ความเหมาะสมของการใช้เอกซเรย์เคลื่อนที่ ในหอผู้ป่วยโรงพยาบาลบุรีรมย์

Main Article Content

บังอรรัตน์ เธียรญาณี

บทคัดย่อ

บทนำ: เอกชเรย์เคลื่อนที่เป็นการให้บริการถ่ายภาพรังสีแก่ผู้ป่วยในหอผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายมาถ่ายภาพรังสีที่หน่วยรังสีวิทยาได้ ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยในหออภิบาล ผู้ป่วยวิกฤต และเป็นการถ่ายภาพรังสีทรวงอก การที่จะถ่ายภาพรังสีด้วยเอกซเรย์ เคลื่อนให้ได้มาตรฐานนั้นทำได้ค่อนข้างยากเนื่องจากผู้ป่วยมีอาการค่อนข้างหนัก และไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการถ่ายภาพ ดังนั้นคุณภาพของฟิล์มที่ได้จึงมักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานทำให้มีผลต่อการวินิจฉัย ตลอดจนทำให้ผู้ป่วยและผู้ป่วย ข้างเคียงได้รับรังสีโดยไม่จำเป็น
วัตถุประสงค์: เพี่อประเมินข้อบ่งชี้และความเหมาะสมของการใช้เอกซเรย์เคลื่อนที่ในหอผู้ป่วย โรงพยาบาลบุรีรัมย์
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบพรรณนาโดยเก็บข้อมูลย้อนหลัง (Descriptive retrospective study) จากการทบทวนรายงานเวชระเบียนผู้ป่วยในจำนวน 611 ราย ที่ส่งถ่ายภาพรังสีด้วยเอกชเรย์เคลื่อนที่ จาก 10 หอผู้ป่วยสามัญ และ 2 หออภิบาล ผู้ป่วยวิกฤต ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน 2549 ประเมินความเหมาะสม ของการใช้เอกซเรย์เคลื่อนที่ตามข้อบ่งชี้ของโรงพยาบาลบุรีรัมย์ โดยรังสีแพทย์ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ เหมาะสม / ไม่เหมาะสม / ไม่ชัดเจน วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) อธิบายเป็นจำนวนร้อยละ (Percentage) และการทดสอบไค-สแควร์ (Chi-square test)
ผลการศึกษา: การถ่ายภาพรังสีด้วยเอกซเรย์เคลื่อนที่ในหอผู้ป่วยโรงพยาบาลบุรีรัมย์เหมาะสม และตรงตามข้อบ่งขี้ ร้อยละ 71.19 หออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต (ICU, NICU) เหมาะสมและตรงตามข้อบ่งชี้มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 98.81 ส่วนหอผู้ป่วยเด็ก ไม่ตรงตามข้อบ่งชี้มากทีสุด คือ ร้อยละ 38.46 พบว่าการส่งถ่ายภาพรังสีในช่วง เวลากลางวันไม่ตรงตามข้อบ่งชี้มากกว่าช่วงเวลากลางคืน และนักศึกษาแพทย์ (Extern) แพทย์เพิ่มพูนทักษะ (Intern) มีการส่งถ่ายภาพรังสีด้วยเอกซเรย์เคลื่อนที่ ไม่ตรงตามข้อบ่งชี้และไม่เหมาะสมร้อยละ 21.95 และ 18.52 ตามลำดับ
สรุปและข้อเสนอแนะ: โรงพยาบาลบุรีรัมย์มีการให้เอกซเรย์เคลื่อนที่อย่างมีความเหมาะสม ร้อยละ 71.19 โดยแตกต่างกันตามแผนกบริการ หอผู้ป่วย เวลาปฏิบัติงาน (ในและนอก เวลาราชการ) และผู้สั่งการรักษา ดังนั้นควรมีการทบทวนและชี้แจงเกี่ยวกับการ ส่งถ่ายภาพรังสีด้วยเอกซเรย์เคลื่อนที่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหอผู้ป่วยสามัญและ ในช่วงเวลากลางวัน

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. MacMahon H, Montner SM, Doi K, et al. The nature and subtlety of abnormal findings in chest radiographs. Med Phy 1991;18:206-10.

2. Waren-Forward HM, Millar JJ. Optimization of radiographic technique for chest radiography. Br J Radiol 1995;68:1221-9.

3. Waren-Forward HM, Haddaway MJ, McCall IW, et al. Influence of dose reduction recommendations on changes in chest radiography techniques. Br J Radiol 1996;69:755-61.

4. Martin Alan & Harbison, A. Samuel. An introduction to radiation protection. 2nd ed. London : Chapman and Hall ; 1979. p. 1-235.

5. Ciraulo DL, Marini CP, Lloyd GT, Fisher J. Do surgical residents, emergency medicine physicians, and nurses experience significant radiation exposure during the resuscitation of trauma patients?. J Trauma 1994;36(5):703-5.

6. Pandit-Bhalla M, Diethelm L, Espenan G. Portable chest radiographs in the intensive care units : referral patterns and estimated cumulative radiation exposure. J Thorac Imaging 2002;17(3):211-3.

7. Lynch L, Bowen M, Malone L. Patient exposure to ionizing radiation in the intensive care unit due to portable chest radiography. Ir J Med Sci 1994:163(3):136-7.

8. Mostafa G, Sing RF, McKeown R, Huynh TT, Heniford BT. The hazard of scattered radiation in a trauma intensive care unit. Crit Care Med 2002;30(3):574-6.

9. บังอรรัตน์ เธียรญาณี และคณะ. รายงานประจำปีโรงพยาบาลบุรีรัมย์ พ.ศ. 2545-2548. บุรีรัมย์ : กลุ่มพัฒนาระบบบริการสุขภาพ โรงพยาบาลบุรีรัมย์, 2545-2548.

10. จิรศักดิ์ วิจักขณาลัญฉ์ และคณะ. รายงานประจำปีโรงพยาบาลสุรินทร์ พ.ศ. 2545-2548. สุรินทร์ : กลุ่มพัฒนาระบบบริการสุขภาพ โรงพยาบาลสุรินทร์, 2545-2548.

11. สมศักดิ์ เชาว์ศิริกุล และคณะ. รายงานประจำปี โรงพยาบาลศรีสะเกษ พ.ศ. 2545-2548. ศรีสะเกษ : กลุ่มพัฒนาระบบบริการสุขภาพ โรงพยาบาลศรีสะเกษ, 2545-2548.

12. Komgrit T, Kreeta T, Panphen U, et al. Portable X-ray at ward ; How justified?. ใน : กวี ทังสุบุตร จามรี เชื้อเพชระโสภณ พิพัฒน์ เชี่ยววิทย์, บรรณาธิการ. การประชุม ใหญ่ทางวิชาการประจำปี ราชวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่งประเทศไทยและรังสีวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 23/43 22-24 มีนาคม 2544 ; ณ อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ทรงสิทธิวรรณ จำกัด ; 2544.