ไพโอเจนิก แกรนูโลมาที่กระพุ้งแก้ม : รายงานผู้ป่วย 1 ราย

Main Article Content

ศรีกัลยา จำปาเหล็ก

บทคัดย่อ

     ไพโอเจนิก แกรนูโลมา เป็นรอยโรคของหลอดเลือดที่มีลักษณะคล้ายเนื้องอก ที่พบได้บ่อยในช่องปาก รอยโรคนี้มักพบบ่อยในวัยเด็กและวัยรุ่น โดยจะพบในเพศหญิงมากกว่าชาย รอยโรคในช่องปากส่วนใหญ่พบที่บริเวณเหงือก พบรอยโรคนี้ได้บ้างที่กระพุ้งแก้ม โดยมักจะเป็นติ่งเนื้อที่มีก้านสีแดง โดยมากเกิดจากการระคายเคืองเฉพาะที่ บทความนี้เป็นการรายงานผู้ป่วยชายไทยอายุ 58 ปี มีประวัติ กลุ่มอาการเนโฟรทิคมาด้วยอาการสำคัญ คือ มีติ่งเนื้อสีแดงที่แก้มด้านขวามาประมาณ 10 วัน ตรวจ ทางคลินิกพบมีติ่งเนื้อยื่นสีแดงสดมีก้าน อยู่บริเวณใกล้กับด้านสบของฟันกรามบนชี่ทีหนึ่งที่มีลักษณะ ยอดปมฟันคม ขนาด 5 X 10 มิลลิเมตร คลำดูไม่มีการเต้นเป็นจังหวะของเนื้อเยื่อด้านใต้ และกดไม่ซีด การวินิจฉัยโรคเบื้องต้น จากการซักประวัติและการตรวจทางคลินิก ให้การวินิจฉัยแยกโรค คือ ไพโอเจนิก แกรนูโลมา และรอยโรคไฟโบรมาที่เกิดจากการระคายเคืองหรือติ่งเนื้อไฟโบรเอพิทิเลียลได้รับการรักษา โดยการผ่าตัดออกทั้งหมดแบบอนุรักษ์พร้อมกับส่งตรวจชิ้นเนื้อทางจุลพยาธิวิทยา พบว่าองค์ประกอบ ส่วนใหญ่เป็นหลอดเลือดขนาดเล็กจำนวนมาก มีลักษณะเฉพาะเป็น "โลบิวลาร์ แคพิลลารี ฮีแมงจิโอมา" จึงให้การวินิจฉัยขั้นสุดท้ายเป็นไพโอเจนิก แกรนูโลมา หรือโลบิวลาร์ แคพิลลารี ฮีแมงจิโอมา จากนั้น กำจัดสาเหตุโดยทำการกรอลบปุ่มฟันที่คมออก ร่วมกับให้ยาระงับปวดภายใน 1-2 วันแรกหลังผ่าตัด ร่วมกับการให้ทันตสุขศึกษาและติดตามผลการรักษาเป็นเวลา 7 วัน พบการหายของแผลตามปกติ ส่วน การติดตามผลการเกิดซ้ำของรอยโรคควรมีการนัดติดตามผลเป็นระยะต่อไป

Article Details

บท
รายงานผู้ป่วย

References

1. Richie L. Lin, Camila K. Janniger. Pyogenic Granuloma. Cutis 2004;74:229-33.

2. Luz Aguilo, Jose V. Bagan. Pyogenic granuloma subsequent to apical fenestration a primary tooth : Case report. JADA 2002;133.

3. Brad W. Neville, et al. Oral & maxillofacial pathology, second edition. Philadlphia : Elsevier; 2005.

4. Bataineh A, Al-Dwairi ZN. A Survey of Localized Lesions of Oral Tissues : A Clinicopathological Study. J Contemp Dent Pract 2005;6(3):030-39.

5. Kuttner H. ber telangiektatische granulome. Beitr Zur Klin Chir 1905;47:1-36.

6. Michelson HE. Granuloma pyogenicum : a clinical and histologic review of twenty-nine cases. Arch Dermatol Syphil 1925;12:492-505.

7. Arbiser JL, Weiss SW, Arbiser ZK, et al. Differential expression of active mitogen- activated protein kinase in cutaneous endothelial neoplasms: implications for biologic behavior and response to therapy. J Am Acad Dermatol 2001;44:193-97.

8. Yuan K, Wing LY, Lin MT. Pathogenic roles of angiogenic factors in pyogenic granulomas in pregnancy are modulated by female sex hormones. J Periodontal 2002;73:701-08.

9. อชิรวุธ สุพรรณวลัย. กลเม็ดเคล็ด (ไม่) ลับ สำหรับทันตแพทย์ยุคใหม่ : ก้อนๆ ในปาก Diag ยากจริงหรือ. ขอนแก่น : ฝ่ายวิชาการ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2549.

10. Sampurna R. Pyogenic granuloma (Lobular capillary hemangiomas) online database from https://www.histopathology-india.net/VascularTumours.htm; 2005.

11. Vilmann A, Villmann P, Villmann H. Pyogenic granuloma: evaluation of oral conditions. Br J Oral Maxillofac Surg 1986;24:376-82.

12. อรสา ไวคกุล, จิรพันธ์ พันธ์วุฒิกร, วัชรี จังศิริวัฒนธำรง. การวางแผนการรักษาทางทันตกรรมในผู้ป่วยที่มีโรคทางระบบ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร; 2533.

13. James W. Little, Donald A. Falace, Craig S. Miller, Nelson L. Rhodus. Dental management of medically compromised patient, sixth edition. St. Louis : Mosby - Year Book, Inc; 2002.