ผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ที่มีภาวะแท้งคุกคาม ที่โรงพยาบาลตราด
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัญหา: การดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่ภาวะแท้งคุกคามจากลักษณะทางคลินิกขึ้นอยู่กับ ผลของการตรวจวินิจฉัยแยกโรคว่าภาวะแท้งคุกคามนั้นต่อไปจะมีผลลัพธ์เป็น อย่างไร
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ที่มีภาวะแท้งคุกคาม เพื่อวางแผนการดูแลรักษาและพยากรณ์โรคเฉพาะรายให้ถูกต้องเหมาะสมและรวดเร็ว
สถานที่: กลุ่มงานสูตินรีเวชกรรมและวางแผนครอบครัว โรงพยาบาลตราด
กลุ่มเป้าหมาย: สตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 20 สัปดาห์ มีเลือดออกทาง
ช่องคลอดมารับการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลตราด และได้รับการวินิจฉัยจากลักษณะทางคลินิกว่ามีภาวะแท้งคุกคาม จำนวน 204 ราย ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2547 ถึง 30 กันยายน 2550 รวม 3 ปี
รูปแบบการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการวินิจฉัยเบื้องต้นว่ามีภาวะแท้งคุกคามจากประวัติ การตรวจร่างกาย ตรวจภายใน และตรวจปัสสาวะเพื่อทดสอบการตั้งครรภ์ จะถูกส่งตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงทางหน้าท้องและหรือทางช่องคลอด โดยบันทึกขนาดและรูปร่างของ gestational sac,yolk sac, ขนาด การเคลื่อนไหว และการเต้นของหัวใจของตัวอ่อน ความผิดปกติอื่น ๆ ในโพรงมดลูกและอุ้งเซิงกรานในรายที่ไม่สามารถให้การวินิจฉัยทางคลื่นเสียงความถี่สูงได้แน่ชัดในครั้งแรกจะนัดตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงอีกครั้งห่างกัน 1-2 สัปดาห์ จนได้การวินิจฉัยที่ชัดเจน
ผลการศึกษา: สตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะแท้งคุกคาม จำนวน 204 ราย อายุเฉลี่ย 27.3 ปี ส่วนใหญ่ เป็นครรภ์หลังและไม่เคยแท้งบุตร จำนวนวันที่มีเลือดออกเฉลี่ย 2.8 วัน อายุครรภ์ เฉลี่ย 9.6 สัปดาห์ ผลการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงพบเป็นการตั้งครรภ์ปกติ 83 ราย (ร้อยละ 40.7) การตั้งครรภ์ผิดปกติ 121 ราย (ร้อยละ 59.3) ซึ่งเป็น การตั้งครรภ์ที่ไม่มีตัวอ่อน.(blighted ovum) 58 ราย (ร้อยละ 28.4) ทารกเสีย ชีวิตในระยะแรก (missed abortion และ death embryo) 40 ราย (ร้อยละ 19.6) การแท้งครบ (complete abortion) 13 ราย (ร้อยละ 6.4) การตั้งครรภ์ นอกมดลูก (ectopic pregnancy) 6 ราย (ร้อยละ 2.9) การตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก (molar pregnancy) 4 ราย (ร้อยละ 2.0)
สรุป: ผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ที่มีภาวะแท้งคุกคาม พบเป็นการตั้งครรภ์ปกติร้อยละ 40.7 เป็นการตั้งครรภ์ผิดปกติร้อยละ 59.3 ทำให้สูติแพทย์สามารถวางแผนการ ดูแลรักษาและพยากรณ์โรคทั้งที่ปกติและผิดปกติได้อย่างถูกต้องแม่นยำ เหมาะสม และรวดเร็ว เพื่อลดความวิตกกังวลและภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อสตรี ตั้งครรภ์
คำสำคัญ: ภาวะแท้งคุกคาม, ผลลัพธ์
Article Details
References
2. Abortion. In : Cunningham FG, Leveno KJ, Bloom SL, Hauth JC, Gilstrap III LC, Wenstrom KD. editors. Williams Obstetrics. 22nd ed. McGRAW-Hill ; 2005. p. 231-51.
3. Mantoni M. Ultrasound signs in threatened abortion and their prognostic significance. Obstet Gynecol 1985;65:471-5.
4. Liabsuetrakul T, Krisanapan O. The outcomes of vaginal bleeding in the first half of pregnancy at Songklanagarind hospital. Thai J Obstet Gynecol 1999;11:75-80.
5. Kittipibul V. Ultrasonographic findings in pregnant women with clinically diagnosed threatened abortion at Maharat Nakhon Ratchasima Hospital. Nakhon Ratcha Med Bull 2000;24:61-8.
6. Tongsong T, Srisomboon J, Polsrisuthikul Y. Outcome of pregnancies with first trimester threatened abortion : a prospective study. Thai J Obstet Gynecol 1995;7:1-7.
7. Goldstein SR. Embryonic death in early pregnancy : a new look at the first trimester. Obstet Gynecol 1994;84:294-7.
8. Tannirandorn Y, Sangsawang S, Manotaya S, Uerpairojkit B, Samritpradit P, Charoenvidhya D. Fetal loss in threatened abortion after embryonic/fetal heart activity : Int J Gynaecol Obstet 2003 Jun ; 81(3):263-3.
9. Goldstein SR. Early detection of pathologic pregnancy by transvaginal sonography. J Clin Ultrasound 1990;18:262-73.
10. Nyberg DA, Laing FC,Filly RA. Threatened abortion: sonographic distinction of normal and abnormal gestational sac. Radiology 1986;158:397-400.
11. Kara L, Mayden A. First trimester ultrasonography and normal fetoplacental landmarks. In : Sandra L, Hagen-Ansert, editors. Text book of diagnostic ultrasonography. 3rd ed. Baltimore : CV Mosby ; 1989. p.406-40.