การบำบัดกลุ่มผู้เสพสารเสพติด โดยประยุกต์ใช้หลักพุทธศาสนา

Main Article Content

อรวรรณ อุดมทวี

บทคัดย่อ

ความสำคัญและความเป็นมา: การบำบัดรักษาผู้เสพสารเสพติด โดยหลักจิตสังคมบำบัดนั้นจำเป็นต้อง มีการฟื้นฟูจิตใจสังคมที่อยู่รอบตัวและจิตวิญญาณของผู้ป่วยและญาติด้วย ดังนั้น ผู้รับผิดชอบงานยาเสพติดจึงคิดกิจกรรมทางศาสนาได้แก่การสวดมนต์ไหว้พระ ฝึกสมาธิเบื้องต้น ฟัง-อ่านหนังสือธรรมะ สุภาษิตคำสอน ปรัชญาคำคม ทักษะ ชีวิต บทกลอนสอนใจในการดำเนินชีวิตเน้นให้ตระหนักรู้ตนเองมีความคิดสร้างสรรค์ ในเชิงบวก มีหลักการดำรงชีวิตอย่างมีความสุขสงบเย็นและพอเพียง ระลึกถึง พระคุณพ่อแม่ มีความรู้สึกผิดขอบชั่วดี มีการปฏิบัติตนต่อครอบครัวและสังคม ส่วนรวมนำข้อคิดเหล่านี้มาพูดคุยแลกเปลี่ยนและเสริมในหัวข้อที่เลือกเรียนใน แต่ละครั้งที่เข้ากลุ่ม ทำให้การทำกลุ่มมีคุณภาพมากขึ้น สามารถนำไปใช้ในชีวิต ประจำวันและได้ข้อคิดในการแกไขปัญหาชีวิตตรงกับปัญหาของตนเองได้ดีขึ้น
เนื้อหาหลักสูตร (Matrix Program) เดิมเป็นการคัด แปลมาจากตำราของตะวันตก ซึ่งมีวัฒนธรรมวิถีชีวิต หลักการยึดเหนี่ยวที่แตกต่างกับคนไทย ดังนั้นเนื้อหาที่นำมาใช้ในบำบัดอาจยังมีส่วนที่ควรเพิ่มหรือสอดแทรกให้เข้ากับ คนไทย ซึ่งหลักพุทธศาสนาเราสามารถมาเสริมทำให้การบำบัดมีประสิทธิภาพมากขึ้น
วัตถุประสงค์:
1. ทำให้ผู้ป่วยมีสุขภาพดีขึ้นทั้งทางร่างกายและจิตใจ
2. ทำให้ผู้ป่วยสามารถนำเอาความรู้ที่ได้รับไปแก้ไขปัญหาในชีวิตจริง โดยมีหลักยึด ปฏิบัติที่ดี ถูกต้อง มั่นใจในการลดเลิกยาเสพติด และมั่นใจที่จะกลับไปใช้ชีวิตตามปกติ
3. ลดปัญหาผลกระทบต่อครอบครัว สังคม และประเทศชาติ
กลุ่มเป้าหมาย: ผู้ที่รับการบำบัด 24 คน
ตัวชี้วัด:
1. ผู้ผ่านการบำบัด มีร่างกายและจิตใจที่ดี มีภูมิป้องกันปัญหาการกลับโปเสพซ้ำ
2. ผู้ป่วยสามารถเข้าใจตนเอง รู้ปัญหาสาเหตุและการจัดการกับปัญหาไต้ถูกต้อง
3. สังคมสงบ ลดปัญหาอาชญากรรมจากสารเสพติด
4. กลุ่มเสี่ยง เด็กเยาวชนมีการตระหนักรู้ถึงโทษ พิษภัยของสารเสพ
วิธีการดำเนินงาน:
- สอดแทรกหลักพุทธศาสนาเข้าในเนื้อหาการเรียนในแต่ละบท
- ศึกษาหลักธรรมะที่ตนเองศรัทธาเชื่อมั่นมาใช้ในชีวิตประจำวัน
- ฝึกปฏิบัติตนเอง ให้อยู่ในหลักธรรมชาติ
- ใช้กลยุทธ์ กลุ่มบำบัด และบำบัดเป็นรายบุคคล
- ใช้ระยะเวลาบำบัด 4 เดือน
- นัดสัปดาห์ละ 2 วัน คือ อังคาร-พฤหัสบดี
- ปฏิบัติตามหลัก ศีลธรรม - อันดี
- ประเมินผลหลังจบหลักสูตร
ระยะเวลาในการดำเนินงาน: ระยะเวลาในการดำเนินงาน 4 เดือน

Article Details

บท
บทความฟื้นฟูวิชาการ

References

1. กระทรวงสาธารณสุข กรมพัฒนาการแพทย์ แผนไทยและแพทย์ทางเลือก. คู่มือการปฏิบัติงานเบื้องต้น. นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข, 2549

2. ชินโอสถ หัศบำเรอ. ทางปฏิบัติแนววิทยาศาสตร์ ทางจิตเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์นิตยสารโลกทิพย์โลกลี้ลับ, 2543.

3. อุษา พึ่งธรรม, บรรณาธิการ. คู่มือจิตสังคมบำบัดในสถานีอนามัยและชุมชน : กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์กิจกรรมโรงพยาบาลทหารผ่านศึก, 2546

4. กระทรวงสาธารณสุข กรมพัฒนาการแพทย์ แผนไทยและแพทย์ทางเลือก. สรุปการจัดสัมมนาวิชาการศาสตร์การแพทย์ทางเลือก สำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคเอดส์. นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสข, 2549