การศึกษาความไวของ Graham's score ในการคัดกรอง ภาวะแทรกซ้อนของไส้ติ่งอักเสบ ในโรงพยาบาลบุรีรัมย์

Main Article Content

กิตติศักดิ์ วิทยาไพโรจน์

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: โรคไส้ติ่งอักเสบเป็นโรคที่พบบ่อยในผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้องเฉียบพลัน ถ้าหาก การวินิจฉัยและผ่าตัดรักษาล่าช้าจะทำให้มีผลแทรกซ้อนตามมา อันได้แก่ การ แตกทะลุหรือการเน่าของไส้ติ่ง ซึ่งทำให้อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนและอัตรา การตายหลังผ่าตัดเพิ่มขึ้น Graham D.F. ได้ทำชุดคะแนนในการตรวจคัดกรอง ภาวะแทรกซ้อนของไส้ติ่งอักเสบ
วัตถุประสงค์: ศึกษาความไวของ Graham's score ในการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนของไส้ติ่ง อักเสบ
รูปแบบการวิจัย: Retrospective study, Diagnostic test
วิธีการศึกษา: ทบทวนแฟ้มประวัติผู้ป่วยทุกคนที่ได้รับการวินิจฉัยไส้ติ่งอักเสบและได้รับการ ผ่าตัดรักษาที่โรงพยาบาลบุรีรัมย์ระหว่าง 1 สิงหาคม - 30 ธันวาคม 2550 ศึกษา ข้อมูลเพศ อายุ อาการและอาการแสดง 7 อาการ วิเคราะห์เป็น Graham's score คำนวณค่า sensitivity, specificity, positive predictive value and negative predictive value
ผลการศึกษา: ผู้ป่วย 363 คน ที่ใช้ Graham's score ในการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อน ของไส้ติ่งอักเสบพบว่ามี sensitivity ร้อยละ 76.59 specificity ร้อยละ 42.34 positive predictive value ร้อยละ 45.7 และ negative predictive value ร้อยละ 74.01
สรุป: Graham's score มีความไวต่ำในการใช้ตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนของไส้ติ่ง อักเสบ เนื่องจากผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเร็ว และอาการปวดท้อง ไม่มาก หรือบางรายบอกอาการไม่ชัดเจนจะทำให้การใช้ Graham's score ไม่ถูกต้องและแม่นยำ
คำสำคัญ: Acute appendicitis, complicated appendicitis, Graham's score

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Jaffe, Berrard M, Berger, David H. The Appendix. In : Brunicardi, F. Charles, Andersen, Dana K„ Billiar, Timothy R., Dunn, David L„ Hunter, John G. editors. Schwartz's Principles of Surgery. 8th ed. NewYork : McGraw-Hill Medical Pub lishing Division, 2005:1119-37.

2. Velasquez HC, Aguirre MW, Valdivia BC, Ruiz AM, Cornejo MC, Torres CM, et al. The value of ultrasound in the diagnosis and management of acute appendicitis. Rev Gastroenterol Peru 2007;27(3):259-63.

3. Ghelase F, Georgescu I, St Ghelase M, Baleanu V, Cioara F, Georgescu E, et al. Septic complications in acute appendicitis: Problems of diagnosis and treatment. Chirurgia (Bucur) 2007;102(1):43-9.

4. กลุ่มงานศัลยกรรมทั่วไป โรงพยาบาลบุรีรัมย์. การทบทวนเพื่อติดตามผลการปฏิบัติงานตาม แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยไส้ติ่ง (CPG Acute Appendicitis). บุรีรัมย์ : กลุ่มงานคัลยกรรมทั่วไป โรงพยาบาลบุรีรัมย์, 2550.

5. Singhal R, Angmo N, Somaiah N, Majumdar H, Chaturvedi Ku. A retrospective review of the histopathology and clinicalpathologic correlates of appendicitis removed from patients of acute appendicitis. Minerva Chir. 2007;62(1):11-8.

6. Graham D.F. Computer-sided prediction of gangrenous and perforating appendicitis. Br Med J 1997;26(2):1375-7.

7. เสกสิทธิ์ สุทธิใส และวัชรพงศ์ พุทธิสวัสดิ์. ความไวของชุดคะแนน Graham's score ใน การคัดกรองภาวะแทรกช้อนไสัติ่งอักเสบในโรงพยาบาลศรีนครินทร์. ขอนแก่น : ภาควิชาศัลยศาสตร์, คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2550:1-8.