การผ่าตัดรักษาผู้ป่วยบาดเจ็บที่ตับในโรงพยาบาลบุรีรมย์

Main Article Content

ชาญณรงค์ บุญศรีรัมย์

บทคัดย่อ

บทนำ: การบาดเจ็บที่ตับเป็นสาเหตุการตายหลักในผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บช่องท้อง การ ผ่าตัดทำได้หลายวิธีและมีผลการรักษาแตกต่างกัน
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการรักษาผู้ป่วยบาดเจ็บที่ตับที่ผ่าตัดรักษาในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
สถานที่: ในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ระยะเวลาตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ค. 2547 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2549
รูปแบบ: เป็นการศึกษาย้อนหลังแบบพรรณนา
วิธีการศึกษา: ทบทวนแฟ้มผู้ป่วยในที่ได้รับบาดเจ็บที่ตับ จำนวน 87 ราย ศึกษาข้อมูลทั่วไป อายุ เพศ สาเหตุการบาดเจ็บ สภาพร่างกายที่ห้องฉุกเฉิน ความรุนแรงของการบาดเจ็บ ที่ตับ วิธีการผ่าตัด ผลการรักษา ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น อัตราตายและสาเหตุ วิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา นำเสนอในรูปค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 71.3 พบมากในช่วงอายุ 20-29 ปี (ร้อยละ 45.9) อายุระหว่าง 2-65 ปี (อายุเฉลี่ย 26.1 ± 9.8) เป็นการบาดเจ็บแบบ กระแทกร้อยละ 79.3 และการบาดเจ็บแบบทะลุทะลวงร้อยละ 20.7 ความรุนแรง ของการบาดเจ็บที่ตับ grade I ร้อยละ 33.3 grade II ร้อยละ 33.3 grade III ร้อยละ 23 grade IV ร้อยละ 7 grade V ร้อยละ 3.4 grade VI ร้อยละ 0 ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดแตกต่างตามความรุนแรงของการบาดเจ็บที่ตับ ใช้เทคนิค perihepatic ligation ร้อยละ 66.7 พบผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกช้อนหลัง ผ่าตัด จำนวน 40 ราย (ร้อยละ 46.0) และผู้ป่วยตายหลังผ่าตัด 14 ราย (อัตรา ตาย ร้อยละ 16.1) สาเหตุการตายเกิดจากตับ 8 ราย (ร้อยละ 9.2) ไม่ใช่จากตับ 6 ราย (ร้อยละ 6.9) สาเหตุหลักของการตายคือเสียเลือดมากและมีการบาดเจ็บร่วม (ร้อยละ 78.6) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอัตราตายคือช็อคจากเสียเลือด, การได้รับบาดเจ็บจากการถูกกระแทก, การบาดเจ็บร่วม และความรุนแรงของการ บาดเจ็บที่ตับ (p < 0.05)
สรุป: การรักษาบาดเจ็บที่ตับโรงพยาบาลบุรีรัมย์ พบอัตราเสียชีวิตที่สูงสัมพันธ์กับ ปัจจัยหลายอย่าง การลดอัตราตายและอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน จำเป็น ต้องจัดตั้งแนวทางปัองกันอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ และการรักษาก่อนมา ถึงโรงพยาบาลทีมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Feliciano DV, Moore EE, mottox KL. Liver and biliary tract trauma. Trauma. Stampford, Connecticut : Appleton ang lange, 1996:487-515.

2. Feliciano DV, Pachter HL. Hepatic trauma revisited, Curr Prob Surg 1989;28:458-524.

3. Feliciano DV, Mattox KL, Jordan GL, Burch JM, Bitendo CG, Cruse PA. Management of 1000 consecutive cases of hepatic trauma (1979-1984). Ann Surg 1986;204:438-45.

4. Cogbill TH, Moore EE, Jurkovich GJ, Feliciano DV, Morrish JA, Mucha p. Severe hepatic trauma: A multicenter experience with 1,335 liver injuries. J Trauma 1988;28:1433-8.

5. Pachter HL, Spencer FC, Hofstetter SR, Coppa GF. Experience with the finger fracture technique to achieve intrahepatic hemostasis in 75 patients with severe injuries to the liver. Ann Surg 1983;197:771-8.

6. Defore WW Jr, Mattox KL, Jordan JL Jr, et al. Management of 1,590 consecutive cases of liver trauma. Arch Surg 1976;111:493-7.

7. Patcher HL, Feliciano DV. Complex hepatic injuries. Surg Clin North AM 1996;76:763-86.

8. Moore EE, Cogbill TH, Jokovich GJ, Shackford SR, Malangoni MA, Campion HR. Organ injury scaling spleen, liver (1994 version). J Trauma 1995;38:323-4.

9. Pachter HL, Liang HG, Hofstetter SR. Liver and biliary tract trauma. In : Mattox KL, Feliciano Dv, Moore EE, eds. Trauma. 4th edition. New York : McGraw-Hill, 2000:633-82

10. Hoyt DB, Coimbra R, Poteza B. Management of acute trauma. Sabiston Text Book of Surgery. Philadelphia : WB Saunders, 2004:560-2.

11. Parks RW, Chrysos E, Diamond T. Management of liver trauma. Br J Surg 1999;86:1121-35.

12. Ciranlo DI, Luk S, et al. Selective hepatic arterial embolization of grade IV-V blunt hepatic injuries: An extension of resuscitation in nonoperative management of traumatic hepatic injuries. J Trauma 1994;45:353-9.

13. Levin A, Gover P, Nance FC. Surgical restraint in the management of hepatic injury : a review of Charity Hospital experience. J Trauma 1978;18:399-404.

14. Mullins RJ, Stone HH, Dunlop WE, Stom PR. Hepatic trauma : evaluation of routine drainage. South Med J 1985;78:259-61.

15. Hanna SS, Gorman PR, Harrison AW, et al. Blunt liver trauma at Sunnybrook medical Center. J trauma 1987;27:965-9.

16. Rivkind AL, Siegel JH, Danham CM. Petterns of organ injury in blunt hepatic trauma and their significance for management and outcome. J Trauma 1989;29:1398-415.

17. Trunkey DD, Shires GT, McClelland R. Management of Liver Trauma in 811 Consecutive Patients. Ann Surg 1974;179:722.

18. Pachter HL, Spencer FC. The management of complex hepatic trauma. In ; Pachter HL, Spencer FC, eds. Controversy in surgery II. Philadelphia, WB Sauders, 1983:241-9.

19. Fabian TC, Croce MA, Stanford GG, et al. Factors affecting morbidity following hepatic trauma. Am J Surg 1991;213:540-8.

20. Svoboda JA, Peter ET, Dang CV, et al. Severe liver trauma in the face of coagulopathy. A case for temporary packing and early reexploration. Am J Surg 1982;144:717-21.