ภาวะการณ์หมุนตัวของลำไส้ไม่สมบูรณ์ในเด็กโต : รายงานผู้ป่วย

Main Article Content

จำเรียง คุ้มจันอัด

บทคัดย่อ

เหตุผลการนำเสนอ: ภาวะการหมุนตัวของลำไส้ไม่สมบูรณ์เป็นความผิดปกติทางด้านกายภาพส่งผลให้ ลำไส้ส่วน midgut มีการบิดตามเข็มนาฬิการอบเส้นเลือด superior mesenteric หรือกดลำไส้ส่วน duodenum ทำให้เกิดการอุดตัน ผู้ป่วยที่มีการหมุนตัวของ ลำไส้ไม่สมบูรณ์และเกิดลำไส้อุดตันส่วนใหญ่มักแสดงอาการภายในขวบปีแรก แต่สามารถพบได้ทุกช่วงอายุ ในเด็กที่โตขึ้นพบว่าวินิจฉัยได้ยากกว่าเนื่องจากมี อาการเรื้อรังและไม่เด่นชัด ผู้ประพันธ์ได้รายงานผู้ป่วยที่มีการหมุนตัวของลำไส้ ไม่สมบูรณ์จำนวน 2 ราย ที่เกิด midgut volvulus และลำไส้ส่วน duodenum อุดตันเรื้อรัง
วัตถุประสงค์: เพื่อนำเสนอผู้ป่วยเด็กโตที่มีภาวะการหมุนตัวของลำไส้ไม่สมบูรณ์และเกิดปัญหาลำไส้อุดตันของโรงพยาบาลบุรีรัมย์
วิธีการศึกษา: นำเสนอรายงานผู้ป่วย
รายงานผู้ป่วย: ผู้ป่วยเด็กชาย 2 ราย มาด้วยอาการอาเจียนเป็นน้ำดีหลายครั้งผู้ป่วยรายหนึ่ง เอ็กซเรย์ช่องท้องพบกระเพาะอาหารและลำไส้ส่วน duodenum โป่งพอง ทั้ง 2 ราย ได้รับการตรวจ upper GI contrast study พบมีลักษณะการอุดตันของ ลำไส้ส่วน duodenum ผ่าตัดช่องท้องพบภาวะการหมุนตัวของลำไส้ไม่สมบูรณ์ โดยรายแรกพบ midgut volvulus และอีกรายพบมีลักษณะการอุดตันเรื้อรังของ ลำไส้ส่วน duodenum ได้รับการผ่าตัด Ladd's procedure และ appendectomy ไม่พบภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด
สรุป: ควรสงสัยภาวะการหมุนตัวของลำไส้ไม่สมบูรณ์ในเด็กโตที่มีอาการผิดปกติทาง ช่องท้อง ตรวจวินิจฉัยโดยการทำ upper GI contrast study และอัลตราซาวด์ ช่องท้อง การตรวจค้นและรักษาที่ทันท่วงทีสามารถป้องกันการเกิด short bowel syndrome ซึ่งมีอัตราการเสียชีวิตสูง
คำสำคัญ: การหมุนตัวของลำไส้ไม่สมบูรณ์ การบิดพันของลำไส้ส่วน midgut, การอุดตัน ของลำไส้ส่วน duodenum

Article Details

บท
รายงานผู้ป่วย

References

1. สุทธิพร จิตตมิตรภาพ. ตำราผ่าตัดเด็ก : เด็กปวดท้อง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ; 2537

2. Stewart DR, Colodny AL, Dagget WC. Malrotation of the bowel in infants and children : A 15 year review. Surgery 1976;79:716-20

3. Godbole P, Stringer MD. Bilious vomiting in the newborn : how often is it pathologic?. J Pediatr Surg 2002;37:909-11

4. Danielle S, Walsh M, Timothy M. Superior mesenteric thrombosis in malrotation with chronic volvulus. J Pediatr Surg 2000;35:753-5

5. Prasil P, Flageole H, Shaw KS, Nguyen LT, Youssef S, Laberge JM. Should malrotation in children be treated differently according to age?. J Pediatr Surg 2000;35:756-8

6. Park RW, Watkins JB. Mesenteric occlusion and varices complicating midgut malrotation. Gastroenterology 1979;77:565-8

ๆ. Dilley AV, Pereira J, Shi ECP. The radiologist says malrotation : does the surgeon operation?. Pediatr Surg Int 2000;16:45-9

8. Strouse PJ. Disorders of intestinal rotation and fixation ("malrotation"). Pediatr Radiol 2004;34:837-51

9. Pacros JP, Sann L, Genin G. Ultrasound diagnosis of midgut volvulus : The "whirlpool" sign. Pediatr Radiol 1992;22:18-20

10. Neil O, Oscar MN, Jacob C, Langer. Is ultrasonography a good screening test for intestinal malrotation?. J Pediatr Surg 2006;41:1005-9

11. Powell DM, Othersen HB, Smith CD. Malrotation of the intestines in children : the effect of age on presentation and therpy. J Pediatr Surg 1989;24:777-80

12. Malek MM, Burd RS. Surgical treatment of malrotation after infancy: a population- based study. J Pediatr Surg 2005:40:285-9

13. Bass KD, Rothenberg SS, Chang JH. Laparoscopic Ladd's procedure in infants with malrotation. J Pediatr Surg 1998;33:279-81