ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึงอินซูลิน ศูนย์สุขภาพชุมชนในเครือข่ายโรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

สมร สีหบัณฑ์
ศิริลักษณ์ ทองสุทธิ์

บทคัดย่อ

เหตุผลการวิจัย: อัตราป่วยและอัตราตายของผู้ป่วยเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆหากไม่ได้รับ การควบคุมป้องกันโรคและภาวะ แทรกซ้อนของโรคอย่างจริงจัง ปัจจุบันการรักษาโรคเบาหวานมุ่งที่จะลดหรือชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ โดยการ ให้ยาควบคู่กับการปรับพฤติกรรมสุขภาพ ถ้ามีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมก็ สามารถควบคุมโรคได้ดี ส่งผลให้ลดหรือชะลอภาวะแทรกซ้อนของโรคได้
วัตถุประสงค์:
1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดไม่พึ่งอินซูลิน
2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลใน เลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินที่ รับการรักษาในศูนย์สุขภาพชุมชนในเครือข่ายโรงพยาบาลสุรินทร์ ระหว่างวันที่ 1-31 มีนาคม 2549 จำนวน 178 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ประยุกต์ จากทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (Health Belief Model) การวิเคราะห์ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วย เบาหวาน ใช้สถิติ Chi - Square และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเบาหวานมีพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับดีร้อยละ 95.5 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของ ผู้ป่วยเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิด ภาวะแทรกซ้อน และการรับรู้ต่อโรคเบาหวานรวมทุกด้าน (p < 0.05)
สรุป: การศึกษานี้มีข้อเสนอแนะในการส่งเสริมให้ผู้ป่วยเบาหวานมีพฤติกรรมการควบคุม ระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี คือ การให้สุขศึกษาหรือคำปรึกษาแก่ผู้ป่วยควรเน้น การรับรู้โอกาลเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยมากที่สุด รองลงมา คือ การรับรู้ต่อโรคเบาหวานในด้านต่าง ๆ
คำสำคัญ: เบาหวาน พฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. สมทรง รักษเผ่า, สรงค์กฎณ์ ดวงคำสวัสดิ์. กระบวนการดำเนินงานสุขศึกษาเพื่อพัฒนา พฤติกรรมสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร : โครงการ สวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข : 2540.

2. กัลยา วานิชยบัญชา. สถิติสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : 2549.

3. ประเสริฐ ไกรรณภูมิ. พฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานในโรงพยาบาลนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ปี 2548. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2548 : ปีที่ 13 : 137-45.

4. ภาวนา กีรติยุตวงค์. การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวาน : มโนมติสำคัญสำหรับการดูแล. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : บริษัท พี. เพรส จำกัด : 2546.

5. เพชรน้อย สิงห์ช่วงชัย, ศิริพร ขัมภลิขิต,ทัศนีย์ นะแส. วิจัยทางการพยาบาล : หลักการและ กระบวนการ. สงขลา : โรงพิมพ์มูลนิธิ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ; 2532.