มูลค่าประหยัดและความคิดเห็น/ความพึงพอใจในการให้บริการ เตรียมผสมสารอาหารทางหลอดเลือดดำสำหรับทารกแรกคลอด กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินผลการให้บริการเตรียมสารอาหารทางหลอดเลือดดำของงานเตรียมผสมสารอาหารทางหลอดเลือดดำ กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลศรีสะเกษ
รูปแบบการศึกษา: การศึกษาแบบย้อนหลังเชิงพรรณนา
วิธีการศึกษา: เก็บรวบรวมเอกสารบันทึกการเตรียมผสมสารอาหารทางหลอดเลือดดำ ประจำวัน ตั้งแต่เริ่มดำเนินการเดือนสิงหาคม 2547 จนถึง 30 กันยายน 2548 เพื่อหา ปริมาณงาน, มูลค่ายาที่ใช้ในการเตรียมผสมเมื่อเปิดใช้ภายใต้ตู้กรองอากาศปราศ จากเชื้อ (สามารถเก็บสารที่เหลือไว้ใช้ไต้อีก) โดยกลุ่มงานเภสัชกรรมจากนั้น เปรียบเทียบกับมูลค่ายาที่ใช้หากเตรียมที่หอผู้ป่วย (ต้องทิ้งสารที่เหลือ) แล้วหามูลค่าประหยัดจากการเตรียมโดยกลุ่มงานเภสัชกรรม นอกจากนี้,ทำการสำรวจ และประมวลผลความคิดเห็น/ความพึงพอใจในการให้บริการเตรียมผสมสาร อาหารทางหลอดเลือดดำของแพทย์และพยาบาลที่ได้รับบริการ
ผลการศึกษา: จำนวนครั้งที่เตรียมผสมสารอาหารทางหลอดเลือดดำสำหรับทารกแรกคลอดตึก NICU ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2547 ถึง 30 กันยายน 2548 ทั้งหมด 759 ครั้ง มีจำนวนผู้ป่วย 141 ราย มูลค่าสารที่ใช้ในการเตรียมภายใต้ตู้กรองอากาศปราศ จากเชื้อคิดเป็นมูลค่า 136,575.29 บาทเปรียบเทียบกับมูลค่าสารที่ใช้หาก เตรียมโดยระบบเดิมซึ่งพยาบาลเป็นผู้เตรียมบนหอผู้ป่วยคิดเป็นมูลค่า256,862.29 บาท ดังนั้นการเตรียมโดยกลุ่มงานเภสัชกรรมสามารถประหยัดได้เป็นมูลค่า 120,264 บาทหรือประหยัดได้ร้อยละ 46.82 แพทย์และพยาบาลที่ดูแลตึก NICU ทุกท่านมีความพึงพอใจต่อการให้บริการ เตรียมสารอาหารทางหลอดเลือดดำสำหรับทารกแรกคลอดและเห็นด้วยว่าควรมี การขยายการให้บริการเตรียมสารอาหารทางหลอดเลือดดำสำหรับผู้ป่วยเด็ก พยาบาลทุกท่านเห็นด้วยว่าทำให้ภาระงานของพยาบาลลดลง ในส่วนของแพทย์ ทุกท่านได้รับความสะดวกในการสั่งใช้จากการที่เภสัชกรคำนวณปริมาณสารที่ใช้ และตรวจสอบโอกาสตกตะกอน นอกจากนี้แพทย์และพยาบาลเกือบทั้งหมดเห็น ด้วยว่าเภสัชกรควรติดตามผู้ป่วยที่ให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำบนหอผู้ป่วย สิ่งที่ต้องปรับปรุงคือควรขยายการให้บริการในช่วงวันหยุดราชการ
สรุป: จากการศึกษานี้ท่าให้ทราบว่าการเตรียมผสมสารอาหารทางหลอดเลือดดำโดยกลุ่มงานเภสัชกรรมสามารถลดค่าใช้จ่ายให้กับโรงพยาบาล,ช่วยลดภาระงานของพยาบาล, แพทย์ได้รับความสะดวกในการสงใช้สารอาหารทางหลอดเลือดดำโดยที่เภสัชกรมิ ส่วนช่วยตรวจสอบโอกาสการตกตะกอน จึงถือเป็นงานที่เภสัชกรใช้ความรู้ด้านยา ท่าประโยชน์ให้อย่างชัดเจนและเป็นอีกบทบาทที่ได้รับการยอมรับจากบุคลากร ทางการแพทย์ นอกจากนี้แพทย์และพยาบาลส่วนใหญ่ยังเห็นควรว่าเภสัชกรควร ติดตามผู้ป่วยที่ได้รับสารอาหารทางหลอดเลือดดำซึ่งจะเป็นบทบาทในอนาคตที่ พัฒนาการดูแลผู้ป่วยนอกเหนือจากการเตรียมผสมยา
Article Details
References
2. สุรสิทธิ้ วัชระสุขโพธิ้, จินตนา ตั้งสิชณนกุล, ธิดารัตน์ เล็กประเสริฐ, วิชัย ชานนท์,มารศรี บุญชื่นชม. คู่มือการเตรียมผลิตภัณฑ์ปราศ จากเชื้อ. ขอนแก่น : งานเภสัชกรรมการผลิต กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลขอนแก่น; 2544.
3. Torco, JS. Intravenous Admixtures. Remington ะ The Science and Practice of Pharmacy. 19th ed. Pennsylvania ะ Mack Publishing Company; 1995. p.1549-61.
4. Sterile Product Compounding. Vanderbilt Medical center ; date unknow [cited unknow]. Available from ะ https://vumcpolicies.mc. vanderbilt. Edu/E-Manual/Hpolicy. nsf/AllDocs/FFOEOF5AFA7DB 573862565FC00051295D.
5. Expiration Dating. Policy & procedure's Hospital of Florida University [monograph on CD-ROM], Florida: Hospital of Florida University ; 2000.
6. บุษบา จินดาวิจักษณ์. อาหารที่ให้ทางหลอด เลือดดำ. กรุงเทพมหานคร ะ ภาควิชา เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหิดล; 2544. (เอกสารประกอบการสอน).