การประเมินผลเครือข่ายเด็กสุรินทร์อ่อนหวาน โดยเครื่องมือแผนที่ผลลัพธ์

Main Article Content

ปองชัย ศิริศรีจันทร์

บทคัดย่อ

ความสำคัญของปัญหาการวิจัย: จังหวัดสุรินทร์ดำเนินการโครงการเด็กไทยไม่กินหวานร่วมกับกองทุน สนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และกรมอนามัย ในชื่อโครงการ "เด็ก สุรินทร์อ่อนหวาน" มาตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบัน ดำเนินการเครือข่าย 12 พื้นที่ ใน 11 อำเภอ โดยพบอัตราความชุกของโรคฟันผุในเด็กก่อนวัยเรียนจากการ สำรวจแบบเร่งด่วนติดต่อกันมา 5 ปี ตั้งแต่ปี 2545-2549 มีอัตราความชุกของ โรคฟันผุ ร้อยละ 60.9, 75.7, 65.0, 80.0 และ 70.8 ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้อง กับแนวโน้มปัญหาของการมีฟันผุในเด็กเล็ก เด็กประถมศึกษา รวมทั้งปัญหา โภชนาการเกินในเด็ก ซึ่งพบแนวโน้มของโรคที่รุนแรงมากขึ้นในกลุ่มเด็ก คือ โรค เบาหวาน โรคไต ฟันผุ จึงมีความพยายามสร้างเครือข่ายการดูแลโรคในช่องปาก และการส่งเสริมทันตสุขภาพ โภชนาการ รวมทั้งการควบคุมสภาพแวดล้อม อนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ตลอดจนในโรงพยาบาล สถานีอนามัย และศูนย์ พัฒนาเด็กเล็ก โดยเน้นนโยบายสาธารณะในเรื่องโรงเรียนปลอดน้ำอัดลม และ ขนมกรุบกรอบ รวมทั้งเน้นโภชนาการที่ดีแก่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การดำเนินการ วิจัยอาศัยเครื่องมือสำคัญในการวัดและประเมินผล คือ แผนที่ผลลัพธ์ (Outcome Mapping) เป็นการสร้างการเรียนรู้และการสะท้อนกลับในแผนงานพัฒนา โดยใช้ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ผู้บริหารของโรงเรียน โรงพยาบาล ผู้ดำเนินงาน ผู้เกี่ยวข้องกับตัวเด็กปฐมวัย เด็กนักเรียน ครู ครูพี่เลี้ยงเด็ก ทันตบุคลากร เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพี่อหาปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผลการดำเนินงานได้ผลดีขึ้นจาก เดิม และพยายามไม่ใช้ทรัพยากรคน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เงิน งบประมาณ และวัสดุอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้น โดยเน้นการสร้างทีมงานบนปรัชญา การทำงานให้มีความสุข สนุกกับงาน และนำเอาผลลัพธ์ที่ได้มาพัฒนาวิชาการ การเรียนรู้วิธีการ สร้างเครือข่าย องค์กร ความร่วมมือ บูรณาการ งานพัฒนาร่วมกับองค์กร ปกครองท้องถิ่น ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องโดยใช้ศักยภาพของคนเป็นองค์รวม และ ใช้องค์กรแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน โดยมีเป้าหมายขยายงานภาคีหุ้นส่วนเพิ่มมากขึ้น ในปี2552 ทุกอำเภออย่างน้อยพื้นที่ละ1 เครือข่าย ใน17อำเภอ เพี่อจุดประกาย การส่งเสริมทันตสุขภาพ และการควบคุมอาหารหวาน การโภชนาการที่ถูกต้อง และกระตุ้นความสำนึกของความรับผิดชอบในตัวคน ให้ออกมาร่วมกับทุกส่วนที่ เกี่ยวข้องให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีต่อทันตสุขภาพและสุขภาพโดยรวมของคนในชุมชนต่อไป
วัตถุประสงค์: ใช้แผนที่ผลลัพธ์เป็นเครื่องมือในการตอบผลลัพธ์ในเชิงพัฒนาการสร้างการเรียนรู้และการสะท้อนกลับในแผนงานพัฒนา
พื้นที่ดำเนินการ: ดำเนินการในพื้นที่เครือข่ายภายในจังหวัดสุรินทร์ 11 อำเภอ 12 พื้นที่ ในปี 2550
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยประเมินผล
วิธีการวิจัย: ใช้กลุ่มตัวอย่างจากแบบสอบถาม4แบบ ในผู้บริหาร ผู้ดำเนินการ ผู้ประสานงาน เด็กนักเรียน ครู ครูพี่เลี้ยงเด็ก ที่เกี่ยวข้องในการทำโครงการ "เด็กสุรินทร์ อ่อนหวาน" ทั้ง 12 พื้นที่เครือข่าย ใน 11 อำเภอ ของจังหวัดสุรินทร์ วิเคราะห์ ข้อมูลตามแนวทางการใช้แผนที่ผลลัพธ์ และวิเคราะห์ผลจากแนวความคิด ข้อเสนอแนะ ความเห็น และข้อสรุปต่าง ๆ ของผู้ตอบ รวมทั้งปัจจัยเสริม ปัจจัยนำ ปัจจัยตามอื่น ๆ เพื่อหาข้อเสนอการทำงานโครงการที่มีประสิทธิผล ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โดยต้นทุนต่ำสุด
ผลการวิจัย: จาก 12 พื้นที่เครือข่าย ของ 11 อำเภอ ในโครงการ มีความเห็นให้ดำเนินการ ต่อเนื่องของโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และความสำเร็จเถิดจากความ ร่วมมือจากกลุ่มบุคลากร ข้าราชการครู และเจ้าเหน้าที่ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมกัน ดำเนินการโครงการเด็กสุรินทร์อ่อนหวานต่อเนื่องไปจนโครงการดำเนินการต่อไป และประเมินผลต่อเนื่องด้วยเครื่องมือ แผนที่ผลลัพธ์ทั้ง 12 ขั้นตอน ย่อย ต่อเนื่อง
สรุปผลการวิจัย: ผู้บริหารของโรงพยาบาล, โรงเรียน, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และชุมชนควรให้การ สนับสนุนการดำเนินการของโครงการ และเพิ่มเป้าหมายของพื้นที่เครือข่ายให้ ครอบคลุมทั้งจังหวัดสุรินทร์อย่างน้อย 17 พื้นที่เครือข่าย ใน 17 อำเภอ ใน ปี 2551 นี้ เพื่อให้การดำเนินการส่งเสริมทันตสุขภาพดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ขยายตัวออกไปอย่างครอบคลุมทั่วทั้งพื้นที่ในจังหวัดสุรินทร์
คำสำคัญ: แผนที่ผลลัพธ์, โครงการเด็กสุรินทร์อ่อนหวาน, กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ, ภาคีหุ้นส่วน

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. พิกุล สิทธิประเสริฐกุล. แผนที่ผลลัพธ์ : การสร้างการเรียนรู้และการสะท้อนกลับในแผนงานพัฒนา. กรุงเทพฯ : โครงการเสริมสร้าง การเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข, 2547

2. พัฒนพงส์ จาติเกตุ. แผนที่ผลลัพธ์ : เครื่องมือหรือของเล่นใหม่เพื่อการประเมินโครงการ เอกสารประกอบการอบรม แผนที่ผลลัพธ์ เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน ระหว่างวันที่ 29 สิงหาคม - 31 สิงหาคม 2550 ณ โรงแรม ชลจันทร์ จังหวัดชลบุรี

3. Patton, M.Q. 1997. Utilization-focused evaluation : the new century text. Sage Publications, Thousand Oaks, CA, USA

4. Kibel, B.M. 1999. Success stories as hard data : an introduction to results mapping. Kluwer, New York, NY, USA.

5. Smutylo, T. 2001. Crouching impact, hidden attribution : overcoming threads to learning in development program. Draft Leaning Methodology Paper prepared for the Block Island Workshop on Across Portfolio Learning, 22-24 May 2001. Evaluation Unit, International Development Research Center. Ottawa, ON, Canada