction (STEMI) guideline มาปฏิบัติจนถึงปัจจุบัน
วัตถุประสงค์: เพื่อต้องการทราบข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย ตลอดจนผลการรักษาหลังจากที่ได้นำ ST Elevation Myocardial Infarction (STEMI) guideline มาปฏิบัติใน โรงพยาบาลสุรินทร์
รูปแบบการศึกษา: การวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง
วิธีการศึกษา: รวบรวมข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น STEMI จากเวชระเบียนที่รับไว้ รักษาในโรงพยาบาลสุรินทร์ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2549 ถึง 30 กันยายน 2550 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาโดยใช้สถิติจำนวนนับ ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น STEMI 111 ราย เป็นชาย 82 ราย หญิง 29 ราย อัตราส่วนประมาณ 4 : 1 ส่วนใหญ่รับการส่งต่อจากโรงพยาบาลชุมชนถึงร้อยละ 84.68 อายุผู้ป่วยอยู่ในช่วงอายุ 71-80 ปีมากที่สุด อาการนำที่นำผู้ป่วยมาพบ แพทย์บ่อยที่สุด คือ เจ็บแน่นบริเวณหน้าอก อัตราการเสียชีวิตร้อยละ 25.23 ซึ่งลดลงจากปี 2547 ที่อัตราเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 40.75 หลังจากที่มีการนำ STEMI guideline มาปฏิบัติ โดยที่ร้อยละ 67.86 จะเสียชีวิตใน 48 ชั่วโมงแรก หลังรับไว้นอนในโรงพยาบาล ตำแหน่งที่พบภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้บ่อย คือ ผนังด้านล่าง (Inferior wall) และผนังด้านหน้า (Anterior wall) มีประวัติ การเจ็บป่วยและปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือ การสูบบุหรี่ ความดันโลหิตสูง ภาวะ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด มีภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ มีการใช้ยา Streptokinase ร้อยละ 35.14 มากขึ้นจากปี 2547 ที่มีการใช้ยาแค่ ร้อยละ 14.53 ส่วนยาอื่น ๆ ที่มีผลช่วยลดอัตราตายของผู้ป่วยยังมีการใช้น้อยอยู่ คือ Aspirin, beta blocker, ACE inhibitor, ADP inhibitor, Statin ร้อยละ 90.09, 26.13, 36.04, 15.32 และ 70.27 ตามลำดับ ระยะเวลาเฉลี่ยที่นอนโรงพยาบาล 5.49 วัน นานที่สุด 31 วัน ค่าใช้จ่ายต่อผู้ป่วย 1 ราย ที่รับไว้นอนโรงพยาบาลเฉลี่ย เท่ากับ 23,387.67 บาท คิดเป็นค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยต่อวันเท่ากับ 4,253.32 บาท
สรุป: หลังจากที่มีการนำ STEMI guideline มาปฏิบัติใช้ในโรงพยาบาลสุรินทร์ ปรากฏ ว่าอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่รับไว้ในโรงพยาบาลลดลงชัดเจน แต่พบว่าอัตรา การใช้ยาที่ลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยทั้งระหว่างที่นอนในโรงพยาบาล และ ก่อนออกจากโรงพยาบาลค่อนข้างน้อยอยู่ ควรมีการให้ข้อมูล ความรู้เกี่ยวกับ โรค ACS เพี่อให้ผู้ป่วยมาพบแพทย์เร็วขึ้นจะไต้ให้การรักษาอย่างทันท่วงที ควรมีการค้นหาและลดปัจจัยเลี่ยงในการก่อโรค ACS
คำสำคัญ: โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน, สเตปโตไคเนส

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Hamm CW, Bertrand M, Braunwald E. Acute coronary syndrome without ST elevation : implementation of new guideline. The Lancet, 2001,358:1533-8.

2. Ambrose JA,Winters SL, Arora RR, et al. Coronary angiographic morphology in myocardial infarction : A link between the pathogenesis of unstable angina and myocardial infarction. J Am Coll Cardiol 1985:6:12338.

3. ศูนย์ข้อมูลลารสนเทศและสถิติโรงพยาบาล สุรินทร์, โรงพยาบาลสุรินทร์ ปี 2551. สุรินทร์ : ฝ่ายแผนงานสารสนเทศโรงพยาบาลสุรินทร์ ; 2551.

4. Tunsstall-Pedoe H, Kuulasmaa K, Amougol P. Myocardial infarction and coronary deaths in the World health Organization MONICA project, Circulation 1994;90:583-612.

5. Myocardial infarction redefined- A consensus document of The Joint European Society of cardiology/American College of cardiology committee for the Redefinition of Myocardial infarction. The Joint European Society of cardiology /American college of Cardiology committee. European Heart Journal (2000)21,1502-13.

6. Alpert J S, Thygesen K, Antman E, et al. Myocardial infarction redefined - a consensus document to the Joint European Society of cardiology / American College of Cardiology Committee for the redefinition of myocardial infarction. J Am coll Cardial 2000;36:959-69.

7. ACC/AHA Guideline for the Management of Patients with ST-Elevation Myocardial Infarction : A report of the American College of Cardiology / American Heart Association Task Force on Practice Guideline Committee to revise the 1999 Guideline for the Management of Patients with Acute Myocardial Infarction

8. Jersey C. Martha JR. et al. "American's best hospitals" perform better for acute myocardial infarction? N Engl J Med. 1999;340:286-92.

9. มุกดา สุดงาม, โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ในโรงพยาบาลสุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2549;21:28-35.

10. Bayer AJ, Chadha JS, Faray RR, et al. Changing presentation of myocardial infarction in increasing old age. J Am Geriate Soc 1986:34:263.

11. The National Academy of Clinical Biochemistry Laboratory Medicine Practice Guideline. Biomarkers of Acute Coronary Syndrome and Heart Failure. Draft Guidelines Version 2. 2004

12. Thai Heart Association of Thailand. Thai ACS Registry https://www.Thaiheart.org/ download(ACS_Registry_Update_10_ Sep_05.pdfc 24 November 2006)

13. Yusuf S, Lessem J, Jhap, et al. Primary and secondary prevention of myocardial infarction and strokes : an update of randomly allocated controlled trials. J Hypertens 1993; 11 (Suppl 4) :S61-S73.

14. Freemantle N, Cleland J, Young P, et al. Beta blockade after myocardial infarction : systematic review and metaregression anlysis. Br Med J 1999;318:1730-7.

15. ACE Inhibitor Myocardial Infarction Collabarative Group. Indication for ACE Inhibitors in the early treatment of acute myocardial infarction : systematic overview of indiducl data from 100,000 patient in randomized trials [see comments]. Circulation 1998;97:2002-12.

16. GISSI-3 : Effect of lisinopril and transdermal glyceryl trinitrate singly and together on 6-week mortality and ventricular function after acute myocardial infarction. Gruppo Italiano per lo Studio della So prawivenzaneir infarcto Myocardico. Lancet 1994;343:1115-22.

17. ISIS-4 : a randomized factorial assessing early oral captopril, oral mononitrate, and intravenous magnesium in 58,050 patients with suspected acute myocardial infarction. ISIS-4 (Forth International Study of Infarct Survival) Collaborative Group. Lancet 1995:345:669-85.

18. The CURE Investigators. Neew England Journal of Medicine 2001 ; 345(7):494-502.

19. CAPRIE Steering Committee. A randomized, blined trial of clopidogrel versus aspirin in patients at risk of ischemic events (CAPRIE). Lancet 1996;348:1329-39.

20. The Scandinavian Simvastatin Survival Group. Randomized trial of cholesterol lowering in 4444 patients with coronary heart disease : The Scandinavian Simvastatin Survival Studt (4S). Lancet 1994;344:1383-9.

21. Snack FM, Pfeffer MA, Moye LA et al. The effect of pravastatin on coronary events after myocardial infarction in patients with average cholesterol level. Cholesterol and Recurent Events Trial Investigators. N Engl J Med 1996:335:1001-9.

22. The Long-Term Investigation with Pravastatin in Ischemic Disease (LIPID) Study Group. Prevention of cardiovascular events and death with pravastatin in patients with coronary heart disease and a broad range of initial cholesterol levels. N Engl J Med 1998;339:1349-57

23. ISIS-2 (Second International Study of Infarct Survival) Collaborative Group : Randomized trial of intravenous streptokinase, oral aspirin, both, or neither among 17,187 cases of suspected acute myocardial infarction.l988;ii:349-60.